Move Publishing ญี่ปุ่น ทำงานจนตาย วัยทำงาน อิคิไก

ทำงานจนตาย | Karoshi Syndrome (โรคคาโรชิ) โรคร้ายคนรักงานเกินเหตุ

Home / Editor Picks / ทำงานจนตาย | Karoshi Syndrome (โรคคาโรชิ) โรคร้ายคนรักงานเกินเหตุ

ทำงานจนตาย | Karoshi Syndrome (โรคคาโรชิ) โรคร้ายคนรักงานเกินเหตุ

 “ทำงานหนักไม่เคยฆ่าใคร” เป็นเพียงวลีไลฟ์โค้ชกล่าวปลุกใจให้สู้ชีวิต แต่ไม่ใช่เรื่องจริง! เพราะมีคนทำงานจนตายมาแล้วที่ญี่ปุ่น
หากคุณกำลังบ้างานเข้าขั้น สารความสุขหลั่งเวลางานเข้าเยอะ ๆ ล่ะก็ …ตั้งสติ และอ่าน เพราะวัยทำงานญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหา “ทำงานจนตาย” หรือที่รู้จักดีอย่าง Karoshi Syndrome (โรคคาโรชิ)

ทำงานจนตาย

Karōshi ( 過労死 ) (โรคคาโรชิ) ไม่ใช่ ฮิโรชิ พ่อของ ชิโนสุเกะ แต่อย่างใด มันแปลตรงตัวว่า ทำงานหนักจนตาย หรือ ทำงานหนักเกินกว่าที่ภาวะร่างกายจะทานทนไหว จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองตีบตัน อันเนื่องมาจากความเครียดและอดอาหาร  ซึ่งปรากฎการณ์นี้ไม่ได้มีเพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะยังเป็นที่แพร่หลายในประเทศเกาหลีใต้ เรียกว่า gwarosa (과로사) และ ในประเทศจีน เรียกว่า guolaosi (แบบดั้งเดิม: 過勞死แบบย่อ: 过劳死)
ทำงานจนตาย
โรคคาโรชิ ไม่ใช่พึ่งมีเร็ว ๆ นี้ แต่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยสงครามโลก แม้พึ่งจะมีการบัญญัติคำศัพท์นี้ ในปี 2521 และถูกใช้อย่างแพร่หลายในปี 2525 ก็ตาม โดยรายแรกที่พบว่าเป็น โรคคาโรชิ นั้น เป็น ผู้ชาย วัย 29 ปี ที่เสียชีวิตกระทันหันด้วยโรคหลอดเลือดในสมอง ระหว่างที่ทำงานในแผนกจัดส่งสินค้า, บริษัทหนังสือพิมพ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น

ทำงานจนตาย

เส้นทางสู้ความตาย ง่าย ๆ แค่ทำงานหนัก

แม้ในปี 2557 รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายเพื่อควบคุมระยะเวลาการทำงานของคนทำงานในญี่ปุ่น หวังลดประชากรที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก แต่ก็มีบริษัทหัวใสหลายที่ ที่ใช้วิธีการหลบเลี่ยงเพื่อให้ตัวเองได้งานตามต้องการ เช่น ให้ทำงานแต่ไม่ลงบันทึกล่วงเวลา, ให้พนักงานนำงานกลับไปทำบ้าน, รวมถึงใช้วิธีการรับพนักงานชั่วคราวแทนพนักงานประจำ จึงทำให้วัยทำงานชาวญี่ปุ่นกว่า 20% ยังคงทำงานล่วงเวลา มากกว่า 80 ชั่วโมงต่อเดือน หรือเสี่ยงทำงานหนักจนตัวตายอยู่ดี

ทำงานจนตาย

2 สาเหตุหลักโรคคาโรชิ 

1) ต า ย เ พ ร า ะ โ ร ค
เนื่องจากทำงานหนักอย่างต่อเนื่องโดยร่างกายไม่ได้หยุดพักเท่าที่สมควร  เช่น นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ  , ขาดสารอาหาร  หรือ อดอาหารเพื่อทำงานที่ยืดเยื้อให้เสร็จ จนเป็นสาเหตุให้ร่างกายจะทานทนไหว และเกิดภาวะหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองตีบตัน ในเวลาต่อมา

 

2) ต า ย เ พ ร า ะ เ ค รี ย ด
เนื่องมาจากความเครียดที่ส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจอย่างร้ายแรง กดดันตัวเอง, รู้สึกไร้ค่า, ไร้ตัวตน จนทำไปสู่ความหดหู่ทางจิตใจ และฆ่าตัวตายในที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น  ขาดแรงสนับสนุนจากสังคมและมีปัญหากับบุคคล,  ขอบข่ายงานที่ได้รับผิดชอบซับซ้อนและมากเกินขอบข่ายที่ควรจะเป็น ,เหนื่อยล้าเรื้อรังและมีรอยโรค “ซึมเศร้า”
ซึ่งอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคคาโรชิ โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพที่มีขอบข่ายความรับผิดชอบสูง และเป็นกลุ่มคนที่ความหวังผลของงานมากกว่ารายได้ เช่น แพทย์, นักข่าว, และนักธุรกิจ แต่ไม่ใช่ว่าอาชีพอื่น ๆ จะไม่เสี่ยง  ที่ร้ายกว่านั้นก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตนั้น ผู้ที่เป็นโรคคาโรชิก็ไม่ส่งสัญญาณใด ๆ ให้เห็น มาพบอีกทีก็เสียชีวิตอย่างกระทันหันและแก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว

อิคิไก และความหมายในชีวิตการทำงาน

อิคิไก ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงเวลานี้ มันไม่ใช่แค่วิถีชีวิตแบบญี่ปุ่น แต่มันค่อนข้างจะเป็นไปได้ในในทุก ๆ เรื่องของชีวิต ซึ่งหัวข้อที่น่าสนใจจากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง โดย Adam Grant หนึ่งในผู้บริหารของ Wharton ชื่อว่า “ค้นหาความหมายในการทำงาน” ได้อธิบายว่า สิ่งที่กระตุ้นในพนักงานอยากทำงาน อาจไม่ใช่เงินเสมอไป แต่คือ 2 สิ่งสำคัญ อันได้แก่ 1) งานที่พวกเขาทำส่งผลให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้น 2) พวกเขาได้เห็นผลลัพธ์จริง ๆ ในสิ่งที่พวกเขาทำ  และมันสอดคล้องกับ อิคิไก อย่างมาก

ทำงานจนตาย

Tomi Menaka วัย 92 ปี พบ อิคิไก ของตัวเองจากการร้องและเต้นรำวงกับเพื่อนในวง KBG84 หลายคนอาจบอกว่ามันคืองาน แต่สำหรับเธอแล้วมันคือความสุข   ทำงานจนต
ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะสามารถพบ อิคิไก หรือ ความหมายของชีวิตจากการทำงานได้  ผลสำรวจจากประชากรญี่ปุ่น (2553) ของ Central Research Service พบว่า มีเพียง 31% ของวัยทำงานของญี่ปุ่นเท่านั้นที่ค้นพบ อิคิไก ของตนเองจากการทำงาน แต่ไม่ใช่กับทุกคน เพราะคุณค่าในชีวิตของคนอื่น ๆ ที่เหลือ อาจพบได้จากสิ่งอื่น

แล้ว อิคิไก คืออะไร? 

อิคิไก (Ikigai) แปลตรงตัว คือ ความหมายของการมีชีวิตอยู่ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ตื่นขึ้นมาในทุกเช้าแล้วมีจุดหมาย รู้ว่าอยากทำอะไร ไม่เคว้งคว้าง มันอาจคล้ายคลึงกับ “ความสุข” เพียงแต่ ความสุข อาจหายเมื่อเจอเรื่องทุกข์ระทม แต่ อิคิไก จะไม่หายไปไหนและอยู่ช่วยให้คุณผ่านเรื่องราวร้าย ๆ ไปได้ แม้จะระทมใจขนาดไหนก็ตาม
Toshimitsu Sowa จากบริษัท Jinzai Kenkyusho ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “จากผลกระทบที่มันเกิดขึ้น ทำให้พนักงานในญี่ปุ่นควรได้รับแรงผลักดันที่แตกต่างกันจากสิ่งที่พวกเขาเป็น ไม่ใช่มาตรฐานบริษัท เมื่อเป็นที่นับหน้าถือตาจากเรื่องที่ตัวเองถนัด เขาจะรู้สึกมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ที่สุด”

เพราะ อิคิไก สร้างความแตกต่างให้ คุณ กับ คนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ
ตามหา อิ คิ ไก ของตัวเองให้พบ  กับ หนังสือ ” อิคิไก: ความหมายของการมีชีวิตอยู่ ” โดยสำนักพิมพ์ Move Publishing  | เมื่อการงานไม่ใช่สิ่งที่แปลกแยกจากชีวิต ปรัชญาชาวญี่ปุ่นที่จะทำให้คุณอยากตื่นแต่เช้าเพื่อออกไปทำสิ่งที่รัก  ทำงานจนตาย

ทำงานจนตาย


ทำงานจนตาย

หนังสือ “อิคิไก | ความหมายของการมีชีวิตอยู่” | Japan’s totally awesome old people (www.pri.org) | With no direct English translation, it’s a term that embodies the idea of happiness in living. Yukari Mitsuhashi explains. (www.bbc.com) | Karōshi (en.wikipedia.org)

ทำงานจนตาย


MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

ิ