3 วันดี 4 วันเศร้า Banlue Group BUNBOOKS ทราย เจริญปุระ สามวันดีสี่วันเศร้า หนังสือแนะนำ โรคซึมเศร้า

สามวันดีสี่วันเศร้า | 6 ความเข้าใจผิดในโรคซึมเศร้า ที่ต้องเข้าใจเสียใหม่

Home / Editor Picks / สามวันดีสี่วันเศร้า | 6 ความเข้าใจผิดในโรคซึมเศร้า ที่ต้องเข้าใจเสียใหม่

สามวันดีสี่วันเศร้า | 6 ความเข้าใจผิดในโรคซึมเศร้า ที่ต้องเข้าใจเสียใหม่

เข้าใจ โรคซึมเศร้า ผิดไปหรือเปล่า? ทำความเข้าใจเสียใหม่ ไปกับ 3 วันดี 4วันเศร้า จาก Bunbooks หนังสือเล่าประสบการณ์ผ่านผู้ป่วยตัวจริง อย่าง  “ทราย เจริญปุระ” 

สามวันดีสี่วันเศร้า

สามวันดีสี่วันเศร้า

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสำหรับคนทั่วไปแล้ว จะต้องเป็นคนที่ร้องไห้ฟูมฟายอยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า?  ต้องเป็นคนอ่อนแอ, ไม่เข้มแข็ง และมีน้ำตาตลอดเลยใช่หรือไม่? หรือจริง ๆ แล้ว ความผิดปกติทางจิตที่ว่านี้ มีอะไรซับซ้อนกว่าที่คนไม่ป่วยแบบเรา ๆ ยังไม่เข้าใจกันแน่

สามวันดีสี่วันเศร้า

หากต้องอ่าน TEXT BOOKS เล่มโตก็คงส่ายหัวหงึกหงัก แม้แต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเองก็คงจะสติแตกกันไปข้างหนึ่ง ตัวเลือกง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจโรคนี้ได้โดยไม่กล้ำกลืนฝืนใจเกินไป คงจะเป็นการมองผ่านเรื่องเล่าจากคนที่เคยประสบ อย่าง “สามวันดี สี่วันเศร้า” จาก “ทราย เจริญปุระ”  ดารา-นักแสดง และหมวกใบสีเทาหม่นของเธอที่สวมซ่อนอยู่ในจิตใจ หรือที่ใครต่อใครเรียกมันว่า “โรคซึมเศร้า”

สามวันดีสี่วันเศร้า

MDD (Major Depressive Disorder) | โรคซึมเศร้า ภัยเงียบของอาการผิดปกติทางจิตที่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา ก็จะต้องติดอยู่ในโลกที่มืดดำและหดหู่ตลอดกาล ความน่ากลัวของโรคนี้ทวีคูณขึ้นอีกเท่าตัว เมื่อ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ว่า ในปี 2020 โรคซึมเศร้านี้จะสร้างความสูญเสียแก่เศรษฐกิจมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

สามวันดีสี่วันเศร้า

แล้วเรื่องอะไรบ้างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดไปเอง ว่าคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะต้องเป็นแบบนั้น …ขอสรุปแบบเข้าใจง่ายไปกับ 6 เรื่องซึมเศร้าที่คนไม่เศร้าต้องเข้าใจเสียใหม่ จากหนังสือ 3 วันดี 4 วันเศร้าเล่มนี้
สามวันดีสี่วันเศร้า
ใครว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องเศร้าตลอด? ไม่เป็นความจริง เพราะคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ไม่จำเป็นต้องฟูมฟาย, อ่อนแอ, ไม่เข้มแข็ง หรือร้องไห้ตลอดเวลาเสียหน่อย โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อจิตผิดปกติ จะแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่

สามวันดีสี่วันเศร้า

คำตอบของฉันเต็มไปด้วยการประชดประชันอย่างที่สุด โทรศัพท์ก็พิมพ์ยาก แค่หยิบมาถือก็ยากจะตายอยู่แล้ว ยังต้องมาตอบคำถามโง่ ๆ แบบนี้อีก
หน้า 36 สามวันดีสี่วันเศร้า
ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ที่ไม่มั่นคง เช่น เศร้า หดหู่ ร้องไห้ ผ่านไปสักพักโวยวาย ฉุนเฉียว อะไรก็ขวางหูขวางตาไปหมด จากที่เคยควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ตัวเองได้ดีก็จะกลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ใจร้อน เป็นผลลบต่อทุกความสัมพันธ์ที่มี เพราะมีปากเสียงกับคนรอบข้างบ่อย

สามวันดีสี่วันเศร้า

ฉันอ่านหนังสือไม่ได้  หมายถึงยังอ่านออกเสียงได้เหมือนเดิม แต่สมาธิที่เคยมีเต็มเปี่ยมเมื่อเริ่มต้นอ่านหนังสือ กลับล่องลอยหายไปในอากาศ
หน้า 36 สามวันดีสี่วันเศร้า
ไม่โฟกัส ไม่จดจ่อกับสิ่งที่เคยมีสมาธิ เพราะสมาธิสั้นและความจำแย่ลง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หลง ๆ ลืม ๆ เช่น นึกขึ้นไปว่าต้องทำอะไรสักอย่าง แต่พอเดินไปหน่อยก็ลืมเสียแล้ว, หรือจากที่เคยอ่านหนังสือได้คล่องแคล่วก็กลายเป็นว่ายิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ สบสน ไม่จดจ่อแบบที่เคย
คืนหนึ่งฉันตื่นขึ้นมากลางดึก มองออกไปที่หน้าต่าง พลันคิดได้ว่าแค่ฉันร่วงไปจากหน้าต่างบานนี้ ความเจ็บปวด ความพะอืดพะอมขมขื่นที่ผ่านมาจะได้จบเสียที
หน้า 20 สามวันดีสี่วันเศร้า
มักจะคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อย ๆ หากมีคำพูดหรือเหตการณ์อะไรมากระทบกระเทือบจิตใจ ก็อาจจะเกิดอารมณ์ชั่ววูบทำร้ายตัวเอง และเลวร้ายไปจนถึงการฆ่าตัวตาย
การเจ็บหนักจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แล้วต้องโดนคุณพยาบาลช่วยกันถอดเสื้อผ้าและอาบน้ำบนเตียง ถือเป็นเรื่องหนักหนาที่ทำให้รู้สึกสิ้นค่าในตัวเองที่สุด
หน้า 34 สามวันดีสี่วันเศร้า
ชอบโทษตัวเอง คิดว่าสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นความผิดของตัวเอง มองทุกอย่างแย่ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และเรื่องราวในอนาคต
เพิ่มเติม | ในบางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นมีอาการของโรคจิตเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น หลงผิด, เชื่อว่ามีคนคอยแกล้ง-ประสงค์ร้าย หรืออาจหูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดคุย เป็นต้น แต่อาการดังกล่าวจะหายได้เมื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

สามวันดีสี่วันเศร้า

ฉันรู้ว่าฉันนอนไม่หลับ ถึงหลับก็ฝันร้ายถึงอุบัติเหตุซ้ำ ๆ พอหลับไม่ได้ก็หงุดหงิด และที่ผอมเพราะฉันไม่อยากกิน กินไปแล้วก็สำลักออกมา สู้ไม่กินเสียดีกว่า
หนังสือ 3 วันดี 4 วันเศร้า
มีปัญหาเรื่องการนอนและการกินอย่างรุนแรง เช่น นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นเพราะฝันร้าย แล้วนอนต่อไม่ได้ หรือเบื่ออาหาร แม้จะเป็นของที่โปรดปรานก็ตาม ไม่อยากกินอะไร ไม่เจริญอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลดอย่างน่าตกใจ ซูบผอม อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่สามารถเป็นร่วมกับ โรคซึมเศร้า เมื่อร่างกายไม่แข็งแรง เช่น ท้องผูก, ปวดหัว, ปวดเมื่อย เป็นต้น

สามวันดีสี่วันเศร้า

การกินยาไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยร่าเริงกว่าเก่า หรือกลายพันธุ์เป็นมนุษย์พลังล้น แต่จะช่วยให้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติและเชื่อมโยงกับโลกภายนอกได้มากขึ้น ผลลัพธ์จากการกินยาจะทำให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้สนิท (ไม่มีภาวะฝันร้าย-สะดุ้งตื่น-ผวา) เลิกหมกมุ่นครุ่นคิด โทษตัวเอง และมองโลกในแง่ร้าย รวมถึงบรรเทาอาการอยากปลีกตัวออกจากสังคม  สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้เหมือนก่อน

สามวันดีสี่วันเศร้า

การพบจิตแพทย์ หรือเดินเข้าไปแผนกจิตเวชไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด เหมือนผู้ป่วยอื่น ๆ ที่เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติที่ตนเองเริ่มสังเกตได้ก็ต้องไปหาหมอ เช่น อาการ นอนไม่หลับ, ไม่มีสมาธิ-สมาธิสั้น, ฝันร้าย รวมไปถึงเรื่องทั่วไปที่ผิดเผกไปจากวงจรชีวิตประจำวันที่เคยเป็น ซึ่งการเลือกจิตแพทย์ก็เหมือนเลือกแฟน  จำเป็นต้องเลือกคนและวิธีการรักษาที่เข้ากันได้กับความเป็นเรา หมอบางคนอาจมีสไตล์ที่ไม่ถูกจริตเรานัก หรือโรงพยาบาล-คลินิกบางที่ ที่เขาว่าดี ก็ไกลเกินกว่าจะดั้นด้นไปถึง  เพราะฉะนั้นเพื่อให้ได้ผลการรักษาในทิศทางบวกมากที่สุด ควรเลือกโรงพยาบาล-คลินิกที่สามารถเดินทางได้สะดวก และ แพทย์ประจำที่มีวิธีการรักษาที่ตรงจริตเรามากที่สุด

สามวันดีสี่วันเศร้า

โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจิต แต่เป็นเพียงความผิดปกติทางจิตที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้ เช่น โรคที่ถ่ายทอดมาจากทางพันธุกรรม, หรืออาจเคยเจอ Tricker Point หรือ สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่ โรคซึมเศร้าได้ เช่น ความผิดหวัง ความเครียด  อุบัติเหตุ เป็นต้น  ซึ่งแต่ละคนจะมี Tricker Point ที่ว่านี้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนบุคคลที่พบเจอมาในอดีต

สามวันดีสี่วันเศร้า

เมื่อเกิดความฟุ้งซ่าน จิตใจเป็นทุกข์ ก็นั่งดับทุกข์สิ! กำหนดลมหายใจเข้าออกเพื่อเยียวยาความหม่นเศร้า แล้วโรคซึมเศร้าจะบรรเทาไปได้  …ช้าก่อน มันอาจได้ผลดีกับบางคน แต่ไม่ใช่กับทุกคน เพราะการนั่งสมาธิคือการจดจ่ออยู่กับตัวเอง ทำให้หมกมุ่น ครุ่นคิดถึงแต่เรื่องของตัวเอง บางครั้งจมดิ่งกับอดีต หลีกหนีสิ่งที่ทำให้เศร้าไม่พ้น อาจรุนแรงถึงขั้นมีความคิดชั่ววูบที่อยากทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตายในที่สุด

สามวันดีสี่วันเศร้า

อย่างที่เกริ่นเอาไว้ตอนต้นว่าถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยจะต้องติดอยู่ในโลกที่มืดดำและหดหู่ตลอดกาล ไม่อยากเป็นแบบนั้นใช่ไหมล่ะ? รีบไปรักษา เพราะโรคซึมเศร้า เป็นแล้วหายได้ หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมและดูแลตนเองดีพอ แต่ไม่ใช่ว่าหายแล้วหายเลย มันสามารถกลับมาเป็นได้อีก ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของผู้ป่วย

แม้ “สามวันดี สี่วันเศร้า” จะไม่ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอย่างครอบคลุมทุกมิติ เพราะไม่ใช่หนังสือสไตล์จิตวิทยาวิทยาศาสตร์ที่ตอบได้ทุกคำถามในใจ หรือเชิงวิเคราะห์อาการโรคแบบจัดจ้านอะไรนัก
แต่หนังสือเล่มนี้คือหนังสือประสบการณ์ตรง จากคนที่เป็นทั้ง “ผู้ป่วย” และ “ผู้ดูแลผู้ป่วย” ในคราเดียวกัน อย่าง “อินทิรา เจริญปุระ” หรือ “ทราย เจริญปุระ” ดารา-นักแสดงมากความสามารถที่เราไม่เคยรู้เลยว่า เบื้องหน้ากล้องตัวใหญ่ที่ส่องไสวไปด้วยแสงไฟสปอร์ตไลท์ แต่ภายในจิตใจกลับหม่นเศร้ามืดดำอย่างที่ใครคาดไม่ถึงมาก่อน

สามวันดีสี่วันเศร้า


 

MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

ิ

ระหว่างเราสูญหาย

 

สามวันดีสี่วันเศร้า