ภาษา ภาษาไทย วัฒนธรรม วันภาษาไทยแห่งชาติ อักษรไทย

วันภาษาไทยแห่งชาติ : วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของคนไทยทั้งชาติ

Home / สารพันหนังสือ / วันภาษาไทยแห่งชาติ : วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของคนไทยทั้งชาติ

คนไทยโชคดีที่มีภาษาของตัวเอง เเละมีอักษรไทยเป็นตัวอักษรประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้


          ภาษา เปรียบเสมือนวัฒนธรรมที่สำคัญและบ่งบอกถึงความเป็นชาติ นอกจากนี้เรายังต้องใช้ในการติดต่อสื่อสาร และภาษาก็เป็นจุดศูนย์กลางที่คอยยึดคนทั้งชาติเอาไว้อีกด้วย
          บ้านเราค่อนข้างให้ความสำคัญในเรื่องของภาษาอย่างมาก ทำให้เกิด ‘วันภาษาไทยแห่งชาติ’ ขึ้นมา แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ที่มาที่ไปของวันสำคัญนี้ว่าเป็นอย่างไร มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยของเราให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ชาติไทยต่อไป

          วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี คือวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการใช้ภาษาไทย อีกทั้งกระตุ้นให้ชาวไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

          เนื่องจากเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง ‘ปัญหาการใช้คำไทย’ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่าณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า…

          “…เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…” ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี

          รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา

ทำไมถึงต้องมี ‘วันภาษาไทยแห่งชาติ’

  • เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
  • เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
  • เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
  • เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น
  • เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

          ภาษาไทย มีความสำคัญต่อคนในประเทศอย่างมาก เพราะใช้ในการสื่อสารระหว่างคนไทยด้วยกันทั้งในด้านการศึกษา การค้าขาย ในทางราชการ และในทางสื่อสารมวลชน ล้วนใช้ภาษาไทยในการสื่อสารทั้งนั้น เราควรดูแลรักษาและอนุรักษ์ภาษาไทย เพื่อให้คงอยู่กับเราและอยู่กับลูกหลานเรา สุดท้ายอยู่กับคนไทยตลอดไป

ที่มา : dmc.tv