Burnout Her Publishing ซึมเศร้า ภาวะหมดไฟ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หมดไฟ เรื่องสั้น แรงบันดาลใจ แรงบันไดจารย์

Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ เมื่อแรงบันดาลใจหดหาย เบื่อหน่าย ไร้เรี่ยวแรง

Home / สารพันหนังสือ / Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟ เมื่อแรงบันดาลใจหดหาย เบื่อหน่าย ไร้เรี่ยวแรง

หลังจากที่เอเอฟพี มีรายงานว่า องค์การอนามัยโลก ได้เปิดเผยว่าขณะนี้ได้มีมติขึ้นทะเบียนโรคใหม่ในบัญชี International Classification of Diseases ซึ่งจะเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคที่ตรงกันทั่วโลกนั้น โรคที่สร้างความสนใจให้กับชาวออนไลน์เป็นอย่างมากในขณะนี้คือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ( Burnout ) โดยมีเผยแพร่ว่า องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียน โรคภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษา โดยเรื่องนี้ นายแพทย์อุเทน บุญอรณะ เจ้าของเพจหมอตุ๊ด ได้ออกมาให้ความรู้ที่ถูกต้อง ที่จริงแล้ว Who ไม่ได้กำหนดให้ ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นโรคอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ  burnout นั้น เป็นภาวะที่คุกคามสุขภาวะ เท่านั้นเอง

ภาวะหมดไฟ กำลังเกาะกินคุณอยู่หรือเปล่า?

ภาวะหมดไฟ หนึ่งในสัญญาณอันตรายที่ไม่ว่าใครก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับคนที่ประสบสำเร็จสูงสุดในชีวิตที่คิดว่าตัวเองสามารถทำได้ทุกสิ่งอย่างแต่ไร้ซึ่งความสุขในการทำสิ่งใด ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนเหล่านี้มักหลงไหลในสิ่งเดิม ทำซ้ำไปซ้ำมาในเวลานาน ๆ ดำเนินชีวิตไปด้วยความตึงเครียดจะทำให้บุคคลนั้นรู้สึกว่าตัวเองหมดแรง ว่างเปล่า ไร้กำลังใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถรับมือได้ และส่งผลให้ก่อเกิดความวิตกในใจ จนนำไปสู่ ภาวะหมดไฟ ในที่สุด

เมื่อแรงบันดาลใจหดหาย เบื่อหน่าย ไร้เรี่ยวแรง นี่คือสัญญาณของ ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)

ภาวะหมดไฟ

เมื่อโลกความจริงไม่มีงานในฝัน มันมีแต่การตกหลุมรักงานที่เราทำอยู่ให้ได้ มันไม่มีงานที่ดีพร้อมไปหมด เอาแค่งานที่มันไม่ได้กัดกินตัวเราให้ตสยไปทั้งที่มีชีวิตอยู่ ก็พอแล้ว – คำชวนคิดจาก หนังสือ แรง บันได จารย์

“หมดไฟ” ภาวะอันตรายที่นำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง

แม้ผู้เชี่ยวชาญและแพทย์จะระบุว่า ภาวะ “หมดไฟ” ไม่ใช่โรค มันคือสภาวะทางจิตที่ผิดปกติและแก้ไขได้ อันเป็นภาวะที่บุคคลสะสมความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เอาไว้มากเกินไปและไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม ซึ่งภาวะนี้สามารถนำไปสู่อาการต่าง ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า, และการเจ็บป่วยทางกายภาพ

ภาวะหมดไฟ

บางคนลาออกจากงานที่ดูผิวเผินช่างสวยหรู ทั้งที่เงินเดือนสูง, ตำแหน่งใหญ่โต แต่ลึก ๆ แล้ว เขาพบว่า งานที่เขาทำอยู่ ทำให้เขาเป็นคนแบบที่เขาไม่อยากเป็น – คำชวนคิดจาก หนังสือ แรง บันได จารย์

ส่งสัญญาณให้รู้ ว่าฉันกำลังเบื่อหน่าย

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเริ่มมีอาการเหนื่อยหน่ายคล้ายหมดไฟ แรงบันดาลใจหด อาการเหล่านี้จะแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล แต่มักจะแสดงอาการอาการออกมาอย่างต่อเนื่องและซ้ำ ๆ หากคุณกำลังมีอาการดังกล่าว มักจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รวมไปถึงการใช้ชีวิตไม่ปกติสุขอย่างเคย อย่างไรก็ตามภาวะ “หมดไฟ” นี้ไม่ใช่อยู่ดี ๆ ตื่นขึ้นมา แล้วจะ “หมดไฟ” เลย เพราะภาวะดังกล่าวจะค่อย ๆ ทำตัวร้ายกาจขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมันแทรกซึมเข้ามาในจิตใจและร่างกายของเรามากพอ ซึ่งกว่าจะรู้ตัว บางครั้งก็สายไปเสียแล้ว

เสพติดความเครียด เสียจนกายและใจพากันประท้วง

ภาวะหมดไฟ

เช็คดูให้ดี! เพราะอาการเหล่านี้คือ “สัญญาณของคนหมดไฟ” ที่เสพติดความเครียดจนกระทั่งกายและใจบาดเจ็บ


เหนื่อยเรื้อรัง

ในช่วงเริ่มต้นคุณอาจรู้สึกขาดพลัง ทำไมวันนี้รู้สึกเหมือนจะเหนื่อยผิดปกติ ไร้แรงบันดาลใจจะทำอะไร รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่มันบั่นทอนจิตใจจนนำไปสู่ความหวาดกลัวกับสิ่งที่ทำอยู่

อยู่ดี ๆ ก็มีเรื่องราวให้นอนไม่หลับ
แม้จะรู้สึกเหนื่อยจะขาดใจ แต่กลับนอนไม่กลับ อาจเกิดขึ้น 1 – 2 คืนต่อสัปดาห์ในช่วงแรก จนกระทั่งอาการนอนไม่หลับนี้อาจเกิดถี่ขึ้นจนทำให้คุณไม่สามารถนอนได้อีกเลย

หลุดโฟกัส ความสนใจหล่นหาย
อาการหลุดโฟกัส, หลง ๆ ลืม ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการเริ่มต้นของภาวะ “หมดไฟ” และอาการก่อปัญหากระทบการทำงานได้ในที่สุด

สุขภาพทรุดโทรม
เริ่มมีอาการเจ็บป่วยทางสุขภาพกาย เช่น เจ็บหน้าอก, หัวใจสั่น, หายใจถี่, มวนท้อง, เวียนศีรษะ, เป็นลม และ ปวดหัว หากมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เมื่อพักผ่อนน้อยและเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ จะส่งผลให้ภูมิต้านทานของคุณอ่อนแอ ป่วยง่าย เอะอะเป็นหวัด เอะอะไม่สบาย

ไม่ค่อยอยากอาหาร
คุณจะเริ่มไม่ค่อยอยากทานอะไร อาจเบลอ ๆ ลืมทานข้าวไปสัก 2 – 3 มื้อ และเริ่มน้ำหนักตัวลดลงอย่างน่าตกใจ

เกิดความวิตกกังวล
ในช่วงแรกอาจเริ่มเครียดและวิตกกังวลเล็กน้อย และลุกลามไปสู่ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพและเป็นปัญหาในชีวิตส่วนตัว

ซึมเศร้าบางขณะ
มีบางช่วงที่คุณรู้สึกเศร้าใจอย่างไร้เหตุผล บางครั้งเกิดวามสิ้นหวัง, ไร้ค้า และรู้สึกหดหู่ใจ ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือภาวะดังกล่าวสามารถทวีคูณไปจนถึงการมองโลกในแง่ร้าย ไม่อยากอยู่ (ถ้าภาวะเศร้าของคุณมาถึงจุดนี้ ควรพบจิตแพทย์โดยทันที)

เกรี้ยวกราด
คุณจะเริ่มเหวี่ยง ระเบิดลงไปทั่ว และขัดใจง่าย เป็นสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างบุคคล ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ซึ่งความเกรี้ยวกราดนี้อาจะนำไปสู่ความคิดหรือการกระทำที่รุนแรง ควรเข้าปรึกษาแพทย์โดยตรง

นี่เป็นสัญญาณอันตราย ที่ ภาวะ “หมดไฟ” กำลังขโมยความสุขของคุณ

ภาวะหมดไฟ

ไร้ซึ่งความสนุกสนานใด ๆ ในโลก

อาการแรกที่จะเกิดขึ้นคือคุณจะเริ่มเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เคยสนุก เช่น เริ่มไม่อยากไปทำงานทั้งที่เคยกระตือรือร้นมาก และค่อย ๆ ขยายวงกว้างไปสู่ส่วนอื่น ๆ ในชีวิตของคุณ เช่น หลีกเลี่ยงใช้เวลากับเพื่อนหรือครอบครัว ปลิดวิเวก หรือแม้กระทั่งการเลี่ยงที่จะทำงานร่วมใคร จนไปถึงโดดงาน

บางครั้งชีวิตก็ไม่ได้มีไว้ให้เราเข้าใจ แต่มีไว้ให้เราสนุกกับมัน – คำชวนคิดจาก หนังสือ แรง บันได จารย์

มองโลกร้าย ร้าย
อาการนี้จะเริ่มต้นจากการแสดงทัศนคติแย่ ๆ ออกมา อาจเริ่มต้นจากพูดจาดูถูกตัวเอง ลุกลามขยายวงกว้างไปสู่การผิดใจกับเพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงครอบครัว อย่างไม่แยแส

เหงาจับขั้วหัวใจ
แม้ในระยะแรกจะเริ่มไม่อยากเข้าสังคม หรือชอบปลิดวิกเวกอยู่เพียงลำพัง และในเวลาต่อมาจะเริ่มรำคาญเวลาใครเข้ามาพูดคุยด้วย จนกระทั่งหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์ในที่สุด ซึ่งนั่นจะสร้างความเหงาจับขั้วหัวใจ

ถ้าพื้นที่ในชีวิตเรากว้างมาก แต่ไม่มีใครมาร่วมแชร์พื้นที่นั้น ..เราจะเหงา – คำชวนคิดจาก หนังสือ แรง บันได จารย์

ปลีกวิเวก
จากภาวะในข้อ (3) นำไปสู่การปลิดวิเวก แยกตัวออกจากสังคมที่เคยอยู่ พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้คุณเริ่มไม่แคร์อะไรที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ รวมไปถึงการทำงานและความรับผิดชอบอื่น ๆ ในงาน คุณอาจเริ่มลาป่วยบ่อย ๆ (ที่ไม่รู้ว่าป่วยจริงไหม) เริ่มที่จะเพิกเฉยเมื่อโทรศัพท์ที่โต๊ะดัง หรือแม้กระทั่งตอบอีเมลล์งานช้า

หมดไฟ VS ซึมเศร้า

แล้วภาวะ “หมดไฟ” นี้แตกต่างจากความซึมเศร้าอย่างไร? ภาวะ “หมดไฟ” นั้นค่อนข้างเป็นปัญหาที่เฉพาะตัว ตรงที่มักเป็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง เช่น ปัญหาในการทำงานพาลไปถึงเรื่องอื่น, ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานพาลไปลงกับแฟน แต่ในภาวะ “ซึมเศร้า” นั้นจะเป็นการมองโลกในทุกด้านเป็นลบ ไม่เฉพาะเจาะจงแค่ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไอ้นั่นก็ไม่ดี ไอ้นี่ก็ไม่โอเค รู้สึกแย่กับทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตตัวเอง ซึ่งอาการซึมเศร้านั้น จะรุนแรงมากกว่า เช่น การนับถือตัวเองต่ำลง, สิ้นหวัง และมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย แต่ในภาวะ “หมดไฟ” นั้น เป็นความเหนื่อยหน่ายทั่วไป โดย คนที่ “หมดไฟ” อาจไม่มีภาวะ “ซึมเศร้า” หากแต่ภาวะ “หมดไฟ” มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงให้บุคคลนั้น ๆ เป็นโรคซึมเศร้าได้

เติมไฟให้ตัวเอง

ภาวะหมดไฟ

เติมไฟให้แรงบันดาลใจที่มอดดับ ไปกับ 14 นักเขียนหลากสาขาอาชีพที่จะมาส่งต่อ 14 เรื่องสั้นเรียกแรงบันดาลใจ “แรงบันไดจารย์” สะท้อนมุมมองชีวิตและทัศนคติที่มีต่อโลกสีเทาใบกว้าง ..พร้อมหรือยังที่จะทำให้ชีวิตที่หมดไฟ กลับมาลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง สั่งซื้อได้ที่ MBOOKSTORE.COM

ภาวะหมดไฟ

รวบรวมสาระน่ารู้ ทั้งข่าวสารวงการหนังสือ อีเว้นท์หนัง, หนังสือใหม่, หนังสือแนะนำ รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านกันฟรี ๆ ที่นี่ BOOK.MTHAI