กฎหมาย ขโมยความคิด ความรู้ทั่วไป ละเมิดลิขสิทธิ์ หนังสือ

ละเมิดลิขสิทธิ์ ! ผลงานแบบไหน ที่เข้าข่าย PLAGIARISM (ขโมยความคิด)

Home / สารพันหนังสือ / ละเมิดลิขสิทธิ์ ! ผลงานแบบไหน ที่เข้าข่าย PLAGIARISM (ขโมยความคิด)

ละเมิดลิขสิทธิ์ ! ผลงานแบบไหน ที่เข้าข่าย PLAGIARISM (ขโมยความคิด)

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษทางกฎหมาย รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้ และจะแย่ถ้าต้องขึ้นโรงขึ้นศาล!

ประเด็นร้อนอาทิตย์นี้คงไม่พ้น เรื่องราวของนักร้องหนุ่มมากความสามารถอย่าง “ทอย ธันวา บุญสูงเนิน” หรือ “เดอะ ทอย” ที่ทั้ง ร้องเอง เล่นเอง แต่งเอง จากเบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินหลายคนสู่การเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

แต่เดินสะดวกได้ไม่นาน ก็มีผู้ที่อ้างตนว่าเป็น “คนใกล้ตัว” ขุดคุ้ยเรื่องราวต่าง ๆ นานา เช่น “การเปลี่ยนชื่อการเข้าวงการและที่มาของชื่อ” รวมไปถึง “การแต่งกายและแนวเพลงที่ก็อปวงต่างชาติหรือไม่?” แม้เจ้าของเรื่องราวดราม่านี้จะปิดเฟสบุคไปแล้ว แต่ก็ไม่ทำให้คนหายสงสัยประเด็นดังกล่าวได้เลย ..ว่าเรื่องราวที่แท้จริงเป็นเช่นไร? ละเมิดลิขสิทธิ์ จริงหรือไม่?

ละเมิดลิขสิทธิ์

THE 1975 วงดนตรีที่น่าจับตามองจากเกาะอังกฤษ แนวเพลงอินดี้  ที่รวมตัวกันตั้งแต่อายุ 15 เท่านั้น เริ่มแรกจะโคฟเวอร์เพลงของวงดังเป็นหลัก ต่อมาพัฒนาความสามารถไปอีกขั้นด้วยการแต่งเพลงเองขึ้นร้องในคอนเสิร์ตตัวเอง จนโด่งดัง กลายเป็นที่รู้จัก

แต่ไม่ใช่แค่ในอุตสาหกรรมดนตรีเท่านั้นนะที่มีประเด็น ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ดราม่ากันแบบนี้ เพราะ อุตสาหกรรมงานเขียนและวรรณกรรมเอง ก็มีกลุ่มคนมักง่ายประเภทนี้ให้เห็นกันบ่อยครั้ง

ละเมิดลิขสิทธิ์หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า การขโมยความคิด ถือเป็นความผิดที่มีโทษทางกฎหมายไทย และทั่วโลกเองก็ตระหนักเรื่องนี้อยู่มาก แล้วทำอย่างไรล่ะถึงจะเลี่ยง “ การ ขโมยความคิด ”

การขโมยความคิด (PLAGIARISM)

การกระทำที่เข้าข่าย การ “คัดลอกผลงาน” คือ การนำผลงานของคนอื่นมาเป็นผลงานของตนเองโดยมิชอบ ทั้ง การขโมย, การตีพิมพ์ข้อความของคนอื่น รวมถึงการแสดงความคิด (วรรณกรรม, งานศิลป์, ดนตรี, งานประดิษฐ์ และอื่น ๆ ) และการใช้วิธีในการนำมาอย่างไม่ซื่อสัตย์ เสมือนกับว่าเป็นงานของตนเอง – The Compact Edition of the Oxford English Dictionary

 

การโจรกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม หมายถึง การนำผลงาน ความคิด หรือคำพูดของผู้อื่นไปให้โดยไม่อ้างอิงที่มา หรือการนำความคิดและงานของผู้อื่นมาเขียน โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากความคิดของตน – ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติ

ประเภทของ การขโมยความคิด (PLAGIARISM)

โดยทั่วไป แบ่งประเภทของการ “ขโมยความคิด” ที่ ละเมิดลิขสิทธิ์ ออกเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

  • ลอกข้อความมา โดยไม่อ้างอิง
  • ลอกข้อความมา โดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูด (“_____”)
  • ลอกความคิด โดยเอามาดัดแปลงหรือเขียนใหม่ เสมือนเป็นเจ้าของความคิด
  • ลอกข้อความมา แต่ให้แหล่งอ้างอิงผิด
  • ลอกข้อความมาบางประโยค แต่ไม่อ้างอิง

ละเมิดลิขสิทธิ์

การกระทำดังกล่าว เข้าข่าย ละเมิดลิขสิทธิ์

ละเมิดลิขสิทธิ์

นอกจากจะมีความผิดด้านจรรยาบรรณแล้ว ยังมีโทษทางกฎหมายด้วยนะ! เพราะในวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ทาง กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีการปรับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมสื่อออนไลน์มากขึ้น ใครทำผิด! ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์  ทันที!

ละเมิดลิขสิทธิ์

กฎหมายเดิม

  • การละเมิดต่องานของผู้สร้างสรรค์ ทั้ง ทำซ้ำ ดัดแปลงงาน เผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับความยินยอมตามกฎหมาย มีโทษปรับ 20,000 – 200,000 บาท แต่หากทำเพื่อการค้า หรือ เชิงพาณิชย์ มีโทษจำคุก 6 เดือน – 4 ปี หรือ มีโทษปรับ ตั้งแต่ 100,000 – 800,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายเพิ่มเติม

  • การกระทำที่เป็นการลักลอบ เช่น ลบลายน้ำของรูป, ตัดรูป โดยรูปนั้นไม่มีชื่อเจ้าของภาพ แล้วนำไปเผยแพร่หรือใช้งานในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ แชร์ ผ่าน SOCIAL NETWORK ของตน โดยไม่อ้างอิงเจ้าของตัวจริง มีโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 200,000 บาท
  • การ COPY เนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์มาโพสต์ทาง FACEBOOK
    1. กระทำเป็นรายบุคคล ใช้ส่วนตัว ไม่ได้แสวงหากำไร = สามารถใช้ได้ ไม่ผิดลิขสิทธิ์ ก็ต่อเมื่อ ให้เครดิตและอ้างอิงแหล่งที่มา
    2. การกระทำแบบนิติบุคคล หากเว็บไซต์มีแบนเนอร์โฆษณา หรือ FACEBOOK เชิงพาณิชย์  ผิดลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย
    3. การ EMBED ไม่ผิดลิขสิทธิ์ หากคลิปนั้นเผยแพร่เป็นสาธารณะ และเผยแพร่จากต้นฉบับ-ต้นสังกัด เช่นเดียวกับการแชร์ลิงก์ (แก้ไขกฎหมายจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558)
    4. การนำคลิปบน YouTube ไปใช้ จะต้อง 1) อ้างอิงชื่อเจ้าของคลิปและเผยแพร่แบบสาธารณะ 2) ถึงแชร์เฉย ๆ แบบไม่สาธารณะ ยังไงก็ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ 3) การเอาคลิปไปลงใน Facebook เชิงพาณิชย์ เสี่ยงถูกฟ้องเรื่องแสวงหากำไร
    5. ถ้าไม่อยากโดนฟ้อง ควร วาดเอง ถ่ายเอง ซื้อเอง หรือขอโดยตรงจากเจ้าของรูปเอง  ถ้าเอาจาก Google อาจโดนฟ้องได้
    6. เนื้อหาที่สามารถนำมาได้แบบไม่ผิดกฎหมาย ได้แก่ ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริง, รัฐธรรมนูญและกฎหมาย, ระเบียบและประกาศจากหน่วยงานของรัฐ, คำพิพากษา, คำสั่ง ของราชการ, คำแปลหรือการรวบรวมที่หน่วยงานรัฐจัดทำขึ้น

ละเมิดลิขสิทธิ์

ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การตรวจสอบบทความที่ซ้ำและคัดลอกจึงง่ายมากขึ้น เพราะมีโปรแกรมที่สามารถใส่บทความลงไปและตรวจสอบได้ทันที เช่น

  • eTBLAST     โปรแกรมยุคแรกที่ใช้ตรวจสอบบทความที่เข้าข่าย PLAGIARISM
  • TURNITIN  ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์

 

ละเมิดลิขสิทธิ์

ละเมิดลิขสิทธิ์

คงไม่ยากหากเราจะหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ฟรี ๆ จากทั่วทุกมุมโลก แต่ไม่ได้แปลว่าจะให้คุณคัดลอกงานเขามานะ  …ควรศึกษาเรื่องที่จะเขียนอย่างเข้าใจ จากหลากหลายแหล่งที่มาของข้อมูล เมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็นำมาสรุปความตามความเข้าใจ ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง แต่ถ้าหากว่าจำเป็นจะต้องคัดลอกผลงานคนอื่นมา หรือจำเป็นต้องแปลบทความนั้น ๆ มาจากภาษาอื่น ควรให้แหล่งที่มา หรือใส่แหล่งอ้างอิงทุกครั้ง

ละเมิดลิขสิทธิ์หลายคนเริ่มขัดใจว่าทำไมการหยิบมาเพียง 2-3 ประโยคถึงเป็นเรื่องราวใหญ่โตขนาดนี้ ..

ทำไมต้องใส่แหล่งอ้างอิง?

  • ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะ ผลงานทุกชิ้น เมื่อเผยแพร่สู่สาธารณะชนแล้ว จะได้รับความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ตามกฎหมายอัตโนมัติ โดยไม่ต้องจดแจ้ง
  • แสดงความมีจริยธรรมในวิชาชีพ

จงจำไว้ว่า…

  • ความรู้ทั่วไป ที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว ไม่ต้องใส่อ้างอิง
  • ความรู้เฉพาะ มีเพียงแหล่งเดียว ต้องอ้างอิง

 

แล้วถ้าเกิดว่าจะต้องเอาบทความของคนอื่นมาใช้จริง ๆ ละก็ มีวิธีการในการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้

ละเมิดลิขสิทธิ์แบบเอกสารอ้างอิง

การเขียนอ้างอิงแบบ “เอกสารอ้างอิง” นั้น เป็นการอ้างอิงเฉพาะตัวประโยคที่ยกมาเท่านั้น หากมี 10 แหล่งที่มา การใส่เอกสารอ้างอิงก็จำเป็นต้องมี 10 การอ้างอิง

ชื่อผู้แต่ง  (ปีที่พิมพ์, เลขที่หน้าอ้างอิง)

  1. แบบเชิงอรรถ – ใส่แหล่งอ้างอิงล่างบทความ พร้อมอ้างอิงหมายเลขกำกับไว้ในเนื้อหา
  2. แบบแทรกเนื้อหา – ใส่ในบทความ
  3. แบบอยู่ท้ายบท

แบบบรรณานุกรม

การเขียนอ้างอิงที่มา ทั้งการยกประโยคมาใส่ในเรื่อง และ อาจไม่ได้ยกประโยคมาแต่แหล่งที่มีมีความเกี่ยวข้องกับบทความ

ละเมิดลิขสิทธิ์


รวบรวมสาระน่ารู้ ทั้งข่าวสารวงการหนังสือ อีเว้นท์หนัง, หนังสือใหม่, หนังสือแนะนำ รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านกันฟรี ๆ ที่นี่ BOOK.MTHAI