Amarin HOW-TO Positive Change แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต : ไม่ว่าใครก็เปลี่ยนตัวเองได้

Home / Editor Picks / แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต : ไม่ว่าใครก็เปลี่ยนตัวเองได้

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต


.

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

เลิกหาข้ออ้างให้ตัวเอง ก้าวสู่ ‘คนที่อยากจะเป็น’ กับ 3 กฎง่าย ๆ ในเทคนิค Positive Change

.


.

ไม่ว่าใครก็เปลี่ยนตัวเองได้ กับ 3 กฎง่าย ๆ ในเทคนิค Positive Change

เปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณให้ดีขึ้นในเชิงบวก

.

แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ และสมองของคนเราเกลียดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แต่เมื่อมองถึงผลลัพธ์มันช่างดีต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เรายืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมรับมือกับประสบการณ์ใหม่จากผู้คนที่หลากหลาย และเปิดประตูสู่โอกาสให้กว้างขึ้น

.
แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

.

เลิกหาข้ออ้างให้ตัวเอง ก้าวสู่ ‘คนที่อยากจะเป็น’ กับ 3 กฎง่าย ๆ ในเทคนิค Positive Change เปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณให้ดีขึ้นในเชิงบวก จากหนังสือ ‘แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต‘ โดย AMARIN HOW-TO

.

เพราะ ‘สมอง’  ‘ข้ออ้าง’  และ ‘ความหวัง’ ไม่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง ยิ่งคิดมาก ยิ่งไม่ได้ทำสักที .. เลิกคิด! แล้วลงมือทำทันที

.


.

กฎที่ 1 ไม่ต้องใช้สมอง :

รู้แค่ว่าอยากเปลี่ยนอะไรก็พอ แต่ไม่ต้องคิดแผนการใหญ่ว่าต้องทำอะไร

.

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

.

คุณต้องเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองต้องการจะเปลี่ยนเสียก่อน การมีเป้าหมายจะช่วยให้รู้สึกดีต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น แต่ไม่จำเป็นจะต้องวางแผนการใหญ่ในการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อคุณเตรียมตัวมาน้อยที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงจากคำว่า ‘ยังไม่พร้อม’

.

 

ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องระบุได้ว่าอะไรคือเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกดีและกระหายการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น


 Anthony Grant รองศาสตราจารย์จิตวิทยาการเรียนการสอน จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์
..

อาจเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งเล็ก ๆ ก่อน เช่น ‘เลิกน้ำอัดลมแล้วหันมาดื่มน้ำเปล่าแทน’ เพราะเมื่อมนุษย์เราอยากทำอะไรสักอย่าง หากวางแผนมาอย่างดี ความอยากได้หรืออยากทำสิ่งนั้นจะน้อยลงจนไม่อยากทำเลย อันเนื่องมาจากการคิดย้ำ ๆ ทำให้การลงมือทำของเราช้าออกไป

.
คำแนะนำ :
.
แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

.

ใช้โพสต์-อิท ขจัดความฟุ้งซ่านขณะทำงานได้ เช่น โต๊ะรกมาก แต่ทำงานยังไม่เสร็จ ก็ให้คุณลองเขียนโพสต์-อิทแปะเอาไว้ว่า ‘ทำงานเสร็จ ฉันจะจัดโต๊ะ’ เพียงเท่านี้ก็สามารถคลายความฟุ้งซ่านของตัวเองลงไปได้ พร้อมกับสร้างเป้าหมายขนาดย่อมให้ตัวเองได้ด้วย

.

แต่ไม่ควรเขียนเป้าหมายเกิน 3 ข้อต่อวัน เพราะจะทำให้ไม่มีสมาธิและกังวลมากเกินไป ทั้งนี้ควรเพิ่มเป้าหมายหรือกิจกรรมใหม่เรื่อย ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง เช่น  คุยกับคนแปลกหน้าอย่างราบรื่น ,กล้าแสดงความคิดเห็นในห้องประชุม ,ทักทายคนที่รู้จักก่อน

.

หลังจากทำไปได้สักพักคุณจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อหันกลับมาทบทวนสิ่งที่ทำ

.


.
กฎที่ 2 ไม่ต้องหาข้ออ้าง :

เลิกหาข้ออ้างให้กับเป้าหมายที่มี

.

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต
.

การเปลี่ยนแปลงจะไม่สนุกเลย หากคุณเริ่มหาข้ออ้างให้กับเป้าหมายนั้น เพราะมันจะเต็มไปด้วยเหตุผลและข้อปฏิเสธ เช่น กลัวคนรอบข้างจะไม่ชอบ อ้างว่าไม่มีเวลา ยกเรื่องราวร้าย ๆ ในอดีตมาเป็นเกาะกำบัง หรือโทษตัวเองว่าไม่ดีพอ เป็นต้น

.

แล้วชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวกได้ยังไง หากเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงถูกขัดขวางด้วยข้ออ้างแง่ลบไปเสียหมด

.

“คนที่ไม่เริ่มลงมือทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะรู้สึกกลัวและกังวลนั้น ตัวเขาเองไม่อยากเปลี่ยนแปลง จึงใช้อารมณ์ ‘กลัว’ หรือ ‘กังวล’ เป็นข้ออ้าง” – แนวคิดจิตวิทยาของ อัลเฟรด แอดเลอร์

.
คำแนะนำ :.
  • อย่าพยายามเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เพราะนั่นไม่ใช่วิธีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่เป็นวิธีการเปลี่ยนตัวเองเป็นคนอื่นต่างหาก .
  • อนาคตสร้างได้จากการกระทำในปัจจุบัน หากเราเปลี่ยนตัวเองในปัจจุบันได้ เราก็สามารถเปลี่ยนอนาคตได้ แต่ถ้าหากยังทำอะไรเดิม ๆ อนาคตก็คงไม่เปลี่ยน

.


.

กฎที่ 3 ไม่ต้องมีความหวัง :

สิ่งที่สร้างความหวัง ไม่ใช่ ‘การคิดย้ำ ๆ’ แต่คือการ ‘ลงมือทำซ้ำ ๆ’

.

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต
.

คิดอย่างเดียวสร้างผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หากอยากได้ผลลัพธ์ ต้องลงมือทำด้วย อีกทั้งการลงมือทำยังส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีน เกิดความรู้สึกหลังลงมือทำไปแล้วว่า ‘น่าจะมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น’ หรือ ‘ทำต่อดีกว่า’ และเกิดพฤติกรรมต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

.

ซึ่งเทคนิคนี้เป็นเทคนิคเดียวกับคนเล่นการพนัน ที่หากลงเงินพนันแล้วชนะ ก็ยิ่งเกิดทำให้เกิดการกระทำต่อเนื่อง

.

หากเราใช้สารแห่งความหวังอย่าง ‘โดพามีน’ ได้ถูกวิธี ก็จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่น่าทึ่งต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะกลไกการทำงานของสมองที่ว่านี้มีเหตุผลรับรองทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน

.
คำแนะนำ :
.

ยิ่งเผชิญหน้ากับความสิ้นหวังหรือทรมานใจ ยิ่งต้องลงมือทำ แล้วความรู้สึกแง่ลบทั้งหมดจะเริ่มค่อย ๆ หายไป ซึ่งเรื่องนี้อธิบายไว้ในเชิงจิตวิทยาที่ชื่อว่า ‘สภาวะลื่นไหล’ (Flow) จากศาสตรจารย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ ผู้ทรงอิทธิพลในสาขาจิตวิทยาเชิงบวก ที่กล่าวว่า :

.

สภาวะนี้เป็นสภาวะที่คนจดจ่ออยู่กับสิ่งกำลังทำแบบ 100% จึงทำให้ตระหนักถึงตัวตนน้อยลงจนไม่รู้สึกโศกเศร้า หวาดกลัว กังวลใจ หรือแม้แต่สนุกสนาน แต่จะหลอมรวมตัวเองเข้ากับสิ่งที่ทำจนเป็นหนึ่งเดียว เช่น ดื่มด่ำกับการทำงานมากพอรู้ตัวอีกทีก็เลิกงานแล้ว เป็นต้น

.


.

เปลี่ยนแปลงตัวเองในทิศทางที่ดีขึ้นกับ 3 กฎง่าย ๆ ที่ ไม่ต้องใช้สมอง ไม่ต้องหาข้ออ้าง และ ไม่ต้องมีความหวัง กับหนังสือ  ‘แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต’  โดย Mentalist Daigo จาก AMARIN HOW-TO

.

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

.

แด่คุณผู้อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่ทำไม่สำเร็จสักที

.

ไม่ต้องกังวลหรือผิดหวังแต่อย่างใด เราทุกคนพัฒนาไปเป็นคนที่ดีกว่าเดิมได้ทั้งนั้น ขอแค่เลิกมองว่า ต้องพยายามหรืออดทนทำสิ่งที่ไม่ชอบก่อนถึงจะบรรลุเป้าหมายได้ เพราะจริงๆ แล้วการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสนุกและท้าทาย ยิ่งคุณรู้สึกในทางบวกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งอยากลงมือทำมากเท่านั้น

.

หนังสือเล่มนี้นำเสนอเทคนิค positive change หรือการเปลี่ยนแปลงตัวเองทางบวก โดยนักอ่านใจไดโกนักเขียนด้านจิตวิทยาที่กำลังมาแรงของญี่ปุ่น!

.


.

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

โดย Mentalist Daigo จาก AMARIN HOW-TO

คลิกเพื่อสั่งซื้อหนังสือ

.