.สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF : อีเอฟเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จที่ตนเองตั้งใจไว้
.
สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF : ทำไมต้อง EF
.
.สร้างเด็กภูมิดีด้วย อีเอฟ : ทำไมต้อง อีเอฟและอีเอฟคืออะไร
EF หรือ Executive Function คือ ความสามารถของสมองและ จิตใจที่จะควบคุมความคิดอารมณ์ และการกระทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายได้
.
ถึงวันนี้ แม้สังคมเราจะเอ่ยนาม EF กันทั่วไป แต่ความเข้าใจที่แท้จริงว่า EF มาจากไหน คือสิ่งใดกันแน่ และจะหยิบจับมาใช้งานได้อย่างไรนั้นยังคลุมเครือ
.
ที่จริงแล้ว EF มีนิยามหลายแบบมาก พัฒนาการของ EF จะค่อยๆเกิดขึ้นช้าๆ เริ่มในวัยเด็กและจะเริ่มเสื่อมลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เริ่มช้า ไปเร็ว
.
ปัจจับที่กระทบพัฒนาการของ EF ตลอดเส้นทางคือประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่เจ้าตัวใช้ชีวิต แน่นอน พันธุกรรมก็ด้วย
.
.
อะไรๆก็คือ EF ใช่หรือไม่
.

.
คำตอบคือ ไม่ใช่
.
Executive Function หรือ EF มีความหลากหลายจนกระทั่งปัจจุบันก็ไม่เป็นที่ยุติ และมีส่วนที่ยังเห็นขัดแย้งกันอยู่พอสมควร
.
ที่เห็นตรงกันคือ EF เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เด็กคนหนึ่งพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จที่ตนเองตั้งใจไว้ แต่ EF คืออะไรและประกอบด้วยอะไรบ้างยังเป็นปัญหาอยู่
.
มีการประชุมของสภาบันสุขภาพเด็กและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ได้ช่วยกันให้คำนิยาม EF แล้วนำคำนิยามเหล่านั้นมาหาคำศัพท์ร่วม พบว่ามี 33 คำ
.
.สร้างเด็กภูมิดีด้วย อีเอฟ : ทำไมต้อง อีเอฟและอีเอฟคืออะไร
.
ทุกสิ่งไม่ใช่ EF
.

.
ยังมีคำถามต่อไปอีกว่า เพราะอะไรความสามารถดังต่อไปนี้ไม่ถูกรวมเอาไว้ในคำนิยามของ EF ได้แก้
- มิติสัมพันธ์ (Spatial Relation)
- กล้ามเนื้อและการประสาน (Motor & Coordination)
- ภาษาและการพูด (Language & Speech)
.
อธิบาย หากเด็กไม่สามารถกำหนด มิติสัมพันธ์ ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหน แล้วจะไปให้ถึงเป้าหมายได้อย่างไร
.
มิติสัมพันธ์ มิได้จะไปให้ถึงเพียงแค่พื้นที่ คืออวกาศหรือที่ว่าง (Space) แต่ยังรวมความถึงเวลา (Time) คือเวลาในอนาคต เด็กคนหนึ่งจะพัฒนาตนเองจากที่ยืนอยู่ตรงนี้ไปถึงสถานะใหม่และอนาคตใหม่ได้อย่างไรหากไม่รู้มิติสัมพันธ์
.
กล้ามเนื้อและการประสาน รวมถึงการประสานมือ – สายตา (hand-eye coordination) การประสาทสัมผัสทุกระบบ ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หากประสานไม่ได้จะพาชีวิตไปตรงได้อย่างไร
.
ภาษาคือยานพาหนะของความคิดที่ใช้ลำเลียงความคิดออกมาเป็นการสื่อสาร ประเด็นไม่ได้อยู่ที่รู้กี่ภาษาหรือพูดได้หรือไม่ได้ แต่อยู่ที่เด็กใช้อะไรบรรทุกความคิดในสมองและในใจออกมาพายนอก
.
ความสามารถ 3 ประการนี้เป็นเครื่องมือของ EF แต่มิใช่ EF
.
EF พัฒนาได้เมื่อมีเป้าหมาย
.

.
เด็กจะพัฒนา EF ได้ต่อเมื่อรู้เป้าหมาย เช่น เล่นเกมให้ชนะ ทำการบ้านให้เสร็จ เก็บกวาดทำความสะอาดห้องของตัวเองให้เรียบร้อย
.
หลายบ้านชอบเรียงเป้าหมายจากง่ายไปยาก ที่จริงแล้วเราควรเรียงจากยากไปง่าย เพื่อให้เด็กได้ฝึกความสามารถ หรือลำบากก่อนสบายทีหลัง เรียกว่า หน่วงเวลาที่จะมีความสุข (Delayed Gratification)
.
การไปถึงเป้าหมายมิใช่เรื่องของเด็กคนเดียว ตัวแปรหนึ่งคือสิ่งแวดล้อม พูดให้ชัดคือสัญญาณจากสิ่งแวดล้อมที่เด็กต้องเรียนรู้ เช่น ไฟเขียวไฟเเดง สายตาจิกของครู เสียงตวาดจากพ่อแม่
.
พบว่าเมื่อเด็กโตขึ้น เขาจะสนใจสัญญาณจากสิ่งแวดล้อมลดลงไปเรื่อยๆเอง ดังนั้นการฝึกให้เด็กมีความสามารถที่จะควบคุมยับยั้งจึงจำเป้นต้องทำตั้งแต่แรก
.
.
.
ทำไมต้อง EF
.

.
เข้าร้านสะดวกซื้อ วางแผนไปเที่ยว เล่นบาสเกตบอล วางแผนเรียนต่อ ไปจนถึงทำรายงานส่งครู เหล่านี้ล่วยใช้ทักษะชีวิตคือ กำหนดเป้าหมาย วางแผน ลงมือทำ ประเมิลผล แล้วปรับแผน และใช้ EF ด้วย
.
ที่ว่าใช้ EF คือ เด็กต้องเรียนรู้ที่จะใช้ทรัพยากรที่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นแปลว่าต้องบริหารความจำใช้งาน คิดยืดหยุ่น และควบคุมตนเองให้ตรงไปข้างหน้าด้วยทรัพยากรในตัวและรอบตัว จะเห็นว่าวงจร EF เริ่มที่ตรงไหนก่อนก็ได้
.
.
.
สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF จะช่วยให้ ปูพื้นฐาน EF ในวัยเด็ก และแก้ไข EF ที่บกพร่องหลัง 7 ขวบ อธิบายเรื่อง EF แบบลงลึกมากขึ้น ให้เห็นว่าองค์ความรู้เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร อาจจะมีศัพท์ยากบ้าง แต่ไม่เกินความเข้าใจ
.
สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF
โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จากแพรวเพื่อนเด็ก