mbookstore MThaiBook ดร. นนทพร อยู่มั่งมี ผศ.ดร. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำนักพิมพ์มติชน เสวยราชสมบัติกษัตรา เสวยราชสมบัติกษัตรา : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เสวยราชสมบัติกษัตรา : พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในประเทศไทย

Home / Editor Picks / เสวยราชสมบัติกษัตรา : พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในประเทศไทย

เสวยราชสมบัติกษัตรา : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

.


.

เสวยราชสมบัติกษัตรา : พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในประเทศไทย

ที่มาและความเชื่อของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

.


.

คติทางพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับความเชื่อเรื่องบุญ-กรรม และการสั่งสมบุญบารมีที่ส่งผลต่อการเดินภาพชาติของบุคคลต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อแนวคิดเรื่องการขึ้นครองราชสมบัติอันสะท้อนคุณลักษณะของบุคคลที่ถึงพร้อมด้วยบุญญาบารมีมากกว่าผู้ใดในแผ่นดิน

.

ส่วนทางศาสนาพราหมณ์ยังให้การยกย่องของผู้ที่เป็นพระมหากษัตริย์เสมือนเทพเจ้าที่เสด็จลงมาช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร ดังนั้น ธรรมเนียมของราชสำนักจึงแวดล้อมด้วยความเชื่อในการถวายพระเกียรติยศแด่องค์พระประมุขในลักษณะต่างๆ

.

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในไทยสันนิษฐานว่ารับรูปแบบมาจาก พิธีราชสูยะ ของอินเดีย ผู้ที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำหรือกษัตริย์ต้องผ่านการประกอบพิธี ๓ อย่าง คือ การอภิเษกหรืออินทราภิเษก การกระทำสัตย์ และการถวายราชสมบัติ

  .

 

 .

.


.

ความหมายของพระราชพิธิบรมราชาภิเษก

.

.

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วยคำ พระราชพิธี+บรม+ราช+อภิเษก ซึ่งมีคำสำคัญของพระราชพิธีนี้คือคำ “อภิเษก” หมายถึง “รดน้ำ” ดังปรากฎใน อักขราภิธานศรับท์  ของมอบรัดเลย์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ให้ความหมายคือ “อะภิเศก แปลว่า รดน้ำลงยิ่ง” ความหมายของคำว่า “อภิเษก” คือ “แต่งตั้งโดยการรดน้ำ เช่นพิธีนี้ขึ้นเสวยราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน”

.

น่าสังเกตว่ามีพิธีกรรมอื่นอีกเช่นกันที่สัมพันธ์กับการใช้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยอาจเกี่ยวกับความหมายของน้ำที่มนุษย์ใช้น้ำเพื่อการชำระล้างร่างกายให้สะอาด และเมื่อใช้น้ำประกอบพิธีกรรมยังเป็นไปเพื่อให้ผู้ประกอบพิธีมีความบริสุทธิ์ทั้งร่างกายและรวมถึงสถานภาพทางสังคม

.

นอกจากนี้คำ “อภิเษก” ซึ่งเป็นคำบอกกิริยาอาการหมายถึงการรดน้ำเมื่อนำคำนี้ไปสัมพันธ์กับพิธีที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งซึ่งมีการใช้น้ำเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีกรรมในราชสำนักอย่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 

.

จึงมีการบัญญัติให้คำอภิเษกเป็นคำราชาศัพท์ เช่น อภิเษกสมรส หมายถึงการแต่งงาน ซึ่งมีการรดน้ำในพิธีแต่งงานเช่นกัน

.

.


.

พระราชพิธีบรมราชาภิกเษกเบื้องต้น

.

                                                       

.

ภายหลังตระเตรียมสถานที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อถึงพระฤกษ์ที่กำหนดการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยในเบื้องต้นจะเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลในปริมณฑลพิธี โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ 

.

ทรงประกอบพระราชพิธีที่พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท และที่ห้องพระบรรทมในหมู่พระมหามณเฑียร ซึ่งประกอบไปด้วยการจุดเทียนนมัสการพระรัตนตรัย พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหามงคลซึ่งสอดด้วยด้ายสายสิญจน์ กับทั้งฟังพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ และเมื่อถึงเวลาเช้าวันรุ่งขึ้นจะเสด็จพระราชดำเนินมาถวายภัตตาหารเช้าเป็นสังฆทาน พระราชพิธีขั้นตอนดังกล่าวดำเนินต่อเนื่อง ๓ วัน ซึ่งโดยหลักจะเป็นการเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมและถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ การะประกอบพิธีลักษณะดังกล่าวในรัชกาลต่อมายังทรงถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติ

.

ต่อมาใน รัชกาลที่ ๙ มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนตามความเหมาะสม โดยลดวันประกอบพระราชพิธีในตอนเย็นเพียงวันเดียวก่อนหน้าวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยยังคงขั้นตอนของการ จุเทียนชัย การเจริญพระพุทธมนต์ และการจัดเครื่องบูชาพระมหาเศวตฉัตรและปูชนียสถานสำคัญในพระนคร

.

 


.

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันพระฤกษ์

.

.

หลังจากการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเบื้องต้นแล้ว เมื่อถึงวันตามกำหนดพระฤกษ์อันเหมาะสมจึงประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งมีการประกอบพระราชพิธีโดยลำดับ เริ่มจากการถวายน้ำพระมุรธาภิเษกที่มณฑปพระกระยาสนานการถวายน้ำอภิเษกบริเวณพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ และการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บริเวณพระที่นั่งภัทรบิฐ

.

เมื่อถึงวันพระฤกษ์ เวลาเช้าเริ่มด้วยการถวายน้ำพระมุรธาภิเษก โดยผู้ที่จะสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเด็จพระราชดำเนินมา ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณเพื่อจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทรงรับศีลจากสมเด็จพระสังฆราช แล้วเสด็จฯ ไปยังหอพระสุราลัยพิมานเพื่อผลัดฉลองพระองค์ทรงพระภูษาเศวตพัสตร์ขลิบทอง จนกระทั่งได้เวลาตามพระฤกษ์จึงเสด็จฯ มา ณ มณฑป พระกระยาสนานเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก 

.

 

.


.  

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลาย

.

.

ภายหลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีในส่วนสำคัญดังกล่าวแล้ว ในวันพระฤกษ์ยังมีการประกอบพระราชพิธีต่อเนื่อง ซึ่งตามโบราณราชประเพณีจะกระทำอีก ๒ ขั้นตอนก่อนสิ้นวันพระฤกษ์คือ การเสด็จออกมหาสมาคม และการเฉลิมพระราชสมัย ในบางรัชสมัยได้มีการเพิ่มเติมขั้นตอนของพระราชพิธีในส่วนนี้ ได้แก่ การถวายบังคมพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน การสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีและการประกาศพระองค์เป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกในพระบวรพุทธศาสนา

.

เสด็จออกมหาสมาคม

.

ขั้นตอนนี้กระทำภายหลังถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภคและพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งภัทรบิฐเสร็จสิ้นลง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ มาประทับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ซึ่งเป็นท้องพระโรงสำหรับทรงว่าราชการ ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์

.

บริเวณภายนอกจะมีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ขุนนางฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดจนบรรดาแขกบ้านแขกเมือง และทูตนุทูตคอยเข้าเฝ้า สำหรับบริเวณภายนอกพระที่นั่งนั้น เจ้าพนักงานตระเตรียมพระราชพาหนะ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราช

 

.


.

“ประมวลข้อมุลสำคัญที่น่ารู้และเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยตรงมาไว้ด้วยกันอย่างครบถ้วน เบื้องแรกตั้งแต่ความหมายและความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยได้อธิบายที่มาของพระราชพิธีดังกล่าว”

.

เสวยราชสมบัติกษัตรา

โดย ดร. นนทพร อยู่มั่งมี, ผศ.ดร. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ จากสำนักพิมพ์มติชน