ทมยันตี นวนิยาย นักเขียน ป้าทุบรถ ป้านักทุบ มนุษย์ป้า ล่า หนังสือ โบตั๋น

ป้านักทุบ ทุบมาแล้วก่อนใคร! กับ 5 คุณป้านักทุบประวัติศาสตร์วงการนักเขียน

Home / สารพันหนังสือ / ป้านักทุบ ทุบมาแล้วก่อนใคร! กับ 5 คุณป้านักทุบประวัติศาสตร์วงการนักเขียน

5 คุณ ป้านักทุบ ประวัติศาสตร์วงการนักเขียน

ป้านักทุบ ประเด็นฮิตติดหน้าฟีดทุกสื่อโซเชียลตอนนี้ จากคลิปแฉการกระทำของเหล่า มนุษย์ป้าถึงการกระทำที่เกินกว่าเหตุ สู่กระแสสังคมตีกลับจนภาครัฐต้องออกมาจัดการ หลังจากปล่อยคดีพิพากทิ้งร้างไว้เกือบ 10 ปี เรียกได้ว่าทุบรถเรียกความเป็นธรรมครั้งเดียวสะเทือนไปทั่วกรุง (ยิ่งกว่าขวาน THOR) แต่ไม่ว่าจะทีมไหน ๆ ก็ขอให้ได้รับความเป็นธรรมกันทุกฝ่าย

“มนุษย์ป้า” ทุบรถร้องความเป็นธรรมก็มีให้เห็นกันมาแล้ว วันนี้ BOOK.MTHAI ขอเสนอ “5 คุณ ป้านักทุบ ประวัติศาสตร์วงการนักเขียน” กันบ้างดีกว่า เรื่องน้ำหนักมืออาจสู้รบปรบมือกับเหล่าคุณป้าเจ้าของบ้านไม่ได้ แต่ถ้าพูดถึงฝีไม้ลายมือการร้อยเรียงภาษาแล้วละก็ ไม่เป็นสองรองใครแน่นอน

ป้านักทุบ

โสภาค สุวรรณ

จากผลงานประกวดเรื่องสั้นตอนอายุ 11 ปี สู่ นักเขียนผู้สร้างสรรค์งานประพันธ์ยาวนานกว่า 6 ทศวรรษ “โสภาค สุวรรณในนามปากกา “รำไพพรรณ” “สุวรรณสาร” และ “ศรีโสภาค” นับตั้งแต่เรื่องสั้นเรื่องแรก ในปี 2498 จวบจนปัจุบัน “โสภาค สุวรรณ” สร้างสรรค์ผลงานเขียนมาแล้วกว่า 100 เรื่อง ทั้งแนวจิตวิทยา, ประวัติศาสตร์, การเมือง, รักโรแมนติก, ปัญหาสังคม และแนวอื่น ๆ ที่หลากหลาย จนได้รับการชูเกียรติยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี 2556 มาแล้ว

ด้วยลักษณะการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ จากการสอดแทรกสาระความรู้ให้ผู้อ่านในเรื่องราวตลอดจนจบนอกเหนือจากความบันเทิง ทำให้เนื้อเรื่องยืดยาวไม่เหมือนใคร เพราะเต็มไปด้วยบทบรรยายละเอียดที่ไม่ต้องการให้ตัดทอน และมุมมองโลกด้านบวกที่เน้นสร้างกำลังใจให้ยืดหยัดสู้กับทุกข์และอุปสรรค จนแทบไม่มีเรื่องใดที่จบแบบโศกนาฏกรรม

ป้านักทุบ

นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทยที่โดดเด่น คือ สายโลหิต ญาติกา นวนิยายแสดงความเป็นไทยในอดีต เช่น บุษย์น้ำทอง บ้านแก้วเรือนขวัญ บ้านเจ้าพระยา ฯลฯ นวนิยายสะท้อนสังคมชนบท เช่น ปุลากง (หนังสืออ่านนอกเวลา ของกระทรวงศึกษาธิการ) ทางช้างเผือก ฯลฯ

ป้านักทุบ

ป้านักทุบ

สุภา สิริสิงห

นักเขียนหญิงแกร่ง ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้สร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่องยาวนานกว่า 40 ปี ทั้งนวนิยาย, เรื่องสั้น ตลอดจนวรรณกรรมสำหรับเด็ก “สุภา สิริสิงห” หรือ นามปากกา “โบตั๋น” นักเขียนน้ำดีที่มีจิตสำนึกทางสังคมสูง ปรุงแต่งเรื่องราวน้อยที่สุดเพื่อให้เกิดความสมจริง ด้วยชั้นเชิงด้านวรรณศิลป์สะท้อนให้ผู้อ่านตะหนักถึงปัญหาของสังคมในแง่มุมต่าง ๆ นอกเหนือจากนั้นยังแสดงคุณค่าและพลังสร้างสรรค์ของผู้หญิงผ่านปลายปากกาจนได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี 2542

ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดี
ได้แก่ “ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด”, “ตะวันชิงพลบ” , “ไผ่ต้องลม”, “ทองเนื้อเก้า”, “เกิดแต่ตม” และ “ตราไว้ในดวงจิต”

ป้านักทุบ

ป้านักทุบ

หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ

นักเขียนผู้ระบายสีฟ้าในวงการวรรณกรรม “หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ” หรือ ในนามปากกา “ศรีฟ้า ลดาวัลย์”, “สีฟ้า” และ “จุลลดา ภักดีภูมินทร์” หม่อมหลวงศรีฟ้า เข้าสู่ถนนสายนักเขียนด้วยการเขียนเรื่องสั้น ต่อมาเริ่มเขียนนวนิยาย ด้วยนามปากกา “จุลลดา ภักดีภูมินทร์” ในเรื่อง “ปราสาทมืด” ที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์และโด่งดังอย่างมากในสมัยนั้น ทั้งนำไปสร้างภาพยนตร์และละครอยู่หลายครั้ง โดยใช้นามปาก ศรีฟ้า ลดาวัลย์ เขียนเรื่องสั้นและนวนิยาย , จุลลดา ภักดีภูมินทร์ ในการเขียนนวนิยายชีวิตครอบครัว รวมไปถึงสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของเชื้อพระวงศ์ในวัง และ สีฟ้า ในการเขียนนวนิยายสะท้อนสังคม ซึ่งเป็นนามปากกาสร้างชื่อ การันตีผลงานระดับรางวัลมากมาย เช่น วงเวียนชีวิต ข้าวนอกนา ทำไม แผ่นดินนี้ยังรื่นรมย์ ใต้ฟ้าสีคราม เศรษฐีนี และ ตะวันไม่เคยเลยลับ

ป้านักทุบ

ป้านักทุบ

คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์

คงคุ้นชื่อกันดีกับนามปากกา “ทมยันตี” ที่ส่งไม้ต่อจากนวนิยายทรงคุณค่าสู่ผลงานภาพยนตร์และละครมากมายในยุคปัจจุบัน แต่น้อยคนจะรู้ว่า นามปากกา “ทมยันตี” เป็นหนึ่งในนามปากกาของ “คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ” นักเขียนชั้นดีผู้รังสรรค์ผลงานมาตั้งแต่อายุ 14 ด้วย 5 นามปากกาสร้างชื่ออย่าง “โรสลาเรน” นวนิยายแนวรักพาฝันหรือจินตนิยาย, “ลักษณวดี” นวนิยายรักแนวผู้สูงศักดิ์ เจ้าหญิงเจ้าชาย, “กนกเรขา” นวนิยายเรื่องแต่ง ตลก เบาสมอง, “มายาวดี” นวนิยายเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะและตำนาน และนามปากกาที่โด่งดังอย่าง “ทมยันตี” นวนิยายสะท้อนชีวิตและสังคม รวมถึงจิตวิญญาณ

ป้านักทุบ

แม้จะไม่ปรากฏชัดถึงรางวัลที่ “คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ” ได้รับบนถนนนักเขียน อันเนื่องมาจากความไม่ประสงค์ที่จะให้ใครส่งผลงานของตนเข้าประกวด รวมถึงออกปากปฏิเสธการรับรางวัลใด ๆ อย่างชัดเจน แต่ด้วยเนื้องานอันทรงคุณค่า ที่ประจักษ์แก่สายตานักอ่าน ผลงานของ คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ จึงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาหลายสมัย

ผลงานดังกล่าว ได้แก่ ทวิภพ, คู่กรรม, พิศวาส, อย่าลืมฉัน, ล่า, ใยเสน่หา, ดาวเรือง, พี่เลี้ยง และอื่น ๆ อีกมากมาย

ป้านักทุบ

ป้านักทุบ

คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์

นอกเหนือจากรางวัลทรงเกียรติและเครื่องราชอิสริยาภรณ์มากมายที่ “คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์” ได้รับมานั้น คือผลงานที่อยู่คู่ประวัติศาสตร์นักเขียนมาหลายยุคหลายสมัย ในนามปากกา “ว.วินิจฉัยกุล” นวนิยายแนวสมจริง ,นามปากกา “แก้วเก้า” นวนิยายเหนือธรรมชาติ และ นามปากกาเพื่อนวนิยายแปลอื่น ๆ เช่น วัสสิกา, รักร้อย, ปารมิตา เป็นต้น นอกจากนี้ยังแสดงฝีมือในการร้อยเรียงภาษาด้วยการแต่งเพลงให้กับวงดนตรีในตำนานอย่าง “สุนทราภรณ์” เช่น ชาวช้อป, ชาวเรือ, แทบทิพย์เทวี, ถวายสัจจา, สุนทราภรณ์สุนทรสนาน และอื่น ๆ

ผลงานที่คุ้นตากันดีเช่น ของขวัญวันวาน, รัตนโกสินทร์, มาลัยสามชาย, ราตรีประดับดาว, สองฝั่งคลอง, เพชรกลางไฟ, ปัญญาชนก้นครัว, บูรพา และอื่น ๆ

ป้านักทุบ

แม้ว่าคุณป้านักเขียนหลายคนจะวางมือจากการเขียนหรือจากโลกนี้ไปอย่างสงบแล้ว หากแต่คุณค่าของผลงานเขียนที่ทิ้งไว้กลับสร้างชื่อไม่เคยเจือจาง เรียกได้ว่า ทุบประวัติศาสตร์วงการนักเขียน และ สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับนักเขียนรุ่นลูกรุ่นหลานสืบมาอย่างยาวนานข้ามยุคข้ามสมัย

ผลงานเขียนเหล่านี้ยังมีให้อ่านที่ MBOOKSTORE  


ติดตามข่าวสารวงการหนังสือ ได้ที่ BOOK.MTHAI