mbookstore นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ อมรินทร์สุขภาพ โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์ : รู้จักโรคอารมณ์แปรปรวนที่รักษาให้หายขาดได้

Home / Editor Picks / โรคไบโพลาร์ : รู้จักโรคอารมณ์แปรปรวนที่รักษาให้หายขาดได้

โรคไบโพลาร์

.


.

พฤติกรรมขี้เหวี่ยง ขี้วีน ซึมเศร้าๆ หรือไฮเปอร์สุดขีด อาจไม่ใช่ “นิสัย” แต่เป็น “ความเจ็บป่วยทางจิต”

โรคไบโพลาร์ : รู้จักโรคอารมณ์แปรปรวนที่รักษาให้หายขาดได้

.

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนใช้ชีวิต มีหลายคนที่เกิดอาการป่วยทางจิตและยังไม่รู้ตัว หรือความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้ คือการป่วยจริงๆ ไม่ใช่เล่นๆ และยังสามารถนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายได้

.

.

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) คือโรคทางจิตเวช ประกอบด้วยความเจ็บป่วย 2 ลักษณะสลับกันไป

  • ลักษณะที่ 1 เรียกว่า ระยะซึมเศร้า ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเต็มรูปแบบ
  • ลักษณะที่ 2 เรียกว่า ระยะแมเนีย ผู้ป่วยมีกลุ่มอาการแมเนียตามแบบต้นฉบับ

.

ในทุกๆครอบครัวที่มีผู้ป่วยเกิดขึ้น 1 คน เท่ากับว่าสมาชิกคนอื่นๆมียีนของเชื้อที่มีอยู่ในตัวด้วย แต่เหตุที่ไม่แสดงออกเพราะยีนยังมิได้ถูกกระตุ้น แม้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของไบโพลาร์มิได้เกิดขึ้นถึงกับร้อยละร้อย แต่ยีนบางส่วนของเชื้อนี้ได้ถูกถ่ายทอดไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า สายพันธุ์ของผู้ป่วยหากไม่เป็นโรคซึมเศร้าเสียแล้วมักมีบุคลิกร่าเริงแจ่มใสและกระตือรือล้นที่จะสืบทอดพันธุกรรมต่อไป
.
คำอธิบายนี้เป็นคำอธิบายอย่างง่ายเพื่อให้เห็นภาพ แต่ในชีวิตจริงแล้วแทบไม่มีผู้ป่วยคนไหนเลยที่จะปรากฎอาการชัดเจนและแบ่งระยะได้ง่ายๆ ผู้ป่วยโรคนี้มีหลายชนิด แต่ละชนิดแสดงออกหลายรูปแบบดังที่จะค่อยๆอธิบายต่อไปจะเห็นว่า เมื่ออาการหลายชนิดบวกกับการแสดงออกหลายรูปแบบ
.
เราจะได้ผู้ป่วยหลากหลายลักษณะอย่างที่นึกไม่ถึง ผู้ป่วย มิได้มีหรือถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้วสลับกันไปมาได้ง่ายๆ คำศัพท์อีกคำที่ใช้เรียกผู้ป่วยกลุ่มใหญ่นี้คือ โรคอารมณ์แปรปรวน


.


.

พันธุกรรม

.

โรคซึมเศร้าถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม โรคไบโพลาร์ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้มากกว่าโรคซึมเศร้า

.

ในทุกๆครอบครัวที่มีผู้ป่วยเกิดขึ้น 1 คน เท่ากับว่าสมาชิกคนอื่นๆมียีนของเชื้อที่มีอยู่ในตัวด้วย แต่เหตุที่ไม่แสดงออกเพราะยีนยังมิได้ถูกกระตุ้น แม้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของไบโพลาร์มิได้เกิดขึ้นถึงกับร้อยละร้อย แต่ยีนบางส่วนของเชื้อนี้ได้ถูกถ่ายทอดไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า สายพันธุ์ของผู้ป่วยหากไม่เป็นโรคซึมเศร้าเสียแล้วมักมีบุคลิกร่าเริงแจ่มใสและกระตือรือล้นที่จะสืบทอดพันธุกรรมต่อไป

.

 


.

ป่วยแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป

.

ที่จริงแล้วนี่คือโรคทางจิตเวชที่มีหลักฐานมากกว่าถ่ายทอดทางพันธุกรรมค่อนข้างแน่นอน

.

พูดง่ายๆว่า ไม่มีทางที่คุณจะเลี้ยงลูกให้โตมาป่วยมากมายขนาดนี้ได้ เขาป่วยเอง แต่ดังที่พอทราบกันว่า การเกิดขึ้นของโรคจะเกิดขึ้นกับปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วย กล่าวคือ โลกและชีวิตที่โหดร้ายก็จะสามารถกระตุ้นการเจ็บป่วยได้มากกว่า

.

สารเสพติดทุกชนิด รวมทั้งยาลดน้ำหนักกระตุ้นให้พันธุกรรมแสดงออกมาได้มาก นอกนั้นมักเป็นความเครียดเรื้อนังหรือความเครียดที่รุนแรง ในบางกรณีเราอาจจะไม่พบเหตุกระตุ้นเลย พอถึงเวลาก็ป่วยเอง

.

ความรู้ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เขาไม่ได้เป็นบ้า ที่จริงแล้วเขาเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสมดุลสารเคมีหลายตัวในระบบประสาทส่วนกลาง แล้วแสดงออกทางตวามคิด อารมณ์ และพฤติกรรม เขาไม่ได้มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เข้าไม่มีเส้นเลือดแตกหรือเส้นเลือดตีบ

.

เมื่อเขาเป็นผู้ป่วย สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำคือกินยา และกินยาให้ครบตามที่จิตแพทย์สั่ง การกินยาไม่ครบตามขนาด การใช้ยาคลายเครียดหรือยานอนหลับไม่มีประโยชน์อะไร ที่จิตแพทย์จะให้คือยาปรับอารมณ์ ในขนาดที่ถูกต้อง ร่วมกับยาประเภทอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นแต่ละคนจะได้รับยาไม่เหมือนกัน

.

.


.

” รู้จักและเข้าใจโรคที่มาพร้อมกับ “”ภาวะซึมเศร้า”” และ””ภาวะคลุ้มคลั่ง””  โรคที่พรากตัวตนของคุณไปตลาดกาล  .. หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ” 

.

โรคไบโพลาร์

โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จากอมรินทร์สุขภาพ
คลิกเพื่อสั่งซื้อ
.