Shortcut Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริงๆ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง นายแพทย์มาซากิ นิชิดะ พัฒนาตัวเอง เพิ่มศักยภาพในการทำงาน

Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริงๆ : สร้างสุขภาพจิตที่ดี เพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการพักผ่อน

Home / Editor Picks, สารพันหนังสือ / Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริงๆ : สร้างสุขภาพจิตที่ดี เพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการพักผ่อน

   

      เคยไหม เมื่อถึงวันหยุด แต่คุณกลับต้องทำงานต่อ เพราะหัวหน้าสั่งงานไว้ ลาไปทำธุระวันนึง แต่กลับรู้สึกผิด กระวนกระวายจนไม่กล้าจะไปทำอย่างอื่น เลิกงานแล้ว แต่ก็เหมือนไม่ได้พักเลย พอหัวหน้าสั่งงาน ก็คิดงานไม่ออก ไม่มีแรงที่จะทำงาน

      ประสิทธิภาพการทำงานของคุณแย่ลง จากปัญหาเหล่านี้ ลองหยุด “พักผ่อนแบบจริงๆ” จากการทำงานดูบ้าง แล้วหันมาสนใจตัวเอง หากิจกรรมทำผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นจากงานที่คุณทำอยู่ เหมือนที่หนังสือ “Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริงๆ” ได้บอกไว้ดูสิ

 

      เทคนิคการสร้างความ Balance ให้กับชีวิตการทำงานในหนังสือเล่มนี้มีเยอะแยะมากมาย เหมาะสำหรับคนที่กำลังหมดแรง หมดไฟ และเครียดในงานที่ทำอยู่

      เลือกหยิบมาใช้กันตามความเหมาะสมของแต่ละคน ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนความคิดทีละนิด แล้วคุณจะพบว่า ชีวิตการทำงานมันไม่ได้เครียดขนาดนั้นนี่นา

เทคนิกการพักผ่อนอย่างชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

      การมุ่งมั่นทำงานอย่างเดียว บางครั้งมันก็สร้างความกดดันให้กับตัวเอง และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือความเครียดสะสม จนทำให้งานไม่คืบหน้า เกิดความล่าช้า หรือผิดพลาดขึ้นได้ 

 

 

 

       ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในแต่ละวัน ไม่ใช่แค่เพียงทำงานให้เสร็จๆไป ละมือจากงานที่ทำอยู่ ให้เวลาสมองได้พักผ่อน ออกไปหาอะไรทานเล่น นั่งดื่มชาอุ่นๆ คุยกับเพื่อนร่วมงาน เดินออกจากโต๊ะทำงานซัก 15 นาที จะช่วยให้คุณได้ผ่อนคลายมากขึ้นกว่าเดิม

สลับโหมดสมองเพื่อได้พักผ่อนอย่างสบาย

      เชื่อว่าทุกคนมีโหมดต่างๆมากมายในการใช้ชีวิต ซึ่งจะแตกต่างกันที่การใช้งานในช่วงเวลาไหนบ้าง อย่างเช่น “โหมดทำงาน” ก็จะอยู่ในช่วงตั้งใจงาน มีความมุ่งมั่น จริงจัง “โหมดพักผ่อน” ก็จะมาในช่วงของเวลาเลิกงาน วันหยุดที่เราไม่ต้องทำงาน หรือไม่ต้องมีความเครียดอะไร และโหมดอื่นๆอีกมากมาย

      แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ หลายๆคน ไม่สามารถ “ปรับโหมด” ได้ เวลาไหนควรทำงาน เวลาไหนเหมาะสมกับการพักผ่อน จนบางครั้งก็เกิดความสับสนว่าเวลาไหนควรทำอะไรกันแน่

 

 

      เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นให้หมดไป คุณจะต้องฝึกการ “เปลี่ยนโหมดแบบรวดเร็ว” ในทุกๆวัน ค่อยๆ ตั้งสติ นึกให้ออกว่า เวลาไหน ควรจะทำอะไร ต่อมาจึงลดเวลาการคิดให้น้อยลงๆ

      หรืออีกวิธีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนโหมดได้ดีนั่นก็คือ การกำหนดเวลาให้กับตัวเอง หรือเดดไลน์ จินตนาการผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ร่างกายและความคิดจะรีบช่วยตอบสนองซึ่งกันและกันอย่างดี สามารถปรับเปลี่ยนโหมดได้แบบอัตโนมัตินั่นเอง

การงีบหลับ 15 นาทีช่วยให้ความจำใช้งานฟื้นคืนชีพได้

      เมื่อสมองเกิดความล้าระหว่างการทำงาน สิ่งที่คุณควรทำที่สุดเลยก็คือ งีบหลับ 15 นาที อย่าทนฝืนทำงานต่อไป เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้งานคืบหน้าแล้ว คุณยังหมดไฟในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อีกด้วย

 

 

ศัตรูตัวฉกาจของความจำใช้งานคือการนอนไม่พอ

“ความจำใช้งานจะทำงานในเวลาที่ต้องจัดการข้อมูลหลากหลายในเวลาเดียวกัน”

ขณะทำอะไรอยู่อย่างหนึ่ง แล้วคิดถึงเรื่องอื่นหรือทำสิ่งอื่นไปพร้อมกัน นี่คือหลักการของความจำใช้งาน

      เป็นที่รู้กันดีว่า “นอนไม่พอ” เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี สร้างผลเสียให้กับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคอ้วน ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคซึมเศร้า เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือแม้กระทั่งมีผลกระทบต่อระบบความจำ

      ในชีวิตประจำวันเราจะขาดความจำใช้งานไปไม่ได้เลย แต่เมื่อความจำใช้งานนั้นเกิดอาการรวน เกิดความเหนื่อยล้า ก็มีแต่จะสร้างผลเสียให้กับการทำงานของคุณ เสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในการทำงาน หรือความผิดพลาดอื่นๆ ที่ไม่คาดถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วิธีที่จะสามารถฟื้นฟูความจำที่เหนื่อยล้า ก็คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับในตอนกลางคืน หรือแม้กระทั่งการหยุดพักระหว่างทำงาน

 

 

ห้องให้คำปรึกษา

      ความจำใช้งานเป็นกุญแจสำคัญของการปรับปรุงประสิทธิภาพงาน

ยาที่ช่วยฟื้นฟูที่ดีที่สุดคือ “การนอนหลับ!”

  • เมื่อรู้สึกว่าคิดและตัดสินใจได้ช้าลง ให้งีบหลับซัก 15 นาที
  • ตระหนักเสมอว่า “การนอนไม่พอ เป็นต้นเหตุของความผิดพลาด”

 


 

 

คลิกเพื่อสั่งซื้อ
เขียน : นายแพทย์มาซากิ นิชิดะ
แปล : พนิดา กวยรักษา