อาลีบาบา | 7 บทเรียนสำคัญ ที่ แจ๊ค หม่า ได้จากมรดกนักปราชญ์
หากพูดถึงนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ชื่อที่ถูกจารึกเอาไว้ อีกทั้งยังเป็นคนเอเชีย คงหนีไม่พ้น “แจ๊ค หม่า” แห่งอาลีบาบา
จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของ แจ๊ค หม่า ครูสอนภาษาอังกฤษ สู่การสร้าง อาลีบาบา อาณาจักรอีคอมเมิร์ซขนาดยักษ์ที่โค่นยักษ์รุ่นเก่าอย่าง EBAY ได้สำเร็จ และตอนนี้กำลังขยายตัวสู่ทุกสิ่งบนโลก
เบื้องหลังชัยชนะของ แจ๊ค หม่า คือสิ่งใด? แจ๊ค หม่า เคยกล่าวเอาไว้ว่า หนึ่งสิ่งที่ทำให้เขาพบกับความสำเร็จเหล่านี้คือแรงบันดาลใจจากหนังสือบนโต๊ะทำงานของเขา
หนังสือบนโต๊ะที่ว่า คือ “Daodejing” หรือ เต้าเต๋อจิง คัมภีร์ปรัชญาภาษาจีนกว่า 5000 ตัวอักษร หรือราว ๆ 80 บท ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เป็นปรัชญาที่กล่าวเปรียบเปรยชีวิตกับธรรมชาติ ซึ่งคำว่า “เต้า-เต๋อ-จิง” แปลว่า คัมภีร์ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของเต้า หรือ ปรัชญาเรื่องโลกและชีวิต
เต้า 道 (ทาง) หมายถึง วิถีทางแห่งธรรมชาติ, หนทาง, กฎและจารีต, ธรรมชาติ
เต๋อ 德 (คุณธรรม; ความดี) และ จิง 经 (คัมภีร์; สูตร; วรรณคดีชั้นสูง)
คนจีนมักอ่าน เต้าเต๋อจิง ในแง่วิชาการ แต่ในมุมของ แจ๊ค หม่า แล้ว เขาได้อะไรจากการอ่านหนังสือเล่มนี้? นี่คือ 7 บทเรียนสำคัญ ที่เขาได้จากหนังสือเล่มโปรด สู่ธุรกิจระดับโลก อาลีบาบา
เชื่อใจทีมของคุณ

แจ๊ค หม่า แสดงความเชื่อมั่นในทีมของเขาตั้งแต่วันแรกที่ อาลีบาบา เริ่มก่อตั้ง ในระหว่างที่ ล้ม ลุก คลุก คลาน สถานการณ์ได้คัดเลือกคนที่ไว้ใจได้ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เขาทำงานบนพื้นฐานความถูกต้อง ไต่ปีนมาสู่ความสำเร็จในปัจจุบันได้
จัดการกับความล้มเหลว

เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างหรือการทำลาย เมื่อเราเผลอเดินพลาดไปในแผนที่ไม่ได้วางแผนไว้ตั้งแต่แรก หรืออาจไม่ได้คิดว่ามันจะมีผลประโยชน์ใด ๆ ต่อธุรกิจ ในทางกลับกันผู้ประกอบการหลายรายตระหนักได้ว่า “สิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า บางทีก็ก่อร่างสร้างตัวมาจากความล้มเหลว”
แจ๊ค หม่า ยึดหลักนี้เพื่อพัฒนาธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์แบบ ก่อนหน้าที่ อาลีบาบา จะประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ เขาเคยเปิดอีคอมเมิร์ซที่ชื่อ “China Pages” มาก่อน แน่นอนว่ามันล้มเหลวอย่างน่าสังเวช
แต่ความล้มเหลวครั้งนั้นกลับไม่ได้ทำให้เขาท้อใจ เขาค่อย ๆ ลุกขึ้น หยิบเศษ ประกอบซาก จากสิ่งผิดพลาดมาเติมต่อกัน จนเป็น อาลีบาบา ในที่สุด
รู้เท่าทันตัวเองอยู่เสมอ

ข้อความดังกล่าวคือปรัชญาที่จงใจให้ผู้อ่านตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง การทำความเข้าใจผู้อื่นคือสิ่งที่ดี แต่สิ่งสำคัญที่แท้จริงอยู่ที่ คุณทำความเข้าใจในคุณค่าของตัวเองได้ลึกซึ้งแค่ไหน
สำหรับผู้ประกอบการแล้ว หากยิ่งเข้าใจในธุรกิจตัวเองได้ไวกว่าใคร ก็จะช่วยให้ไปได้ไกลกว่าคนอื่นมากแค่นั้น …เราไม่อาจเดาได้ว่า แจ็ค หม่า รู้จักตัวเองดีขนาดไหน แต่จากภาพรวมที่พอมองออก เขาค่อนข้างเป็นคนเปิดใจให้กับความผิดพลาดและล้มเหลวทั้งปวง และมักจะท้าทายสติปัญญาตัวเองด้วยสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
วิสัยทัศน์กว้าง

ปรัชญานี้ค่อนข้างเรียบง่ายเมื่อมองในมุมของผู้ประกอบการ เพราะ วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเท่านั้น ที่นำพาธุรกิจไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จได้
แน่นอนว่า แจ๊ค หม่า เริ่มทำสิ่งยิ่งใหญ่มาจากการยอมเป็นไอ้งั่งในสายตาคนส่วนใหญ่ที่คิดว่าจีนคงไปได้ไม่ไกลนักในสายอีคอมเมิร์ซ และยิ่งเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ไม่มีแม้แต่ความรู้พื้นฐานทางธุรกิจแล้ว ยิ่งบ้าเข้าขั้น
แต่ แจ๊ค หม่า ไม่ได้พับเก็บความมุ่งมั่นไปตามคำของคนอื่นแต่อย่างใด เขาเลือกเดินตามวิสัยทัศน์แสนยิ่งใหญ่ของตัวเอง ที่เชื่อว่า จีนสามารถปลดแอกตัวเองจากเมืองก็อปปี้ และขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซได้ แถมยังใช้ลูกบ้าในความเลือดจีน สร้างเอกลักษณ์ที่ไม่ต้องพึ่งตะวันตกเลยแม้แต่น้อย (ไม่พึ่ง EBAY)
จนในที่สุด วิสัยทัศน์ที่ดูห่างไกลความเป็นจริงของเขานั้น นำไปสู่การสร้างประวัติศาสตร์ที่เป็นจริงได้ในปัจจุบัน
ไขว่คว้าโอกาส

จากข้อความด้านบน สรุปได้ 2 หัวข้อสำคัญดังนั้นคือ
1) ผู้ประกอบที่ตะหนักถึงโอกาสอยู่เสมอ มักทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ ส่วนผู้ประกอบการที่ล้มเหลวมักหัวเราะเยาะในความคิดที่ไม่เข้าท่า และพร่ำเสียดายเมื่อคนอื่นตักตวงโอกาสไปเเล้ว
2) ผู้ประกอบการที่ดีจะมองเห็นช่องทางและวิ่งตามโอกาสให้ทัน อย่าง “ขยันหมั่นเพียร” พร้อมผูกมันเข้ากับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
แจ๊ค หม่า คือตัวอย่างนักเรียนดีเด่นในกลุ่มแรก ที่บ้าบิ่นทำสิ่งนอกกรอบในข้อครหาและสายตาเย้ยหยันของสังคม ในขณะที่คนอื่นหัวเราะเยาะด้วยความสมเพช พร้อมด่าก่นว่าเขามันก็แค่ไอ้งั่ง แต่ แจ๊ค มองไกลและทำให้สิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ และ ตั้งใจทำ.. จนมันสำเร็จ
ความโลภ

นี่เป็นอีกปรัชญาที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา ความโลภที่เกินขอบเขตอาจทำไปสู่ความหายนะของห่วงโซ่อาหาร เช่น ผู้ประกอบการที่กดขี่ข่มเหงและเผด็จการพนักงานมากเกินไป จนลืมตระหนักว่า หากไม่มีพนักงานทำงานให้ แม้แต่บริษัทที่มีอำนาจที่สุดในโลกก็อาจพังทลายและไร้มูลค่าไปในที่สุด
อาจมีหลายความคิดโต้แย้งปรัชญาดังกล่าว แต่โดยทั่วไปแล้ว ในการบริหารงานของ แจ๊ค หม่า ค่อนข้างเคารพกฎที่ว่านี้ เขาให้ความสำคัญกับการกินดีอยู่ดีของพนักงานในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ สวัสดิการ ที่คู่ขนานไปกับแนวคิดที่เชื่อว่าความสนุกสนานในองค์กรจะสร้างผลงานที่ดีได้ไม่แพ้ความรู้และความสามารถ
เอาตัวเองไว้สุดท้าย

เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายใหญ่ที่วางไว้ ในฐานะผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับ บริษัท มากกว่า ปรารถนาของตัวเอง เสมอ จึงไม่แปลกหากเวลาเกือบครึ่งของชีวิตจำเป็นต้องรับใช้พันธกิจของบริษัทก่อนที่จะปฏิบัติเรื่องส่วนตัว เพราะหากมัวแต่ก่อร่างสร้างตัวเองให้รวยขึ้น สร้างชื่อเสียงส่วนตัวสำหรับโอกาสมากมายที่จะเข้ามาหาเฉพาะคุณ …ธุรกิจที่อุ้มคนในปกครองเอาไว้ จะเป็นอย่างไรต่อไป?
แจ๊ค หม่า อาจไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่สุดในปรัชญาดังกล่าว แต่เขาทำสิ่งที่เสียผลกำไรระยะสั้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ระยะยาวของบริษัทเสมอ
dao-de-jing.dk | lisiming.com | robertfrostsbanjo.blogspot.com
MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส