Geek Book movie ซัดคนดูให้อยู่หมัด เขียนบทหนัง

เลือก ‘พล็อต’ ให้ดี แล้วตี ‘แนว’ ให้แตก : เขียนบทหนังซัดคนดูให้อยู่หมัด

Home / Editor Picks / เลือก ‘พล็อต’ ให้ดี แล้วตี ‘แนว’ ให้แตก : เขียนบทหนังซัดคนดูให้อยู่หมัด

 

 


.

เลือก ‘พล็อต’ ให้ดี แล้วตี ‘แนว’ ให้แตก

เขียนบทหนังซัดคนดูให้อยู่หมัด

.


 

พล็อต (Plot)

.

‘พล็อต’ เป็นคำที่สำคัญมากสำหรับคนเขียนบท มันคือการเดินทางผจญภัยไปในเขตแดนสุดแสนอันตรายของเรื่องราว โดยทุกครั้งที่เจอทางแยก คุณจะต้องเลือกเส้นทางที่ถูกต้องเพื่อเดินต่อไป

.

อะไรควรเก็บไว้ อันไหนน่าตัดทิ้ง เอาอันไหนมาก่อนอันไหนไว้หลังดี? คนเขียนบทอาจจะเลือกได้เยี่ยมยอดหรือห่วนไร้สติก็ได้

.

…เราทำอะไรลงไป ผลที่ได้ก็คือ ‘พล็อต’

.

พล็อตตามสูตรมาตรฐาน เล่าเรื่องราวที่ไม่ธรรมดาที่เกิดขึ้นกับตัวละครผู้ต้องต่อสู้กับอุปสรรคภายนอกที่ขัดขวางความปรารถนาของเขาหรือเธอ ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกันไปเป็นลำดับ

.

พล็อตเรียบน้อย ใช้ตัวละครเพียงน้อยตัวซึ่งดำเนินเรื่องราวภายในสถานการณ์เล็กๆ หรือในสถานที่ง่ายๆ, วนเวียนอยู่กับความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร

.

พล็อตต่อต้านสูตร บทหนังกลุ่มนี้จึงมักมีท่าที่โฉ่งฉางฉูดฉากเพื่อแสดงความเป็นขบทของคนเขียนไม่สนใจการเล่าเรื่องตามเวลา แต่จะกระจายเรื่องออกแล้วเล่าสลับไปมาเพื่อให้ให้คนดูจับต้นชนปลายได้ว่าอะไรเกิดก่อนหลัง

 

.


.

แล้วจะทำหนัง ‘แนว’ ไหนดีล่ะ

.

.

ก่อนอื่น เรามารู้จักความหมายของ ‘ตระกูลหนัง’ ให้ชัดเจนขั้นสักนิด โดยในที่นี้เราจะใช้เกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับในหมู่นักเขียนบทชาวตะวันตก

.

ซึ่งแบ่งหนังออกเป็นตระกูลและแนวทางต่างๆ ตามประเด็นของเรื่อง, เซ็ตติ้ง, ตัวละคร, เหตุการณ์ และ value โดยแต่ละแนวก็พัฒนา

.

ต่อไปเป็นแนวย่อย ได้อีกหลายแนวดังนี้

 

1.หนังรัก(Love Story) 
2.สยองขวัญ (Horror)
3.เอพิกสมัยใหม่(Modern Epic)
4.ตะวันตก(Western)
5.หนังสงคราม(War)  
6.พล็อตว่าด้วยการเติบโตข้ามพ้นวัย (Maturation Plot หรือ Coming-of-age Story)
7.พล็อตว่าด้วยการไถ่บาป(Redemption Plot)
8.พล็อตว่าด้วยการลงโทษคนผิด(Punitive Plot)
9.พล็อตว่าด้วยการทดลองพลังใจของมนุษย์ผู้ไม่ยอมจำนน(Testing Plot)
10.พล็อตว่าด้วยการเรียนรู้(Education Plot)
11.พล็อตว่าด้วยมุมมองของตัวละครต่อโลกที่เปลี่ยนจากด้านบวกไม่เป็นลบ(Disillusionment Polt)
12.ตลก(Comedy)
13.อาชญากรรม(Crime)
14.ดราม่าสะท้อนปัญหาสังคม(Social Drama)
15.แอ็กชั่น-ผจญภัย(Action/Adventure)
16.ดราม่าอิงประวัติศาสตร์(Historical Drama)
17.หนังชีวประวัติ(Biography)
18.หนังดราม่ากึ่งสารคดี(Docu-drama)
19.หนังเลียนสารคดี(Mockumentary)
20.หนังเพลง(Musical)
21.หนังวิทยาศาสตร์(Science Fiction)
22.หนังกัฬา(Sport Genre)
23.แฟนตาซี(Fantasy)
24.แอนิเมชั่น(Animation)
25.หนังอาร์ต(Art Flim)

.

.


.

รู้จักตระกูลหนังแล้วเอาชนะ ความคาดหวังของคนดู

.

.

จาก 25 ข้อ ทำให้เรารู้ว่าตระกูลหนังไม่ใช่สูตรตายตัว แต่มีความยืดหยุ่น ช้อนทับกัน และปรับตัวได้หลากหลาย 

.

การกำหนดตั้งแต่เริ่มต้นว่าเราจะเขียนบทหนังแนวใดจึงมิใช่การสร้างกรอบขึ้นจำกัดความคิดสร้างสรรค์ แต่ทว่าเพื่อจะทำให้เราคลำทางได้อย่างแม่นยำว่า หนังของเราต้องทำหน้าที่

‘เติมเต็มความคาดหวัง+สร้างเซอร์ไพรส์’
ให้แก่คนดู ได้อย่างไรบ้าง

.

1.ผสมผสนานหลากหลายแนวเข้าด้วยกัน หากคุณหาความลงตัวให้แก่ส่วนผสมนั้นได้ บทของคุณก็สามารถเป็นหนังที่แปลกใหม่น่าสนใจสำหรับคนดู

ตัวอย่างเช่น The Fisher King(1991)

.

ผสมองค์ประกอบจาก 5 แนวคือ พล็อตว่าด้วยการไถ่บาป, หนังดราม่าอิงจิตวิทยา, หนังรัก หนังดราม่าสะท้อนสังคม และหนังตลก

ส่วน Fight Club(1999)

.

เป็นทั้งหนังตลกร้าย, ดราม่าสะท้อนสังคม, ดราม่าอิงจิตวิทยา, หนังว่าด้วยการเรียนรู้, Disillusionment Plot

.เขียนบทหนังซัดคนดูให้อยู่หมัด

2.พัฒนาแนวเดิมไปสู่ทางออกใหม่ ความน่าสนใจของแนวหนังที่เรามักหลงลืมก็คือ มันเป็นสิ่งที่พัฒนาไปได้เรื่อยๆ ตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น

.

– หนังคาวบอย : เดิมที เป็นหนังตระกูลที่ว่าด้วยการต่อสู้ระหว่างธรรมะกับอธรรมใน ‘โลกตะวันตกยุคคาวบอย’ แต่เมื่อสังคมอเมริกันสูญสิ้นความไร้เดียงสาในยุค 70 หนังคาวบอยก็พลอยล้มหาย ก่อนจะกลับมาอีกครั้งในทศวรรษ 80-90 โดยพัฒนาตัวเองไปเป็นหนังสะท้อนปัญหาการเหยียดผิวและความรุนแรง

.

– หนังรัก : โจทย์หลักที่คนเขียนบทหนังรักมีในใจเสมอมาก็คือ “เมื่อพวกเรารักกัน แล้วอะไรคืออุปสรรคให้ต้องแยกจากกัน” (เพราะหนังที่มีแค่เรื่อง “เขาพบเธอ รักกัน แล้วก็ครองรักกันอย่างราบรื่นไปชั่วนิรันดร” ย่อมเป็นหนังที่น่าเบื่อมาก) ซึ่งคำตอบก็ขึ้นกับสภาพสังคมแต่ละยุค เช่น อุปสรรคอาจคือพ่อแม่ของแต่ละฝ่าย (Romeo and Juliet), สภาพสังคมและการเมือง (Casablanca), กฏเกณฑ์ทางจริงยธรรม (The Bridges of Madison Country), ความเชื่ออย่างผิดๆหรือความสับสนของตัวละครเอง

.

เความเปลี่ยนแลงของทัศนคติในสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่คนเขียนบทต้องรู้เท่าทันตลอดเวลา หาไม่แล้ว เรื่องราวในหนังอาจกลายเป้นสิ่งที่คนดูไม่เชื่อ เช่น หนังของ โรเบิร์ต เดอ นีโร กับ เมอรีล สตรีป เรื่อง Falling in Love (1984) นั้นแม้อุปสรรคแห่งรักของทั้งคู่คือ การที่ต่างฝ่ายก็แต่งงานมีครอบครัวแล้ว 

.

แต่หนังกลับบอกเราว่าครอบครัวของแต่ละฝ่ายช่างน่าเบื่อหน่ายและทั้งสองก็เหมาะสมกันอย่างไร้ที่ติ ซึ่งนั่นทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่าแล้วทำไมจะต้องมามัวแบกอุปสรรคแห่งรักกันให้เสียเวลาทำไม ขณะที่ปัญหานี้ไม่เกิดกับ The Bridges of Madison County (1995) เพราะบทหนังทำให้เราเข้าใจชัดว่า ครอบครัวของนางเอกนั้นแสนดีและเธอก็ผูกพันกับพวกเขาอย่างล้ำลึก จนยากที่เธอจะทิ้งไปซบอกชายคนใหม่ได้โดยง่าย

.

เความเปลี่ยนแลงของทัศนคติในสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่คนเขียนบทต้องรู้เท่าทันตลอดเวลา หาไม่แล้ว เรื่องราวในหนังอาจกลายเป้นสิ่งที่คนดูไม่เชื่อ เช่น หนังของ โรเบิร์ต เดอ นีโร กับ เมอรีล สตรีป เรื่อง Falling in Love (1984) นั้นแม้อุปสรรคแห่งรักของทั้งคู่คือ การที่ต่างฝ่ายก็แต่งงานมีครอบครัวแล้ว แต่หนังกลับบอกเราว่าครอบครัวของแต่ละฝ่ายช่างน่าเบื่อหน่ายและทั้งสองก็เหมาะสมกันอย่างไร้ที่ติ ซึ่งนั่นทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่าแล้วทำไมจะต้องมามัวแบกอุปสรรคแห่งรักกันให้เสียเวลาทำไม ขณะที่ปัญหานี้ไม่เกิดกับ The Bridges of Madison County (1995) เพราะบทหนังทำให้เราเข้าใจชัดว่า ครอบครัวของนางเอกนั้นแสนดีและเธอก็ผูกพันกับพวกเขาอย่างล้ำลึก จนยากที่เธอจะทิ้งไปซบอกชายคนใหม่ได้โดยง่าย

 


 

.

ไม่มีใครบอกได้ว่าหนังแนวใดน่าเขียนที่สุดหรือขายดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ความจริงต่อไปนี้อาจช่วยนำทางคุณไปสู่คำตอบได้

.

1.แม้คุณจะเคยได้ยินตำนานมหัศจรรย์ของเหล่าอัจฉริยะที่เขียนบทหนังเสร็จในเวลาไม่กี่วัน แต่ความจริงก็คือ บทหนังนั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลาคิดและขัดเกลาหลายเดือนหรืออาจเป็นปี คุณควรถามตัวเองให้ชัดว่า เรื่องราวแบบไหนและแนวใดที่คุณรักมัน และเชื่อมั่นมากพอจะทนอยู่กับมันได้นานขนาดนั้น

.

2.น้อยคนเหลือเดินจะสามารถเขียนได้ดีไปหมดทุกแนว ตลอดชั่วชีวิตของ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ สิ่งเดียวที่ครอบงำใจเขาก็คือ การเห็นพ่อฆ่าตัวตายต่อหน้าต่อตา ทั้งชีวิตส่วนตัวและงานเขียนของเขาจึงทุ่มเทให้แก่การแสวงหาและเผชิญหน้ากับความตาย เช่นเดียวกับ ชาร์ลส์ ดิคเคนส์ ที่เคยเห็นพ่อติดคุกเพราะหนี้สิน

.

เขียนของเขาจึงไม่พ้นเรื่องของเด็กเหงาผู้ถวิลหาพ่อ (David Coppereid, Oliver Twist, Great Expectations) ส่วนเจ้าพ่ออนิเมะอย่าง ฮายาโอะ มิยาซากิ ก็มีประสบการณ์ส่วนตัวที่ทำให้ฝังใจกบัเรื่องของเด็กที่ต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดและการจากพรากในชีวิต เขาจึงถ่ายทออดมันครั้งแล้วครั้งเล่าใน My Neighbor Totoro (1988), Spirited Away (2001), Ponyo (2008), The Wind Rises (2013) เป็นต้น

.

3.ทางที่ดีที่สุดก็คือการเลือกเขียนแนวที่คุณรัก ด้วยหัวใจ ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ เพราะท้ายที่สุดแล้ว สิ่งเดียวที่จะช่วยให้คุณทนเหน็ดเหนื่อยกับงานเขียนบทหนังได้ก็คือ ความรักต่องานนั้นนั่นเอง

 

.


.

นี่คือหนังสือที่คนอยากเขียนบทหนังทุกคนต้องมีติดบ้านไว้! ถ้าจะมีหนังสือสักเล่มที่คนอ่านถามหาอยู่ตลอดเวลา และแม้จะเป็นหนังสือมือสอง สภาพเลอะฝุ่น นั่นก็ยังเป็นที่ต้องการของคนจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าคุณค่าบางอย่างในหนังสือเล่มนั้นต่างหากที่เป็นของจริง และ “เขียนบทหนัง ซัดคนดูให้อยู่หมัด” ก็คือหนึ่งในหนังสือดังกล่าว เพราะเนื้อหาที่ว่าด้วยการเขียนบทแบบจริงจัง เป็นทฤษฎีที่จับต้องได้ ไม่น่าเบื่อ หนังสือที่ลงลึกถึงศาสตร์สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของคนทำหนังในการสร้าง “เรื่องที่ดี” และ “คนเขียนบทที่แม่นยำ” นั้นไม่ได้มีให้หาอ่านกันง่ายนัก 

.

เขียนบทหนัง ซัดคนดูให้อยู่หมัด

โดย ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ จาก Geek Book

คลิกเพื่อสั่งซื้อ