Amarin HOW-TO Boss mbookstore MThaiBook Super Boss อยากทำงานกับหัวหน้าแบบนี้จัง ความสามารถในการฟัง ที่หัวหน้าควรมี หนังสือแนะนำ

ความสามารถในการฟัง ที่หัวหน้าควรมี : Super Boss อยากทำงานกับหัวหน้าแบบนี้จัง

Home / Editor Picks / ความสามารถในการฟัง ที่หัวหน้าควรมี : Super Boss อยากทำงานกับหัวหน้าแบบนี้จัง

ความสามารถในการฟัง ที่หัวหน้าควรมี

.


.

เคล็ดลับ 4 ข้อ ความสามารถในการฟัง ที่หัวหน้าควรมี

การจะเป็นหัวหน้าที่มีความสามารถก็ต้องฝึก “การฟัง” ให้เป็นด้วย
เริ่มจากการรู้ว่า “จะสื่ออะไร” และ “จำเป็นต้องสื่อหรือไม่”

.


.

เวลาพูดถึง “หัวหน้าที่มีความเด็ดขาด” เรามักให้ความสำคัญกับการ “พูด” หรือ “การสื่อสาร” เพื่อถ่ายทอดความคิดของตัวเราเองอย่างชัดเจน 

.

แต่ความสำคัญของ “การสัมภาษณ์” ทำให้เรารู้ว่าการสื่อสารต้องเริ่มต้นจากการรู้ว่า “จะสื่ออะไร” และ “จำเป็นต้องสื่อหรือไม่” ดังนั้นการจะเป็นหัวหน้าที่มีความสามารถ อันดับแรกต้องรู้จัก “ฟัง” ให้เก่งเสียก่อน

  .

  .

“ผู้นำในอดีตให้ความสำคัญกับการพูด แต่ผู้นำยุคต่อไปต้องให้ความสำคัญกับการฟัง”

ปีเตอร์ ดักเกอร์ (Peter Drucker) ผู้เป็นทั้งนักบริหารและนักเขียน

  .

  .

เราจะพูดถึงหลักสำคัญที่ช่วยเพิ่ม “ความสามารถในการฟัง” ซึ่งจำเป็นต่อหัวหน้า การจะฟังให้เก่งนั้นต้องให้ความสำคัญกับ 4 ข้อต่อไปนี้

 .

.


.

ตั้งเป้าหมายให้คิดว่า “อย่างนี้นี่เอง”

.

.

เวลาฟังเรื่องเดียวกัน เราอาจคิดไปเองว่า “คนนี้เอาแต่ใจจัง” หรือ “มันเป็นเรื่องของเขา เขาอาจมีปัญหาอยู่ก็ได้ ” ส่งผลให้วิธีการฟังเรื่องราวนั้นๆต่างออกไป

.

มนุษย์มักมองสิ่งต่างๆผ่าน “แว่นตาสี” ของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็สร้างขึ้นจากประสบการณ์ของตัวเอง 

.

คนที่โตมาในสภาพแวดล้อมที่ถูกตัดสินว่า “เอาแต่ใจ” “ทำอะไรตามใจตัวเอง” กับคนที่โตมากับการสั่งสอนว่า “ทุกคนมีความเป็นมาต่างกัน ดังนั้นเราต้องไม่ตัดสินคนอื่น” ย่อมตอบรับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นต่างกัน

.

การจะ “สัมภาษณ์” ให้ได้ผลมากที่สุดนั้น เราต้องทำให้ “แว่นตาสี” ของเราอ่อนที่สุด แม้ไม่อาจถอดแว่นตาสีนี้ออกได้ แต่ให้ตั้งเป้าหมายไปที่คำว่า “อย่างนี้นี่เอง” นั่งคือ ไม่ใช่ความคิดของตัวเอง เป็นบรรทัดฐานในการตัดสิน และฟังจนกว่าจะยอมรับได้ว่า “อย่างนี้นี่เอง”

.

เวลาฟังอีกฝ่าย เราต้องวางความคิดของตัวเองซึ่งเป็นตัวขัดขวาง การเกิดความรู้สึกว่า “อย่างนี้นี่เอง” ไว้ข้างๆและไม่คิดว่า “ตัวเองเป็นฝ่ายถูก”

.


.

ฟังโดยวางความคิด ของตัวเองไว้ข้างๆ

.

.

ช่วงหลังนี้ความสำคัญของการรับฟังผู้อื่นนั้นเปลี่ยนไปมาก หนังสือหลายเล่มกล่าวไว้ว่า การฟังเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับหัวหน้าในงานธุรกิจ แต่ก็ยังมีคนที่ฟังไม่เก่งอยู่มาก

.

บางคนฟังแล้วเกิดอารมณ์หงุดหงิด บางคนมักพูดแทรก หรือบางคนก็ตั้งคำถามกับอีกฝ่าย

.

มีสองข้อที่เป็นหลักการฟังขั้นพื้นฐานที่สำคัญมาก

  1. ฟังโดยวางความคิดของตัวเองไว้ข้างๆ
  2. ฟังโดยไม่ต้องพยายามคิดเพื่อแก้ปัญหา
    .

นี่คือวิธีฟังที่ดีที่สุดซึ่งช่วยให้เราฟังได้อย่างสบายๆ และยังทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่า “หัวหน้าตั้งใจฟังจริงๆ” ขอเพียงเราใช้วิธีนี้ แม้ต้องฟังเรื่องยาวแค่ไหนก็ไม่เหนื่อย และรับฟังได้ด้วยความรู้สึกอบอุ่น

.

สิ่งที่สำคัญกว่าการฟังเนื้อหาที่พูด คือต้องฟังโดยรู้สึกถึงตัวตนของอีกฝ่าย

 


.

ฟังโดยไม่ต้อง พยายามคิดเพื่อแก้ปัญหา

.

.

ฟังและยอมรับตรงๆ

.

การฟังโดยไม่คิดแก้ไขปัญหาจะช่วยให้อีกฝ่ายรู้สึกได้ถึงความอบอุ่นและอ่อนโยนจากตัวเราได้ด้วย ซึ่งต่างกันมามากกับคนที่ฟังด้วยอารมณ์หงุดหงิดหรือโมโมไปด้วย

.

ระหว่างการฟังโดยมีคำตัดสินในหัวว่าอีกฝ่าย “เอาแต่ใจ” แล้วพูดออกไปว่า “ปัญหาแบบนี้ทำไมไม่แก้ด้วยตัวเอง” กับการตั้งใจฟังอีกฝ่ายแล้วพูดว่า “ดูท่าคุณจะหาทางแก้ได้ด้วยตัวเองสินะ” วิธีการยอมรับในตัวตนของอีกฝ่ายนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง

.

การฟังโดยไม่ใช้การตัดสินใจหรือหาทางแก้ปัญหาไปด้วยเช่นนี้เรียกว่า “การยอมรับตรงๆ”

.

ตั้งใจฟังและผลักดันอีกฝ่าย

.

แม้การยอมรับอีกฝ่ายจะเป็นสิ่งดี แต่ต้องระวังว่าการพูดว่า “ผมเชื่อว่าคุณทำได้” โดยไม่มีหลักฐานอะไรสนับสนุนเลยอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าถูกผลักไสได้

.

บางคนอาจสับสนว่า “ทำไมถึงคิดแบบนั้น” หรือ “ไม่มีอะไรยืนยันแท้ๆ แต่กลับพูดแบบไร้ความรับผิดชอบ” แต่ถ้าเราฟังอีกฝ่ายอย่างตั้งใจแล้วค่อยพูดว่า “ผมเชื่อว่าคุณทำได้” อีกฝ่ายจะรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ

.

เราจึงพูดว่า “คุณทำได้” และไม่ทำให้เกิดความสับวนหรือรู้สึกว่าถูกหัวหน้าผลักไส

.

เวลาฟังอีกฝ่ายพูดต้องไม่คิดหาทางแก้ไขปัญหาแต่ให้ฟังโดย “ยอมรับตรงๆ”

.


.

 

ใส่ใจ “ความปลอดภัย” ของคู่สนทนา

.


.

วิธีการฟังโดยจดจ่ออยู่กับอีกฝ่าย ทำให้เกิดบรรยากาศที่อบอุ่น

.

เวลาฟังผู้อื่นพูดนั้น การฟังเฉยๆด้วย “วิธีการฟังขั้นพื้นฐานถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด”

.

เราไม่จำเป็นต้องกลัวไปว่า “ถ้าไม่พูดอะไรเลย อีกฝ่ายจะกังวล” หรือ “ถ้าไม่ตอบอะไรเลย อีกฝ่ายจะคิดว่าเราไม่ตั้งใจฟัง”

.

การฟังด้วยความรู้สึกอบอุ่น วางความคิดของตัวเองไว้ช้าๆ และมีสมาธิจดจ่ออยู่ที่ตัวผู้พูด จะทำให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นได้โดยที่เราไม่ต้องพูดอะไรเลย

..

เราอาจพยักหน้าเป็นครั้งคราวให้อีกฝ่ายเห็นว่า “ผมกำลังฟังอยู่นะ” “ผมอยู่ตรงนี้นะ” ก็ได้ “การพยักหน้า” นี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด เพียบแค่สื่อว่า “กำลังฟังอยู่” ก็พอ

.

เวลาฟังผู้อื่นพูดต้องใส่ใจกับความปลอดภัยของอีกฝ่าย
ไม่รุกล้ำไปใน “พื้นที่” ของผู้อื่น คนที่ไม่ได้รับความเชื่อใจไม่มีทางเป็นหัวหน้าที่เก่งกาจได้

.

 

.


.

ความสามารถในการฟัง ที่หัวหน้าควรมี กับเคล็ดลับ 4 ข้อ
ที่สามารถเป็นคู่มือกำจัดความเครียดในที่ทำงานได้ กับหนังสือ 

‘Super Boss อยากทำงานกับหัวหน้าแบบนี้จัง’  โดย ฮิโรโกะ มิซุชิมะ จาก AMARIN HOW-TO

.

.

เป็นผู้นำที่กำจัดความขัดแย้งได้ทุกรูปแบบ
เพื่อให้ทีมสร้างผมงานที่ดีเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง

.

“ผลงานจากนักจิตบำบัดสัมพันธ์ภาพรระหว่างบุคคลคนแรกของญี่ปุ่น” 

.

“หัวหน้าที่ดี” คือหัวหน้าที่ “ทำให้ลูกน้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการขจัดความเครียดระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องและสร้างแรงผลักดันในการทำงานให้มากขึ้น แนะนำโดยผู้ริเริ่ม “จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล” คนแรกของญี่ปุ่น

.

Super Boss อยากทำงานกับหัวหน้าแบบนี้จัง

โดย ฮิโรโกะ มิซุชิมะ จาก AMARIN HOW-TO

คลิกเพื่อสั่งซื้อหนังสือ