26 ตุลาคม ความเศร้า ถวายความอาลัย ถวายพระเพลิง โรคซึมเศร้า

เราจะผ่านความเศร้าโศกนี้ไปด้วยกัน

Home / สารพันหนังสือ / เราจะผ่านความเศร้าโศกนี้ไปด้วยกัน

          น้ำตายังไม่ทันจาง อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะเข้าสู่วันที่ชาวไทยน้อมเกล้าถวายความอาลัยทั่วทิศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ราชาอันเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทยทั้งแผ่นดิน” …ทำให้หวนนึกถึงวันที่คนไทยทั้งประเทศร่ำไห้ เมื่อประกาศของสำนักพระราชวัง ในเวลา 19.00 ของวันที่ 13 ตุลาคม 2559 จบลง ความว่างเปล่าและความสับสนปรากฎแก่พสกนิกรชาวไทยจากความสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศไทยครั้งนี้

ที่มาของรูป: เพลง "13 ตุลา หนึ่งทุ่มตรง" ธเนศ วรากุลนุเคราะห์

          เมื่อเกิดความสูญเสีย สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือความโศกเศร้าเสียใจ แต่ละคนมีปฏิกิริยาการตอบสนองต่อความโศกเศร้านี้ต่างกัน บางคนร้องไห้ฟูมฟาย บางคนสับสน แต่ร้ายที่สุดคือบางคนหลีกหนีความจริงและไม่ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น อ้างอิงจาก ความเศร้า 5 ขั้น ของ เอลิซาเบธ คือเบลอร์-รอสส์ จิตแพทย์เชื้อสายอเมริกันได้สรุปเกี่ยวกับความเศร้าเอาไว้ ดังนี้..


เป็นช่วงที่ช่วยปกป้องบุคคลต่อความสูญเสีย


ช่วงที่ความจริงเริ่มปรากฎ บุคคลจะเกิดความรู้สึกเสียใจ ละอายใจ มักโทษตัวเองหรือคนอื่น วิตกกังวลและสับสนเกี่ยวกับสิ่งที่สูญเสีย


ช่วงนี้บุคคลจะหาทางเลือกอื่นมาต่อรอง เพราะยังไม่พร้อมต่อการรับมือกับความจริง


ช่วงนี้เป็นระยะที่เจ็บปวดมากที่สุด เพราะบุคคลจะเผชิญหน้ากับความสูญเสีย อาจแสดงออกถึงการถดถอย หรือถอยหนี


ช่วงนี้บุคคลหาวิธีรับมือกับความสูญเสียได้ ความวิตกกังวลลดลง


ที่มาของรูป : BBC

          แม้ความเศร้าโศกยังคงอยู่ แต่หากเราควบคุมมันได้ ก็จะช่วยให้เราก้าวผ่านความโศกเศร้านี้ไปได้ แต่แล้วเราจะจัดการมันได้อย่างไร?

          26 ตุลาคมนี้ จะเป็นอีกวันที่ถูกจารึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ไทย วันที่พสกนิกรไทยทั่วโลกต่าง ร่วมกันถวายพระเพลิงด้วยความโศกาดูรอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยสำนึกและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น สถิตในใจตราบนิรันดร์

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ: Thairath, ekrfoundation.org