กนกวลี งานเขียน นวนิยาย ปราปต์ ภาพยนตร์ รอมแพง ละครดัง สร้างละคร เทคนิคนักเขียน

เทคนิคนักเขียน | งานเขียนแบบไหนที่ไต่ไปสู่ละครดังได้

Home / Book Tips / เทคนิคนักเขียน | งานเขียนแบบไหนที่ไต่ไปสู่ละครดังได้

เทคนิคนักเขียน | งานเขียนแบบไหนที่ไต่ไปสู่ละครดังได้

เทคนิคนักเขียน | ใครก็เขียนหนังสือได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเขียนได้ดีจนถูกนำไปทำละคร-ภาพยนตร์ที่โด่งดังได้ หากพูดตามเทคนิคทั่วไป คุณสมบัติที่นักเขียนพึ่งมีคล้าย ๆ กัน มีอยู่ 6 ข้อ ดังนี้

เทคนิคนักเขียน(1) รักที่จะอ่าน

จะเขียนหนังสือได้ดี ก็ต้องเป็นนักอ่านที่ดีด้วย ถือว่าเรื่องปกติของนักเขียนส่วนใหญ่ ที่ชอบเก็บเล็กผสมน้อยจากการอ่านหนังสือที่อยู่ในความสนใจ ค่อย ๆ สะสมคลังคำศัพท์เอาไว้ให้ได้มากที่สุด  เพราะแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะเริ่มเขียนอะไรดี ๆ ออกมาโดยที่คุณไม่มีข้อมูลอะไรอยู่ในหัวเลย

 

(2) แก้ไขเพื่อสมบูรณ์แบบ

ใครบอกยิ่งแก้ยิ่งแย่? แต่ไม่ใช่กับงานเขียน เพราะนักเขียนที่ดีมักชอบใจในคำวิจารณ์เสมอ เพราะคำวิจารณ์เหล่านี้ หากรู้คุณค่าและนำมาปรับใช้ในทางที่ดี (ทางที่ไม่บั่นทอนจิตใจตัวเอง) ก็จะสามารถพัฒนางานเขียนชิ้นนั้นให้สมบูรณ์แบบที่สุด

 

(3) ผสมผสานไอเดีย

ไอเดียคือตัวขับเคลื่อนหลักในการผลิตบทความและงานเขียน ไม่แปลกที่นักเขียนส่วนใหญ่ชอบตามหาไอเดียในที่ต่าง ๆ ทั้งจากการอ่าน, ท่องเที่ยว, ฟังเพลง หรือแม้กระทั่งออกไปพบเจอคนใหม่ ๆ เมื่อไอเดียเหล่านั้นมีมากพอ มันสามารถที่จะต่อยอดเป็นงานเขียนที่ดีได้

 

(4) เขียนทุกวัน

ไม่ใช่ทุกครั้งที่เขียนแล้วจะออกมาเป็นงานที่ดีหรอกนะ แต่การบังคับให้ตัวเองเขียนทุกวัน หมายถึงคุณได้ฝึกปรือฝีมือของตัวเองไปด้วย ซึ่งมันค่อนข้างเป็นส่วนประกอบสำคัญของการเป็นนักเขียน

 

(5) กล้าที่จะตัด

นี่คืออีกส่วนสำคัญของงานเขียน เพราะเมื่อคุณดื่มด่ำกับสิ่งที่ตัวเองเขียนนาน ๆ  อาจมีภาวะออกนอกใจความสำคัญหรือเวิ่นเว้อเกินสิ่งที่อยู่ในกรอบเรื่อง  สิ่งที่ควรทำคือ กล้าที่จะตัด ตัดทิ้งสิ่งที่คุณเขียนคิดออกไปบ้าง เหมือนกับที่ Stephen Kings กล่าวเอาไว้ว่า “จงฆ่าตัวละครที่รักของคุณเสีย” …เพราะถึงแม้คุณจะรักมันมาก แต่บางครั้งมันก็ไม่ได้จำเป็นอะไรกับงานเขียนของคุณเลย

 

(6) อย่าหยุดอยู่กับที่

อย่าคิดว่าตัวเองทำดีแล้ว เพราะนักเขียนที่ดีจะต้องกระตือรือร้นและมีคลังข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ การเขียนแนวเดิม ๆ หรือเรื่องเดิม ๆ ที่เคยทำได้ดี ไม่ได้แปลว่ามันดีพอจะดึงดูดนักอ่านเอาแต่ใจในแต่ละยุคสมัยได้อยู่หมัด คุณจำเป็นต้องหาแรงบันดาลใจที่เป็นเหมือนกับลมหายใจของงานเขียนเสมอ …ยิ่งสดใหม่กว่าใคร ยิ่งดี

 

นี่เป็น สูตรสำเร็จพื้นฐานทั่ว ๆ ไป ที่นักเขียนใช้ผลิตงานเขียน แต่ในอีกมุมของ นักเขียนที่สามารถผลิตงานเขียนออกมาจนสามารถนำไปสร้างละคร-ภาพยนตร์ได้ คงไม่ธรรมดาแน่

เทคนิคนักเขียน

ยุคนี้เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ จากระบบหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเป็นดิจิตอล เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เปิดใจว่าเราจะต้องพัฒนางานเขียนของเราอย่างไร ให้เห็นกระทั่งความแตกต่างของงานเขียนด้วยว่างานเขียนไม่ได้มีแบบเดียว เช่นเดียวกับคนอ่านก็มีหลายแบบ การเปิดใจสำคัญที่สุด เพราะทำให้งานของเรานั้นมีคุณค่ามีความหมาย เราเองก็จะมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานใหม่ๆเสมอขึ้นมา แล้วพลังของวรรณกรรมที่ส่งต่อไปถึงคนอ่านได้อย่างมากมายมหาศาลก็จะเกิดขึ้นมาเองค่ะ – กนกวลี พจนปกรณ์  ผู้เขียนหนังสือ  “ยิ่งฟ้ามหานที”

เทคนิคนักเขียน

ตอนเขียนบุพเพสันนิวาสทำการบ้านหนักมาก นอกจากจะค้นข้อมูลจากหอสมุดแห่งชาติและหอสมุดม.ศิลปากรที่แล้ว ยังไปพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพที่เราจะเขียน เขียนเป็นพล็อตนิยายอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งจะพูดว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่แท้จริงก็ไม่ใช่ เพราะว่าไม่มีใครรู้ว่าประวัติศาสตร์ที่เขียนมาอันไหนแท้ อันไหนจริงมากน้อยแค่ไหน แต่ก็พยายามจับประเด็นที่เข้ากับในเรื่องของเรามากที่สุดแล้วก็สอดแทรกร้อยไปให้เนียนไป ซึ่งความยากในการทำงานคือการตรวจสอบข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพราะในยุคสมัยนั้นมีกระแสของประวัติศาสตร์หลายกระแสมาก เราจะไม่ตัดสินว่าตัวละครในประวัติศาสตร์ตัวนี้ดีหรือไม่ดี แต่เป็นการเหมือนเล่าให้ฟังว่าเคยเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นกับคนๆนี้ในบันทึกของเล่มนี้ แล้วมีเหตุการณ์ของคนๆนี้ในบันทึกอีกเล่มหนึ่ง โดยใช้ตัวเกษสุรางค์เป็นคนมอง เป็นการสร้างความสมดุลเพื่อให้คนอ่านได้ฉุกคิดถึงความแตกต่างและไปศึกษาต่อด้วยตัวเอง – จันทร์ยวีร์ สมปรีดา หรือ “รอมแพง”  ผู้เขียนหนังสือ  “บุพเพสันนิวาส”

เทคนิคนักเขียน

คำว่านักเขียนไทยไส้แห้งยังเป็นเรื่องจริง โดยเฉพาะคนที่เป็นนักเขียนเต็มเวลา การเขียนงานได้ดีจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างไม่ใช่แค่นั่งคิดก็จะสามารถนั่งเขียนออกมาได้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการที่มีรางวัล มีเงินรางวัลมาสนับสนุนทำให้คนที่ตั้งใจทำงานดี ๆ มีกำลังใจที่จะทำงาน มีแรงที่จะสร้างงานดี ๆ ออกมาอีกครับ ความยากในการเขียนเรื่องกาหลมหรทึกนี้ คือการศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ช่วงประมาณปี 2486 และความรู้เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนของตำรวจ แต่ความยากเหล่านี้ก็กลายเป็นความสนุกของเราที่ต้องค้นคว้า แล้วนำเหตุการณ์ที่วางไว้มาเชื่อมกับโคลงกลบท ซึ่งจริง ๆ ผมเขียนงานหลายแนวมากและพล็อตก็จะไม่ใกล้เคียงกัน อนาคตที่วางไว้ผมมองแค่ว่าเราอยากเป็นคนเขียนหนังสือที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเขียน ซึ่งเทคนิคในการเขียนของผมมีเพียงอย่างเดียวเลย คือต้องรู้สึกกับสิ่งเขียนก่อน ถ้าเรารู้สึกว่างานที่เราเขียนสนุก ผมว่าคนอ่านก็จะสนุกกับเราไปด้วย – ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ หรือ “ปราปต์” ผู้เขียนหนังสือ “กาหลมหรทึก”

 

เทคนิคนักเขียน
How to Be a Good Writer (If There Is Such a Thing) | 22 ข้อ สู่การเป็นนักเขียนที่ดี โดย STEPHEN KING | “จากนวนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดสู่ละครดัง” ปัง! ด้วยเทคนิคการเขียน

เทคนิคนักเขียน

MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

เทคนิคนักเขียน

เทคนิคนักเขียน