ชุดไทย บุพเพสันนิวาส พี่หมื่น รอมแพง หนังสือ ออเจ้า เกล้ามวย

บุพเพสันนิวาส กับชุดไทยโบราณ แม่หญิงในยุคเก่า ออเจ้าใส่อะไร?

Home / สารพันหนังสือ / บุพเพสันนิวาส กับชุดไทยโบราณ แม่หญิงในยุคเก่า ออเจ้าใส่อะไร?

บุพเพสันนิวาส กับ ชุดไทยโบราณ

ออกอากาศได้ไม่ถึงครึ่งเรื่อง เล่นเอาคนพูดถึงทั้งประเทศ กับ กระแส บุพเพสันนิวาส ฟีเวอร์ ที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ “ออเจ้า” กันจ้าละหวั่น ไหนจะลัทธิคลั่งพี่หมื่นที่มีให้เห็นอย่างหนาตา รวมถึงเรื่องการ “ละเมิดลิขสิทธิ์” โดยการเอาหนังสือมาเผยแพร่แบบผิดกฎหมาย ทำเอาผู้เขียน บุพเพสันนิวาส อย่าง รอมแพง ถึงกับบาดเหงื่อกับความมักง่าย ประกาศลั่นกลางโซเชียลว่าจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด!

บุพเพสันนิวาส

บุพเพสันนิวาส กับ เครื่องแต่งกาย

นอกจากบทละครจะดี นักแสดงยังได้เล่นดีมากสร้างปรากฎการณ์ MEME การะเกดครองเมือง  โดยเฉพาะในเรื่องของ “เครื่องแต่งกาย”  อย่างชุดไทยสมัยเก่าที่ทางคอสตูมเก็บรายละเอียดได้อย่างสมจริงทุกกระเบียดนิ้ว ตั้งแต่สไบ สายสร้อย ยันทรงผม  เพราะกว่าจะออกมาเป็นแม่หญิง “การะเกด” ได้ จะให้ห่มสไบ นุ่งผ้าถุงออกมาเฉย ๆ ไม่ได้! เอ… แม่หญิงสมัยอยุธยายังต้องตื่นมาแต่งตัวกันตั้งแต่ไก่ยังไม่โห่ขนาดนี้ แล้วในยุคสมัยที่เก่าแก่กว่านั้นล่ะ  เขาแต่งตัวยังไงกันบ้างนะ?

ยุ ค ท ว า ร ว ดี

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16

แม่หญิงยุคทวารวดีจะเกล้าผมมวยทำหรือถักเปียเป็นจอมสูงเหนือศีรษะแล้วใช้ผ้ามัดไว้ มักใส่ต่างหูกลมห่วง ทับทรวงทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และกำไลทองคำสำริด นุ่งผ้าซิ่นจีบพื้นหรือลวดลายย้อมสีกรัก (สีเดียวกับรูปตัวอย่าง) ทบซ้อนกันทิ้งชายแนบลำตัว ไม่สวมเสื้อแต่จะห่มผ้าสะไบเฉียงบ่าซ้ายไพล่มาข้างขวา เป็นผ้าฝ้ายบาง

 

บุพเพสันนิวาส

 

ยุ ค ศ รี วิ ชัย

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18

แม่หญิงยุคศรีวิชัยเน้นทำผมเกล้ามวยสูง พุ่มทรงข้าวบิณฑ์ ตุ้มหูแผ่นกลมเป็นกลีบดอกไม้ ใส่กรองคอทับทรวง ใส่กำไรต้นแขนทำด้วยโลหะ หรือลูกปัดร้อยเป็นพวงอุบะ ใส่กำไลมือและเท้า นุ่งผ้าครึ่งแข้งปลายบานยกขอบ ผ้าผืนเดียวบางแนบเนื้อ ด้านบนโค้งเว้าเห็นส่วนท้อง คาดเข็มขัดปล่อยชายผ้าลงทางด้านขวา

 

บุพเพสันนิวาส

ยุ ค ล พ บุ รี

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19

แม้หญิงยุคลพบุรีนิยมทำผมแสกกลาง ตอนบนมุ่นเป็นมวยปักด้วยปิ่นยอดแหลม นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยาวกรอมถึงข้อเท้า สวมกำไลต้นแขน ข้อมือ และเทริดที่ศีรษะ มีกรองคอทำลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ ตุ้มหูทำเป็นหัวเป็ดคว่ำ

บุพเพสันนิวาส

ยุ ค เ ชี ย ง เ เ ส น

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24

แม่หญิงยุคเชียงแสนนิยมทำผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง  นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ ทิ้งชายยาว พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน สวมสร้อย สังวาล กำไลมือและเท้า

 

บุพเพสันนิวาส

ยุ ค สุ โ ข ทั ย

 ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 – 20

แม่หญิงยุคสุโขทัยนิยมทำผมยาวเกล้ามวยบนศีรษะมีดอกไม้ประดับ หรือผอมแทรกกลางรวบผมไว้ท้ายทอย มีเกี้ยวหรือห่วงกลมคล้องตรงที่รวบ นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยาวกรอมถึงข้อเท้ารัดกลีบทบกันซับซ้อน

 

บุพเพสันนิวาส

ยุ ค อ ยุ ธ ย า

แม่หญิงยุคอยุธยามีการแต่งกายที่ต่างกันไปตามยุคสมัย แบ่งออกเป็น 3 ช่วงสำคัญ ดังนี้

  1. การแต่งกายตามกฎมณเฑียรบาล เป็นแบบของเจ้านาย ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงตลอดจนพวกมีฐานะจะแต่งตามไปด้วย ผู้หญิงยังมีการเกล้ามวยอยู่

  2. การแต่งกายแบบชาวบ้าน (ระยะกลางของสมัยอยุธยา) มีการนุ่งโจงกระเบนทางแถบ เมืองเหนือ ผู้ชายอาจไว้ผมยาว ส่วนทางใต้ลงมาตัดผมสั้น ลง ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการไว้ผมมหาดไทย (ทรงผมแบบในรูป มีปีกนก) ผู้หญิงยังคงไว้ผมยาวนิยมห่มสไบ

  3. ยุคสงคราม (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องช่วยกันต่อสู้กับศัตรู ผู้หญิงตัดผมสั้น ลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชาย และสะดวกในการหลบหนี เสื้อผ้าอาภรณ์จึงตัดทอน ไม่ให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว มีการห่มผ้าตะเบงมานคือห่มไขว้กัน บริเวณหน้าอกแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ ส่วนผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง

รวบรวมสาระน่ารู้ ทั้งข่าวสารวงการหนังสือ อีเว้นท์หนัง, หนังสือใหม่, หนังสือแนะนำ รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านกันฟรี ๆ ที่นี่ BOOK.MTHAI