Christopher Voss FBI ต่อยังไงไม่ให้เป็นรอง มนุษย์เงินเดือน เจรจาต่อรอง เอฟบีไอ

ต่อให้ยังไงไม่ให้เป็นรอง เปิด 5 ทริกเด็ดการต่อรองฉบับมนุษย์เงินเดือน

Home / Book Tips, Editor Talk / ต่อให้ยังไงไม่ให้เป็นรอง เปิด 5 ทริกเด็ดการต่อรองฉบับมนุษย์เงินเดือน

ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน เป็นใครบนโลกใบนี้การเจรจาต่อรอง ถือเป็นศิลปะและหลักจิตวิทยาที่เราทุกคนควรมี อย่างน้อยๆ ก็เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ดังเช่นที่หนังสือ “ต่อยังไงไม่ให้เป็นรอง” ที่เขียนโดยคริส วอสส์ ( Christopher Voss) เจ้าหน้าที่เจรจาต่อรองตัวประกันของเอฟบีไอ ที่สั่งสมประสบการณ์มายาวนานกว่า 20 ปี เขาได้รวบรวมวิธีเจรจาต่อรองที่กลั่นกรอง ผ่านการวิเคราะห์ ทดลองใช้จริงมาจนออกมาเป็นหนังสือที่อ่านสนุกเล่มนี้

แฟนหนังสือคนไหนที่สนใจสามารถอ่านรีวิว “ต่อยังไงไม่ให้เป็นรอง” ได้ที่ ต่อยังไงไม่ให้เป็นรอง เทคนิคเจรจาต่อรองแบบ FBI ที่ใช้ในชีวิตจริงได้

แต่ในการทำงานการเป็นนักเจรจาต่อรองที่ดีนั้นต้องมีคุณสมบัติหลายๆ ข้อซึ่งสามารถสรุปย่อมาเป็นทริกสั้นๆ ให้ผู้อ่านที่ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็นำไปปรับใช้กันได้ง่ายๆด้วย ดังนี้

  1. พูดความต้องการออกไปดีกว่านิ่งเงียบ

ไม่ว่าความต้องการของคุณคืออะไรหากคุณนิ่งเงียบก็เท่ากับโอกาสเป็นศูนย์แต่หากว่าคุณพูดมันออกไปมันอาจทำให้คุณประหม่าไปบ้างแต่มันก็คุ้มค่า ดังเช่นที่นักฮอกกี้ชาวแคนาดาชื่อดัง Wayne Gretzky เคยกล่าวคำคมไว้ว่า “You miss 100 percent of the shots you don’t take.” (คุณจะพลาดโอกาสการ 100 % แน่ๆ หากคุณไม่ลงมือทำอะไรเลย) สมมุติว่าคุณต้องการเพิ่มเงินเดือนหรือวันหยุดพักร้อน แต่คุณไม่กล้าพูด ไม่กล้าเริ่มต่อรอง โอกาสของคุณก็จะหมดไปโดยที่คุณยังไม่เริ่มทำอะไรเลย จงจำไว้ว่าพูดออกไปดีกว่านิ่งเงียบ

  1. ต่อรองอย่างสมเหตุสมผลที่ 2 ฝ่ายต่างรับได้

แม้การขอมากกว่าความต้องการจะทำให้คุณดูฉลาดแต่….อย่าขอในสิ่งที่มากกว่าความเป็นไปได้ นั่นหมายถึงความต้องการนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานที่คู่เจรจายอมรับได้ อย่างเช่น กรณีที่คุณต้องการเพิ่มเงินเดือน คุณก็ต้องทราบงบประมาณรวมของทีมหรือบริษัทอยู่แล้ว ดังนั้นต้องต่อรองอย่างสมเหตุสมผล หากคุณอยากได้วันหยุดพักร้อนเพิ่ม คุณก็ต้องต่อรองให้เหมาะควร คงไม่ใช่การขอวันหยุด 2 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีบริษัทไหนให้คุณได้

  1. รู้ให้ลึกรู้ให้จริงก่อนการร้องขอ

การเจรจาขออะไรสักอย่างเพิ่ม นั้นหมายถึงความรับผิดชอบ หน้าที่ ภาระที่เพิ่มขึ้น คุณต้องทำความเข้าใจและรู้จักขีดความสามารถของตัวเอง และมั่นใจว่าคุณจะรับผิดชอบภาระงานที่มากขึ้นตามข้อเสนอของตัวเอง หากไม่เป็นเช่นนั้นตัวคุณเองจะต้องเดือดร้อนเองตั้งเป้าหมายไว้เสมอว่าคุณและทีมต้องได้สิ่งที่ดีที่สุด

     4. จุดมุ่งหมายในการต่อรองนั้นต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดเพื่อทีม

แม้ว่าคุณจะต่อรองเพื่อสิ่งที่คุณต้องการ แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องจำไว้ก็คือทุกคนในทีมต้องคิดเห็นไปในทางเดียวกัน จุดมุ่งหมายในการต่อรองของคุณต้องเป็นไปเพื่อทุกคน เพราะหากมีใครสักคนในทีมไม่เห็นด้วยข้อเสนอของคุณอาจพังทลายลงไปเลยก็ได้

    5. ไม่ว่าชีวิตส่วนตัวหรือเรื่องงานทุกจังหวะมีการต่อรองเสมอ

ชีวิตนี้ทั้งชีวิตคุณหลีกเลี่ยงการต่อรองไม่ได้ ในการทำงานคุณอาจต่อรองเพื่อให้ได้สิ่งที่คุณต้องการ เด็กก็ต้องเรียนรู้การต่อรองกับพ่อแม่เพื่อขอของที่อยากได้ วัยรุ่นอาจจะต้องเรียนรู้การต่อรองกับรูมเมท ตอนจะแต่งงานก็ต้องเจรจาต่อรองกับแฟนของคุณ หรือในฐานะพ่อแม่คุณก็ต้องเรียนรู้วิธีต่อรองกับลูกๆ ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการต่อรองที่ดีจะช่วยให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น

หากคุณอยากฝึกฝนทักษะการต่อรอง หนังสือ “ต่อยังไงไม่ให้เป็นรอง” จะช่วยเปิดโลกการต่อรองได้อย่างแน่นอน แม้ว่าจะเขียนโดยเขจ้าหน้าที่ FBI แต่รับรองได้ว่ามันย่อยง่ายและประยุกต์ใช้ได้ทันที อ่านแล้วลองทำตามดู แล้วคุณจะรู้ว่า “ต่อยังไงไม่ให้เป็นรอง” นั้นง่ายนิดเดียว

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก https://www.success.com/5-things-all-successful-negotiators-know/