Libraly House ยาวไปไม่อ่าน วรรณกรรมแปล เรื่องสั้น

เรื่องสั้น ตอบโจทย์! Too long to read ยาวไปไม่อ่าน! งั้นมาอ่านเรื่องสั้นกันเถอะ

Home / Book Tips / เรื่องสั้น ตอบโจทย์! Too long to read ยาวไปไม่อ่าน! งั้นมาอ่านเรื่องสั้นกันเถอะ

เรื่องสั้น ตอบโจทย์! เพราะ Too long to read

เพราะการอ่าน เรื่องสั้น ตอบโจทย์คนขี้เกียจอ่านที่สุด

ตราบใดที่เรื่องชาวบ้านยังเป็น text อยู่ละก็ เราคงหลีกหนีไม่พ้นการอ่าน เพราะไม่ว่าจะเรื่องดารา ครอบครัว(คนอื่น) เกาเหลา ดราม่า ต่างก็มีแชทนั่นนี่หลุดมาให้อ่านอยู่เสมอ การอ่านถือเป็นเรื่องสำคัญในการถอดความหมายจากสัญลักษณ์เพื่อตีความหมาย ประโยคเดียวกันอาจตีความหมายต่างกัน ขึ้นอยู่กับเจตคติและกระบวนการทางความคิดของแต่ละบุคคล แต่เชื่อเถอะว่าไม่มีการอ่านแบบไหนในโลกที่ไม่มีประโยชน์ (แม้เป็นเรื่องชาวบ้าน ก็ยังถือว่าได้ประสบการณ์ชีวิต (ของคนอื่น))

 

เรื่องสั้น

ยาวไปไม่อ่าน! งั้นมาอ่านเรื่องสั้นกันเถอะ

หลายคนรักที่จะอ่าน ยาวแค่ไหนใจสู้ แต่ยังมีอีกหลายคนถือคติ TLTR (Too long to read) หรือ #ยาวไปฉันไม่อ่านย่ะ มักเป็นพวกที่เห็นหนังสือเล่มหนาแล้วเกิดอาการง่วงนอน ,ไม่ชอบหนังสือชุด หรือเกลียดการมีภาคต่อให้วุ่นวาย ..แล้วการอ่านแบบไหนนะถึงจะเหมาะสมกับคนประเภทนี้?

กระชับ สั้น อ่านง่าย

หากคุณเป็นหนึ่งใน TLTR ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะคนที่ชอบอ่านอะไรสั้นๆ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 นับว่าเป็นยุคก่อกำเนิดวรรณกรรมเนื้อหากระทัดรัด อย่าง “เรื่องสั้น” หรือบางครั้งก็เรียกว่า “นวนิยายแฟลช” เป็นวรรณกรรมที่มีตัวอักษรตั้งแต่ 1,000 คำ แต่ไม่เกิน 4,000 คำ อันระบุไว้ใน “ปรัชญาองค์ประกอบ” ของ Edgar Allan Poe (1846) และในปัจจุบันเรื่องสั้นจะมีความยาวตั้งแต่ 1,000 คำ แต่ไม่เกิน 20,000 คำ

เรื่องสั้น

6 ประโยชน์จากการอ่านอะไรสั้นๆ

1) มั่นใจได้ ว่าคุณจะอ่านมันจบ

หลายคนเลี่ยงที่จะไม่อ่านหนังสือ เพราะคิดว่าไม่ได้มีเวลามากมายที่จะดื่มด่ำกับหนังสือขนาดนั้น และอ่านไม่ทันจบก็คงวางกองทิ้งไว้เป็นแน่ หรือที่จริงประโยคเหล่านี้ คือข้ออ้างในการใช้เวลาไปกับคลิปวิดีโอใน Youtube หรือเลื่อนฟีดเหงาๆใน Facebook กันแน่? กำลังจะเถียงอยู่ใช่ไหม ว่าอ่านที่ไหนก็อ่านเหมือนกันนั่นแหล่ะ แต่รู้หรือไม่ว่า “การอ่านมากขนาดไหน ไม่สำคัญเท่าอ่านอะไรอยู่” ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างการอ่านในสื่อสังคมกับการอ่านในหนังสือ นั่นคือ ในสื่อสังคม คุณต้องชั่งใจในสิ่งที่คุณอ่าน จำเป็นต้องตัดสินใจเองว่าจะเชื่อแบบไหน บางทีอาจได้ข้อมูลผิดๆมา จนทำให้เชื่ออะไรผิดไป แต่สำหรับหนังสือแล้ว กว่าจะออกมาเป็นหนังสือสักหนึ่งเล่มให้คุณได้อ่าน มันย่อมผ่าน การตรวจกรองความถูกต้องอย่างโชกโชนมาระดับหนึ่งแล้ว แล้วการอ่านแบบไหนตกผลึกเป็นประโยชน์มากที่สุด?

เรื่องสั้น

โดยทั่วไป ในนวนิยายทั่วไป 1 เล่มอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมง, 1 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เพื่ออ่านให้ถึงบรรทัดสุดท้ายของหนังสือเล่มนั้น แต่ในเรื่องสั้น คุณอาจจะใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีต่อ 1 เรื่อง และจะหยิบมาอ่านเรื่องต่อไปตอนไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทุ่มเทเวลาเป็นวัน เพื่อที่จะอ่านมันให้จบเล่มภายในวันเดียว
เรื่องสั้น

2) ค้นพบความสุขเมื่ออ่านจบ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะอ่านหนังสือได้จนจบเล่ม หลายคนพ่ายแพ้ให้แก่ความขี้เกียจไปเสียก่อน เพราะเมื่อเริ่มที่จะอ่าน มักเกิดความท้อแท้อันไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจลองที่จะอ่านแล้วสักครั้งสองครั้งแล้ว หาเหตุผลมาเพื่อไม่อ่านต่อ เช่น ..”ไม่มีเวลาอ่านเลย” .. “เยอะขนาดนี้อ่านไม่ไหวหรอก” ..จนสุดท้าย อ่านไปไม่ถึงประโยคจบบทนำเสียด้วยซ้ำ

แล้วทำไมการอ่านหนังสือจบถึงสร้างความสุข? ถ้าเปรียบการอ่านหนังสือสักเล่มเป็นภารกิจอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน การอ่านหนังสือจบตามที่หวังจะสร้างความรู้สึกที่เรียกว่า “ประสบความสำเร็จขนาดย่อม” ขึ้นมา เสมือนชีวิตในวันนี้ได้ก้าวไปข้างหน้าและบรรลุเป้าหมายไปทีละอย่าง ไม่แน่ใจว่ามันจะสร้างความสุขได้มากขนาดไหน? แต่ที่แน่ๆ คุณได้ทำลายกรอบความขี้เกียจได้แล้ว และนี่คือความสำเร็จ!

มาตรฐานการอ่านของคนที่อ่านได้เร็วที่สุดอยู่ที่ 1,000 คำต่อนาที ซึ่งคนส่วนใหญ่จะอ่านได้ประมาณ 200-400 คำต่อนาที

เรื่องสั้น

อีกเรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างสำคัญ การอ่านนวนิยายหรือเรื่องสั้น จะพาคุณผจญภัยไปในโลกประหลาดที่คุณไม่รู้จักมาก่อน พบปะตัวละครมากมายที่คุณอาจตกหลุมรัก ถ้าเปรียบการอ่านหนังสือเสมือนการเดินทาง มันมักจะสร้างตื่นเต้น, เติมเต็มความสงสัย และหวนให้คิดถึง ก่อนจะรู้สึกตัวเสียอีกว่าที่จริงก็นอนนิ่งๆอยู่บนเตียงเท่านั้น

เรื่องสั้น

3) เรื่องสั้นสร้างแรงจูงใจให้อ่าน

คนส่วนใหญ่จะไม่ซื้อหนังสือเล่มใหม่หากอ่านเล่มเก่าไม่จบ แต่ไม่ใช่กับเรื่องสั้นแน่นอน เพราะเพียง 1 เรื่องจากเรื่องสั้นทั้งหมด ก็เพียงพอที่จะบอกได้ว่าคุณสมควรที่จะอ่านมันต่อไปหรือไม่ หากมันแย่มากเลย แนวนี้ไม่เหมาะเลย หรืออ่านต่อไม่ไหว ก็อาจจะหาเรื่องสั้นจากนักเขียนคนอื่น, หนังสือประเภทที่คล้ายๆกัน หรือประเด็นเดียวกันนี้ได้ โดยไร้ข้อผูกมักจากหนังสือเล่มเก่าอย่างสิ้นเชิง หรือหากชอบนักเขียนคนนี้มาก อาจหาผลงานอื่นๆของเขามาอ่านเพิ่มเติม ทั้งที่ยังอ่านเล่มเก่าไม่จบก็ยังได้

4) การอ่านเรื่องสั้นจะทำให้พบกับแนวทางที่ชอบ
มีกี่ครั้งกันนะที่เราเผลอไผลได้ปลื้มไปกับหนังสือเล่มใหม่หน้าปกสวย แล้วค้นพบในตอนท้ายว่านี่มันไม่ใช่แนวเราเลย ,ไม่ชอบหนังสือประเภทนี้เอาเสียเลย หรือเสียเวลาไปเป็นวันกับหนังสือที่ไม่ใช่นี่ทำไมกันนะ ข้อได้เปรียบของการอ่านเรื่องสั้นจะทำให้คุณประเมินตัวเองได้ทันท่วงทีว่าคุณกับหนังสือแนวนี้ไปต่อกันได้ไหม นั่นหมายถึงแนวการเขียนของนักเขียน , ประเภทเนื้อหา และหัวข้อต่างๆ ที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ โดนใจคุณแค่ไหน? เพราะถ้าหากไม่โดนใจ คุณจะได้ผละจากเล่มนี้ แล้วอ่านเล่มต่อไปอย่างไม่เสียเวลา

เรื่องสั้น

5) เรื่องสั้นเป็นตัวเลือกที่ดีในการคั่นเวลา

การอ่านถือว่าเป็นกิจกรรมที่เรียกร้องความสนใจจากเรามากกว่ากิจกรรมอื่นๆ เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิเพื่อทำความเข้าใจไปกับความหมายของผู้แต่ง หากเราคิดที่จะอ่านนวนิยายสักเล่ม เราควรโฟกัสที่มันจนกว่าอ่านจบ แต่การอ่านที่ดีจะต้องมีเวลาพักสายตา คุณอาจพักโดยการสวิตซ์ไปอ่านเรื่องสั้นแทนเพื่อเป็นการรีเฟรซสมองไม่ให้หลุดไปจากการอ่านนวนิยายเรื่องยาว อันเนื่องมาจาก เรื่องสั้นส่วนใหญ่มีภาษาที่อ่านง่ายและค่อนข้างสนุก อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรีเฟรชสมองให้โฟกัสกับการอ่านมากขึ้น

เรื่องสั้น

6) เสริมสร้างนิสัยรักอ่านอย่างไม่รู้ตัว
ในขณะที่คนรอบตัวหมกมุ่นกับสื่อสังคมในสมาร์ทโฟนของเขา คุณสามารถใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพไปกับหนังสือ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องหิ้วหนังสือไปทุกทีนะ เพราะสมัยนี้มี Application นักอ่านอย่าง E-Book เอื้อความสะดวกมากมาย คุณอาจวางไอค่อนแอพการอ่านเอาไว้ข้างๆ Facebook แล้วเปลี่ยนจากการไถหน้าฟีดเป็นชั่วโมงๆ ไปกับการอ่านแทน
เรื่องสั้นถือเป็นตัวเลือกชั้นดีในเวลาประชั้นชิด ใช้เวลาเพียง 5 – 30 นาที ในนาทีแห่งการฆ่าเวลา เช่น ในการเดินทาง รออาหารมาเสิร์ฟ รอแฟนตอบแชท การอ่านเพื่อฆ่าเวลานี่แหล่ะจะสร้างนิสัยรักอ่านให้กับคุณอย่างไม่รู้ตัว (เผลอๆรักมากกว่าแฟนเสียอีก)


รวบรวมสาระน่ารู้ ทั้งข่าวสารวงการหนังสือ อีเว้นท์หนัง, หนังสือใหม่, หนังสือแนะนำ รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านกันฟรี ๆ ที่นี่ BOOK.MTHAI