ความน่าจะเป็น นักเขียน นักเขียนซีไรต์ ปราบดา หยุ่น วรรณกรรมไทย

โลกแห่งความน่าจะเป็นของ ‘ปราบดา หยุ่น’

Home / สารพันหนังสือ / โลกแห่งความน่าจะเป็นของ ‘ปราบดา หยุ่น’

ทำความรู้จัก ‘ปราบดา หยุ่น’ กับโลกที่เต็มไปด้วยความน่าจะเป็น

          ‘ปราบดา หยุ่น’ ชายผู้หลงรักในงานเขียน หนึ่งในนักเขียนที่นำเสนอผลงานที่ท้าทายคตินิยมหลังสมัยใหม่ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านตั้งคำถามกับปรากฏการณ์ของสังคมและระบบตรรกะที่คุ้นชิน วรรณกรรมร่วมสมัยของเขาสามารถสร้างและครองใจกลุ่มนักอ่านอย่างเหนียวแน่นได้เสมอ

เส้นทางนักเขียนที่เกิดจาก ความน่าจะเป็น

          ‘ปราบดา หยุ่น’ เริ่มเข้าสู่วงการหนังสือตั้งแต่สมัยมัธยม เรื่องสั้นเรื่องแรก ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร ลลนา สมัยอยู่เทพศิรินทร์ทำหนังสือของโรงเรียนชื่อ รั้วรำเพย และทำหนังสือของโรงเรียนอีกครั้งที่ Parsonns School of Design ชื่อหนังสือ Pivot ซึ่งเขาเป็นทั้งกองบรรณาธิการ และอาร์ตไดเรกชั่นเอง งานเหล่านี้คือพื้นฐาน ให้เขาก้าวเดินอย่างมั่นคง บนถนนคนเขียนหนังสือ

          ในช่วงนั้นเขามีหนังสือที่พิมพ์ออกมาคือ เมืองมุมฉาก (2543), ความน่าจะเป็น (2543), สิ่งที่เคลื่อนไหว (2544) และอุทกภัยในดวงตา (2544) ซึ่งทั้ง 4 เรื่องนี้มีคนส่งผลงานของเขาเข้าประกวดรางวัลซีไรต์ ปี 2545 ทั้งสี่เรื่อง แต่เรื่องที่ได้เข้ารอบคือเรื่อง ‘ความน่าจะเป็น’ และเรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี 2545

          ‘ความน่าจะเป็น’ วรรณกรรมสร้างชื่อที่น่าจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนความคิดของคนรุ่นใหม่ เขาเป็นนักเขียนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่างสังเกตชีวิตและพฤติกรรมมนุษย์ วิพากษ์วิจารณ์สังคมและค่านิยมของยุคสมัย แล้วนำมาล้อเลียนเสียดสีด้วยอารมณ์ขันอย่างเฉียบคม

          ‘ปราบดา หยุ่น’ ได้รับรางวัลซีไรต์เมื่อมีอายุเพียง 29 ปี และความน่าจะเป็นยังได้รับรางวัลชมเชยประเภทหนังสือรวมเรื่องสั้น ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และเขายังได้รับรางวัลจากคณะกรรมการศิลปะและวัฒนธรรม จากการเขียนเรื่อง Where We Feel: A Tsunami Memoir by An Outsider อีกด้วย

ด้วยใจรักและมุมมองที่ถ่ายทอดผ่านงานเขียน ทำให้ ‘ปราบดา หยุ่น’ ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่า ผลงานของเขานั้นเป็นงานเขียนแบบใหม่ที่ทำให้วงการวรรณกรรมของไทยมีรสชาติและสร้างสีสันได้อย่างน่าสนใจ

ที่มา : wikipedia