กาหลมหรทึก จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลแปลก ซื้อ น่าอ่าน หนังสือ

กาหลมหรทึก กับ ภาษาไทยแปลกยุคจอมพลแปลก

Home / Editor Picks / กาหลมหรทึก กับ ภาษาไทยแปลกยุคจอมพลแปลก

กาหลมหรทึก กับ ภาษาไทยแปลกยุคจอมพลแปลก

จอมพลแปลก กับ ภาษาประหลาด

กาหลมหรทึก ยุคจอมพลแปลก ภาษาไทยแปลกสมชื่อ! ภาษาไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในซีรีย์ไทย กาหลมหรทึก กลายเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก ว่า “แต่ก่อนเขาใช้ภาษาไทยแบบนี้กันเหรอ?” ถึงขนาดติด TRENDS ใน TWITTER แล้ว ย่อมไม่ธรรมดา!

แปลกดี มีที่มา

รู้หรือไม่ ว่าในอดีตภาษาไทยที่เราอ่านเรียนเขียนได้อย่างทุกวันนี้ ถูกปรับปรุงแก้ไขเสียไม่เหลือเค้าโครงเดิมเลยล่ะ อันเนื่องมาจากในยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยในประเทศไทย ตำหนิติเตียนภาษาไทยว่าอ่านออกเขียนยากเสียเหลือเกิน ร้องขอให้เปิดสอนภาษาญี่ปุ่นและบังคับคนไทยทั่วไปเรียนภาษาญี่ปุ่น

กาหลมหรทึก

ผู้นำประเทศสมัยนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม หาทางออกด้วยการปรับปรุงรูปลักษณ์ของภาษาไทยให้ดูอ่านง่ายขึ้น โดย 1.ลดทอน สระ และ พยัญชนะ บางตัวออกไป  และ 2.ใช้ เลขอารบิก แทน เลขไทย ให้เป็นสากล

 

ซึ่งภาษาแปลกนี้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี (2485 – 2487) ก็มีอันยกเลิกไป อันเนื่องมาจาก ควง อภัยวงศ์ นายกคนใหม่สมัยนั้นไม่ค่อยชอบใจ แต่เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหารอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ก็ไม่ได้มีการนำภาษาประหลาดนี้กลับมาใช้แต่อย่างใด

กาหลมหรทึก

สาเหตุที่ไม่ได้นำภาษาไทย ยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาใช้ เพราะ 1.ไม่ได้รับความนิยม 2.ขัดต่อความรู้สึกประชาชน และ 3.ผู้คนเคยชินกับภาษาแบบเก่ามากกว่า

แปลกแค่ไหน ถามใจดู

ภาษาที่เปลี่ยนไปในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ได้สร้างความวายป่วงให้กับคนไทย ดังนี้

กาหลมหรทึก

ภาษาไทยในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีหลักการที่เปลี่ยนแปลง 2 ประการ ได้แก่ 1. ตัดทอน ได้แก่  สระ ใ, ฤ, ฤๅ, ฦ,ฦๅ และ พยัญชนะ ซ, ฅ, ฆ,ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ และ 2.เปลี่ยนรูป ได้แก่ ญ

นอกจากนั้นคำว่า สวัสดี ยังถูกกำหนดให้ใช้ในยุคนี้อีกด้วย

กาหลมหรทึก

คำว่า “สวัสดี” ถูกบัญญัติให้ใช้ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อใช้ในการทักทาย เมื่อ พบเจอ หรือ จากลา เช่น “ดีจ้า” หรือ “สวัสดีค่ะ”

หากยกมาเป็นคำอาจมองภาพกันไม่ออก ตัวอย่างด้านล่าง คือภาษาไทย ที่ใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม บางทีภาษาวิบัติในปัจจุบันก็ไม่ได้วิบัติอย่างที่เห็น เพราะอาจมีที่มาจากการแปลงภาษาในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ..ก็เป็นได้

ด้วยรัถบาลพิจารณาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเครื่องหมายสแดงวัธนธรรมของชาติไทย สมควนได้รับการบำรุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ไห้สมกับความจเรินก้าวหน้าของชาติ ซึ่งกำลังขยายตัวออกไปไนปัจจุบันคนะหนึ่ง ดังมีรายชื่อแจ้งอยู่ไนประกาสตั้งกรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยนั้นแล้ว เพื่อร่วมกันพิจารนาหาทางปรับปรุงและส่งเสิมภาสาไทยไห้มีความจเรินก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันที่จริงภาสาไทยก็เป็นภาสาที่มีสำเนียงไพเราะสละสลวยและมีความกว้างขวางของภาสาสมกับเป็นสมบัติของชาติไทยที่มีวัธนธรรมสูงอยู่แล้ว ยังขาดอยู่ก็แต่การส่งเสิมไห้แพร่หลาย สมควนแก่ความสำคันของภาสาเท่านั้น

ประกาส นะ วันที่ ๑๔ กรกดาคม ๒๔๘๕

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัถมนตรี

— ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องไห้ไช้พจนานุกรมตัวสกดแบบไหม่เปนหลักการเขียนหนังสือไทย

กรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๓ พรึสภาคม ๒๔๘๕ มีความเห็นไนชั้นต้นว่า สมควนจะปรับปรุงตัวอักสรไทยไห้กระทัดรัดเพื่อได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้พิจารนาเห็นว่า ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ถ้าได้งดไช้เสียบ้างก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียกภาสาไทยไห้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น

ประกาส นะ วันที่ 24 สิงหาคม พุทธสักราช 2487 เปนปีที่ 11 ไนรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ควง อภัยวงส์ นายกรัถมนตรี

— ประกาสแต่งตั้งที่ปรึกสาราชการแผ่นดิน

หากใครอยากอินกับความเก่าแก่แต่เก๋า ไปพร้อม ๆ กับ การสืบสวนคดีฆาตกรรมสั่นประสาทแบบไทย ๆ แล้วละก็ ติดตามต่อได้ที่ “กาหลมหรทึก” หนังสือนวนิยายสืบสวนแบบฉบับไทย ที่กลายเป็นซีรีย์สืบสวนอันเป็นที่พูดถึงอย่างมากในขณะนี้ สามารถหาซื้อได้ที่ STORE.MBOOKSTORE.COM

กาหลมหรทึก

ข่าวสารวงการหนังสือ ทั้งเรื่อง ข่าว, หนังสือใหม่, รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านที่นี่ BOOK.MTHAI