Every Moment Was You Every Moment Was You ทุกช่วงคือเวลาของเรา Springbooks Taewan Ha ซีวอนอ่าน ทุกช่วงคือเวลาของเรา ไอรีนอ่าน

ทุกช่วงคือเวลาของเรา : กำลังใจแบบนี้ที่อยากส่งต่อ

Home / Editor Picks / ทุกช่วงคือเวลาของเรา : กำลังใจแบบนี้ที่อยากส่งต่อ

ทุกช่วงคือเวลาของเรา

.


.

ทุกช่วงคือเวลาของเรา : กำลังใจแบบนี้ที่อยากส่งต่อ

.


.

เมื่อชีวิตที่ถึงวันหมดไฟ กำลังใจหดหาย เราอยากได้กำลังใจแบบไหนจากคนอื่น? คำพูดปลอบประโลมช่วยทำให้ความห่อเหี่ยวในใจดีขึ้นในพริบตาหรือเปล่า? หรือมันดีขึ้นชั่วคราวแล้วสุดท้ายก็ดาวน์ลงเหมือนเดิม

.

บ่อยครั้งเหมือนกันที่เราสลับบทบาทกัน แล้วกลายเป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิตให้คนอื่นเองบ้าง ทั้งคำแนะนำ ทัศนคติด้านบวก หรือแม้แต่แนะนำวิธีการแก้ปัญหา สารพัดวิธีที่เราหามาประโลมใจให้อีกฝ่ายรู้สึกดี

.

แต่ไม่ว่าจะจบด้วยวิธีการใด เรามักตระหนักได้ในภายหลัง ว่าสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนั้นอาจไม่ใช่การพูดพ่นให้กำลังใจหรือแสดงความคิดเห็นที่ดีเด่นปัญหา หากแต่เป็นการนิ่งเงียบและรับฟังอย่างไม่ตัดสินต่างหาก

.

ทุกช่วงคือเวลาของเรา

.

เมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสได้อ่าน  ‘Every Moment Was You ทุกช่วงคือเวลาของเรา’ หนังสือความเรียงเล่มหนึ่งของเกาหลีที่ Springbooks หยิบมาแปลเป็นฉบับภาษาไทย เนื้อหาเป็นเรื่องสามัญประจำชีวิตที่คล้ายคลึงกับหนังสือให้กำลังใจเล่มอื่นในชั้นวางเดียวกัน สุข เศร้า เหงา เหนื่อย เรื่อยมาจนจบเล่ม

.

แต่สิ่งที่ต่างและประทับใจ คือวิธีการนำเสนอเรื่องราวของ ‘Ha Tae Wan’ ที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ดูไม่เหมือนหนังสือให้กำลังใจเล่มไหน ๆ

.

แม้เป็นการเล่าประสบการณ์ที่ตัวเองพบเจอมาตลอดเล่ม แต่ก็ไม่ได้ใช้ความส่วนตัวนั้นตัดสินความเบาบางหรือหนักหนาในปัญหาของผู้อื่น ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้สึกเหมือนคนเขียนเป็นเพื่อนคนหนึ่งที่ถามไถ่ทุกข์สุขหรือนั่งจับเข่าคุยกันมากกว่า

.

วันนี้ฉันเจอมาแบบนี้ แล้วคุณล่ะเจอแบบไหนมาบ้าง?

.

นี่แหละคือกำลังใจแบบที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ไม่จำเป็นต้องยัดเยียดทัศนคติด้านบวกจนล้นเล่ม ผลัดกันแชร์สุขทุกข์ คั่วรวมกับทุกรสของชีวิต ซึ่งรวม ๆ แล้วไม่สมบูรณ์แบบแต่ไม่สร้างผลลัพธ์ร้ายแรงภายหลัง

.


.

ทัศนคติด้านบวก ทำไมผลลัพธ์ถึงไม่เป็นบวกเสมอ?

.

Karyn Hall ผู้สร้างเว็บไซต์ DBTcoaching.com และนักเขียนหนังสือ The Emotionally Sensitive Person กล่าวว่า :

“ ผู้คนเกี่ยวข้องกันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงความรู้สึกต้องการกำลังใจก็เช่นกัน เราสามารถตอบสนองสิ่งนี้ด้วยคำพูดและการกระทำที่ไม่ทำให้รู้สึกถูกควบคุมเกินทนหรือเพิกเฉยเกินไป ซึ่งความยากง่ายขึ้นอยู่กับระดับความใกล้ชิดในความสัมพันธ์ และความเปราะบางในใจเราเอง “

.

ทุกช่วงคือเวลาของเรา

.

นักวิจัยบางกลุ่มยังพบอีกว่า การพูดให้กำลังใจสร้างผลกระทบต่อจิตใจคนฟังในทางลบได้ เช่น รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ, อับอายที่แก้ไขปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้ รวมถึงรู้สึกอ่อนแอและไร้ความสามารถ อีกทั้งความรู้สึกไม่ดีนี้ยังส่งผลกระทบต่อผู้ให้กำลังใจอย่างชัดเจน เช่น คล้อยตามในความล้มเหลว มีความสุขน้อยลงเพราะรับความขุ่นมัวมาใส่ใจ รวมถึงสร้างความรู้สึกไม่ดีในความสัมพันธ์

.

บ่อยครั้งที่เราผลักดันให้คนที่กำลังรู้สึกแย่และล้มเหลวในชีวิตมองโลกในแง่ดีเร็วเกินไป พยายามยัดเยียดคำแนะนำที่ไม่เหมาะสมที่พวกเขาเองก็ไม่ได้ต้องการมันเลยสักนิด ซึ่งในความจริง การรับรู้และเรียนรู้ประสบการณ์ที่อยู่ภายในจิตใจของพวกเขาต่างหาก คือที่เราควรทำความเข้าใจและยอมรับ ก่อนที่จะให้กำลังใจด้วยซ้ำ อาจด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น อยู่ข้าง ๆ  รับฟังปัญหาอย่างแท้จริง หรือค่อยเตือนสติในวันที่พวกเขาขาดสติ

.

ซึ่งหากคุณตอบสนองอารมณ์เหล่านี้ได้อย่างสมเหตุสมผล ระดับความขุ่นหมองข้องใจที่มีจะลดลง ส่งผลให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นและมองเห็นหรือคิดอะไรได้มากขึ้น

.


.

ฟังดูแล้วการให้กำลังใจใครสักคนไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากมองให้ลึกถึงรากความหม่นเศร้าที่ฝังอยู่ในใจ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด

.

ทุกช่วงคือเวลาของเรา

.

พลังบวกที่ผลลัพธ์ไม่บวก

.

บ่อยครั้งที่พลังทางบวกหรือทัศนคติที่ดีถูกหยิบยกมาช่วยแก้ปัญหา แต่สิ่งนี้เองอาจเป็นการตอกย้ำความพ่ายแพ้ให้เพิ่มทวีคูณ – เช่น คำว่า ‘ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็เจออะไรที่ดีกว่า’  ‘ไม่ต้องกังวลหรอก คุณยอดเยี่ยมมาก’ – ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นสายรุ้งหลังฝนตกหนัก เช่นเดียวกับคนที่มีความนับถือตนเองต่ำ (Low Self-esteem)

.

Denise Marigold ผู้ช่วยศาสตรจารย์ด้านจิตวิทยา ที่ Renison University College กล่าวว่า :

“ ทุกคนมีอคติในสิ่งที่คนอื่นมองเห็นเกี่ยวกับตัวเราเสมอเมื่อมันขัดแย้งจากสิ่งที่เรามองเห็นตัวเอง ”

.

อ้างอิงจาก ‘ทฤษฎีการตรวจสอบตัวเอง’ คนที่มีความนับถือในตัวเองต่ำมักมีมุมมองต่อโลกในแง่ร้ายเป็นทุนเดิม เมื่อมี ‘ความรู้สึกไม่ดี’ มาเป็นแรงกระตุ้น ทำให้มีโอกาสที่จะมองโลกแง่ร้ายและปิดกั้นตัวเองมากขึ้นไปอีก ฉะนั้นเมื่อได้ยินคำปลอบประโลมแง่บวก เช่น ‘ไม่เป็นไร ครั้งหน้าคุณจะทำได้ดีกว่านี้’ พวกเขาเลยรู้สึกว่าผู้ฟังไม่ได้ใส่ใจเขาอย่างที่หวังอีกทั้งยังพูดจาปลอบใจแบบขอไปทีอีก

.

ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง เออออหรือเห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูดทุกประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขากำลังบอกว่า ตัวเองโง่เง่า ไร้ค่า รวมถึงข้อบกพร่องอื่น ๆ ที่โทษตัวเอง สิ่งที่เราควรทำอย่างยิ่งคือการรับฟังเพื่อให้เขาถ่ายทอดความคับข้องใจออกมาให้หมด ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล

.

Marigold ยังแนะนำ 3 แก่นสำคัญของการกู้คืนรอยยิ้มจากความขุ่นหมองนี้ด้วย ได้แก่ ♥ การมีส่วนร่วมในการรับฟัง ฟังอย่างตั้งใจ ♥ ความสนใจเนื้อหาทางอารมณ์ในสิ่งที่พวกเขาพูด เข้าใจโดยไม่ตัดสิน ♥ ตีความสิ่งที่พวกเขาพูดเสมอ เข้าถึงสิ่งที่พวกเขารู้สึกอย่างลึกซึ้ง

.

ทุกช่วงคือเวลาของเรา

.

เช่นประโยคนี้ :

“ ฟังดูแล้วมันน่าผิดหวังมากจริง ๆ คุณคงรู้สึกแย่มาก แต่สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่คุณเลยไม่ใช่หรอ? ”

อาจไม่ใช่หนทางวิเศษในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่อย่างน้อยก็ทำให้พวกเขารู้สึกว่ายังมีคนที่รับฟังพวกเขาอย่างตั้งใจอยู่

.


.

พยายามอย่าเสนอแนะคำแนะนำที่ไม่พึงประสงค์

.

คงไม่ได้มีใครจงใจแนะนำสิ่งที่แย่ให้คนที่มืดแปดด้านหรือเผชิญหน้ากับปัญหาชีวิตอยู่หรอก แต่หลายครั้งเมื่อเราแนะนำ ‘สิ่งที่คิดว่ายอดเยี่ยม’ ออกไป มันอาจไม่ได้ช่วยอะไรแถมทำให้เรื่องแย่ไปกว่าเดิม

.

Marigold กล่าวว่า :

“ ผู้คนส่วนใหญ่ที่พบเจอกับปัญหา รู้อยู่แล้วว่าตัวเองต้องการหรือไม่ต้องการอะไร การที่พวกเขาเข้าหาคุณ ไม่ใช่ว่าพวกเขาต้องการให้คุณแก้ปัญหาให้ เขาแค่อยากได้คนรับฟังและดูแลเท่านั้นเอง”

.

ดังนั้นถ้าไม่มีใครขอคำแนะนำก็อย่าเสียมารยาทไปให้คำแนะนำ แค่ฟังอย่างตั้งใจและทำความเข้าใจกับมันโดยไม่ชี้นำหรือควบคุมสถานการณ์ เช่น เลี่ยงการใช้คำพูดว่า ‘ลองทำแบบนี้สิ’ แต่ให้ใช้คำว่า ‘แล้วเกิดอะไรขึ้น’ ‘เป็นอย่างไรบ้าง’ แทน เป็นต้น

.

ทุกช่วงคือเวลาของเรา

.

เกินความสามารถ ต้องพึ่งมือผู้เชี่ยวชาญ

.

บางปัญหาอาจใหญ่โตเกินกว่าเราจะให้คำแนะนำได้ หรือเราเองก็ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการปัญหาที่วุ่นวายขนาดนี้ได้ จนบางครั้งนำสู่สถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ในกรณีนี้อาจต้องยืมมือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือ

.

ข้อระวังคืออย่าแนะนำด้วยความเห็นอกเห็นใจเพียงอย่างเดียว แต่ให้แนะนำด้วยคำพูดที่เป็นเหตุเป็นผลด้วย เช่น

“ พอฟังปัญหาของเธอแล้ว ฉันเองก็รู้สึกเจ็บปวด ฉันอยู่ที่นี่เพื่อเธอและหวังว่าจะช่วยเหลืออะไรเธอได้ แต่ฉันคิดว่ามันเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ถ้าหากมีคนที่เชี่ยวชาญปัญหานี้มากกว่าฉันเข้ามาช่วยให้เธอพ้นจากปัญหานี้ได้เร็วที่สุด เธอคิดเหมือนกันไหม? ”

.

 คุณไม่ได้สู้กับปัญหานี้อยู่คนเดียว

.

เมื่อเพื่อนของคุณเล่าปัญหาของตัวเองให้ฟัง คุณอาจลองเล่าปัญหาของคุณที่คล้ายกันให้เขาฟังดูบ้าง การเปิดใจต่อกันมักช่วยทลายกำแพงความโดดเดี่ยวให้ดูไม่สูงจนเกินไป

.

หลายสิ่งที่ดูย่ำแย่มักเกิดขึ้นจากความคิด การฟังเรื่องราวที่เลวร้ายคล้ายกันแต่ผ่านมาได้ด้วยดี สามารถช่วยให้เขารู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่าจะรับมือกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นได้

.

ไม่มีใครในโลกสมบูรณ์แบบ แม้แต่คนที่เราคิดว่าสมบูรณ์แบบที่สุดในโลกก็ยังมีข้อผิดพลาด แทนที่จะพยายามแก้ไขปัญหาของคนอื่นด้วยวิธีที่มีประโยชน์ที่สุดในโลก เราควรเป็นผู้ฟังที่ดีที่อาจไม่สมบูรณ์แบบ แต่ใส่ใจอย่างจริงใจ และมั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่หนีไปไหนแน่นอน

.


.

แนะนำหนังสือ

Every Moment Was You ทุกช่วงคือเวลาของเรา

Taewan Ha

.

.

อยากพบคนที่ทำให้ฉันสบายใจ คนที่แค่อยู่ใกล้ก็มอบพลังเยียวยาและปลอบโยนแรงกล้า คนที่แค่นั่งมุมหนึ่งด้วยกันในร้านกาแฟใกล้บ้านซึ่งเรืองรองด้วยแสงแดด ตอนบ่ายสุดสัปดาห์ พูดคุยสัพเพเหระ หัวเราะด้วยกันนานหลายชั่วโมง

.

แม้ไม่มีเรื่องพิเศษอื่นก็เติมเต็มช่วงเวลาเหล่านั้นได้ด้วยความอบอุ่น อยากพบคนแบบนั้นจัง คนที่เต็มใจมอบอ้อมกอดอุ่นยามฉันล้มลงหรือสับสน คนที่ผัดเรื่องตนเป็นรอง พร้อมจ้องมองฉันแน่วแน่ “ไม่ว่าจะเกิดอะไร ฉันจะอยู่ข้างเธอ”

.

ทำไมต้องอ่านเล่มนี้?

  • หนังสือจิตวิทยา-ให้กำลังใจ ติดอันดับขายดีในเกาหลี
  • ไอดอลเกาหลีอ่านถึง 2 คน ซีวอน และ ไอรีน

คลิกเพื่อสั่งซื้อหนังสือ

.