HR - The Next Gen ทำงานแทบตายทำไมไม่โต อภิชาติ ขันธวิธี

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต ? ไม่ต้องสงสัย มันเพราะนิสัยของคุณเอง

Home / Editor Picks / ทำงานแทบตายทำไมไม่โต ? ไม่ต้องสงสัย มันเพราะนิสัยของคุณเอง

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

นิสัยแบบนี้เลยไม่สงสัยว่า ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

ทำงานแทบตาย ทำไมไม่โต

อย่ามัวแต่โทษคนอื่นที่ตัวเองไม่ก้าวหน้าไปไหน! ย้อนมองดูตัวเองก่อนว่าทำงานออกมาเป็นแบบไหนถึงไม่โตสักที ทั้งที่ทำงานมานานหลายปี แต่ทำไมใครต่อใครจำชื่อไม่ได้ ไร้ผลงานให้จับตามองหรือแทบไม่มีบทบาทใด ๆ
ตลกดีที่ ทำงานแทบตาย  … ทำไมไม่โต ?

“รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” แปลว่า การกระทำของตนที่ได้ผลออกมาไม่ดี แต่กลับโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่น แทนที่จะโทษตัวเอง โบราณจึงเปรียบเทียบกับการร่ายรำ เมื่อร่ายรำไม่ดี แทนที่จะโทษตัวเอง แต่กลับโทษปี่กลองผู้ให้จังหวะ

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

5 ความคิดสุดเพลีย ที่รั้งความก้าวหน้าในอาชีพ

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต
สายเลีย หรือในชื่อเต็มว่า “เลียแข้งเลียขา” เป็นการทำงานที่ทำด้วยปากมากกว่าฝีมือหรือความสามารถ หลายคนที่ไม่ก้าวหน้ามักโทษคนประเภทนี้ว่าแย่งชิงความดีชอบไปเสียหมด

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

หัวหน้าชอบคนแบบนี้เพราะเป็นลูกรัก แต่ที่จริงก็คือพยายามเอาคนอื่นมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้ตัวเองรู้สึกผิดน้อยลง รู้สึกดีขึ้นกับความขี้เกียจ และตั้งแง่ที่จะไม่พัฒนาตัวเองต่างหาก เลียก็ส่วนเลีย แต่ทำงานไม่ได้ก็คือทำงานไม่ได้ มันคนละประเด็น

อย่าติดกับดักกับคำว่าสายเลีย หรือตีความคำว่าสายเลียเพี้ยนไป จนมองวิธีการทำงานที่ง่ายขึ้นไม่ออก และมองความสัมพันธ์ที่ดีกับนายเป็นเรื่องลบ – ทำงานแทบตาย ทำไมไม่โต (หน้า 125)

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต
เพราะหัวหน้ามีลูกรักไงล่ะ ฉันถึงไม่โตสักที มุมมองแบบนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากการมองเห็นคนอื่นเป็น “สายเลีย” ไม่ใช่ว่าสายเลียจะไม่มีเลยในวัฒนธรรมองค์กร แต่อย่างที่เกริ่นไปในข้อแรกว่า “เลียก็ส่วนเลีย ทำงานไม่ได้ก็คือทำงานไม่ได้”

.

เพราะโดยทฤษฎีแล้วไม่ว่าเจ้านาย ผู้บริหาร หรือหัวหน้า จำเป็นต้องกระจายความเท่าเทียมและความสำคัญให้ลูกน้องอย่างทั่วถึง แต่ในทางปฏิบัติจริงนั้นกลับเป็นไปได้ยาก อันเนื่องมาจากขอบข่ายงานของคนทำงานระดับสูงนั้นไม่ได้ดูแลแค่โปรเจคเดียว ทีมเดียวหรืองานเดียว เขาจึงต้องเลือกคนที่ไว้ใจ คนที่รู้ว่าส่งงานไปให้แล้วทำได้โดยไม่ต้องเป็นห่วงหรือเป็นกังวลมากนัก
ทำงานแทบตายทำไมไม่โต
แต่ไม่ใช่ว่าจะสนับสนุนให้ทุกคนใช้ลิ้นเก่งมากกว่าใช้ความสามารถ  เพราะหากไม่มีทักษะหรือความรู้ความสามารถอะไรเลย เอาดีด้านเก่งแต่ปากอย่างเดียว ในไม่ช้าเมื่อลมปากหมดหวาน ก็อาจเป็นได้แค่คนเสิร์ฟน้ำหวานให้เจ้านายก็ได้

ทุกคนมีจุดแข็งและจุดอ่อนด้วยกันทั้งนั้น เราอยู่ในที่ที่ได้ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของเราหรือเปล่า – ทำงานแทบตาย ทำไมไม่โต (หน้า 88)

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

ฉันว่าฉันก็เก่งใช้ได้ แต่บริษัทไม่ดันไงล่ะ ฉันเลยไม่โต ..จริง ๆ แล้วก่อนที่จะประเมินสิ่งรอบตัว ควรประเมินตัวเองก่อนเสมอว่าเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน ที่ที่เราอยู่นั้นเหมาะสมกับเราจริงหรือไม่? เพราะจริง ๆ แล้วบริษัทอาจไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่คุณนั่นแหละที่อยู่ผิดที่ผิดทาง

.

ส่วนใหญ่คนที่เก่งที่สุดอาจไม่ใช่คนที่ถูกเลือกและได้รับโอกาสเพื่อก้าวหน้า หากแต่เป็นคนที่เหมาะสมที่สุดต่างหากที่จะได้รับโอกาส ซึ่งคนที่เหมาะสมอาจไม่ใช่คนที่เก่งกาจมากมาย แต่สามารถอยู่และพัฒนาตนเองในวัฒนธรรมองค์กรนั้นได้ดีต่างหาก

.

เพราะฉะนั้นลองย้อนดูวัฒนธรรมของบริษัทก่อนว่าชอบคนประเภทไหน คนแบบไหนจะมีโอกาสได้ไปต่อ และตัวเราเองพอจะปรับปรุงตัวเองได้หรือจะต้องปรับเปลี่ยนบริษัทใหม่ให้เหมาะกับเรา

การที่เราจะปรับตัวหรือเปลี่ยนทัศนคติใหม่ไปหาสิ่งที่ดีกว่า ผมว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย ตัวตนของเราไม่หายไปหรอกครับ แค่เราจะได้ตัวตนเวอร์ชั่นใหม่ที่อัพเกรดมาแล้วต่างหาก – ทำงานแทบตาย ทำไมไม่โต (หน้า 56)

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต
ตัวอย่างวัฒนธรรมขององค์กรชื่อดัง สามารถค้นหาในอินเตอร์เน็ตได้เสมอ
• วัฒนธรรมองค์กรของ ปตท. •
กล้าคิด กล้าทำ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า, พัฒนาตน ทำงานเป็นทีม, ทำงานเชิงรุกสนองตอบความต้องการของลูกค้า, มุ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตน
• วัฒนธรรมองค์กรของ SCG •
กล้าเปิดใจรับฟัง, กล้าคิดนอกกรอบ, กล้าพูดกล้าทำ, กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม, กล้าเรียนรู้ ในนโยบายการพัฒนา “คนของเรา… สู่เป้าหมายเดียวกัน”

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต
เสนอแผนอะไรไป โดยตีกลับมาด้วยคำว่า “คิดได้แค่นี้เองหรือ” คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะ “อคติ” หรือจริง ๆ แล้วแผนงานนั้น “มันยังดีไม่พอ” กันแน่? ก่อนจะมองทุกอย่างในแง่มุมที่ลบกว่านี้ ลองกลับมาทบทวนตัวเองแบบไม่เข้าข้างและพยายามไม่พูดเอาดีเข้าตัวดูสิ วิธีแบบนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาหรอก

.

เพราะสิ่งที่เราต้องทำจริง ๆ ก็คือ การพัฒนาตัวเอง เช่น อ่านหนังสือให้มากขึ้น พัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถให้แกร่งขึ้นต่างหาก

ผมเคยเจอมาก็มีเยอะที่ถึงเวลาให้พูดก็เงียบ แต่จะเก่งมากเวลาอยู่ในที่ที่ไม่ใช่เวลาที่ควรที่จะพูด หรือตกลงกันไปแล้วว่าจะทำแบบนี้ แต่มาพูดที่หลังนอกห้องประชุมว่าทำไมไม่ทำแบบนั้นแบบนี้  ผมจะไม่เสียเวลาพิสูจน์ตัวเองกับคนที่อคติกับเรา – ทำงานแทบตาย ทำไมไม่โต (หน้า 74)

หากพิจารณาแล้วว่า “งานเรามันก็ไม่ได้ห่วย” แต่ทีมที่ต้องทำงานด้วยมีมุมมองและทัศนคติที่ขัดแย้งกับ “เรา” มากกว่า “ผลงานของเรา” ต่างหาก
ทำงานแทบตายทำไมไม่โต
จงจำไว้ว่า “อย่าเสียเวลาพิสูจน์ตัวเองกับคนที่อคติ”  เพราะนอกจากเสียเวลาให้กับสิ่งไร้สาระ ไม่ได้ประโยชน์ ยังเสียพลังงานชีวิตและทำให้ชีวิตเราไม่พัฒนาอีกด้วย เพราะถ้าเอาเวลาตรงนั้นไปทุ่มเททำ “เพื่อตัวเอง” ก็คงก้าวหน้าไปไกลกว่านี้แล้ว

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต
โอกาสจะมีค่า ถ้ามาถูกจังหวะ แต่ที่หลายคนไม่ได้รับโอกาส เพราะเมื่อโอกาสมาปรากฎอยู่ตรงหน้า ตัวเองกลับไม่พร้อมที่จะคว้ามันเอาไว้ อย่างคำที่ แจ็ค หม่า (Jack Ma) กล่าวเอาไว้ว่า

สำหรับคนรุ่นใหม่ คุณสมบัติที่คุณควรมีคือ ความกล้าหาญ ยิ่งคุณยังเด็ก คุณยิ่งต้องกล้า อย่าเป็นคนขี้บ่น ผมเองก็เคยเป็นคนชอบบ่น แต่เมื่อผมเปลี่ยนตัวเอง ชีวิตผมเปลี่ยนเลย ส่วนเพื่อนของผมที่ยังชอบบ่นเหมือนเดิม ชีวิตเขายังคงเหมือนเดิม ที่จริงแล้วโอกาสในชีวิตต่าง ๆ ซ่อนอยู่ภายใต้คำบ่นเหล่านั้น  เมื่อคุณจัดการมันได้ โอกาสจะมา  – Mr.Jack Ma (1 ตุลาคม 2559)

ใช่แล้ว อย่ามัวแต่ร้องหาแต่โอกาส หรือน้อยอกน้อยใจที่ไม่ได้มันมาสักที ที่คุณต้องทำคือพัฒนาตัวเองเพื่อเหมาะสมกับโอกาสนั้นเสมอ ในเมื่อเบอร์หนึ่งไม่ได้มีถึงสองคน ใครพร้อมก่อนย่อมได้โอกาสนั้นไปก่อน อยากเป็นเบอร์หนึ่งใช่ไหม? อย่ารอช้า อืดอาดยืดยาด พัฒนาตัวเองบ้างสิ

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

แต่ถ้าทำดีให้ตายแล้วก็ยังไม่โต ลองถามคำถาม 3 ข้อนี้กับตัวเองดูสักครั้ง  “บริษัทมีแค่บริษัทเดียวในโลกเหรอ?”  “หัวหน้าเปลี่ยนไม่ได้ใช่ไหม?”  “ตัวเราล่ะ พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา?”

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

.

งานก็เครียดอยู่แล้ว ยังต้องมาโฟกัสเรื่องความก้าวหน้าอีกหรือ? จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น ถ้าอยากก้าวหน้าในอาชีพ เพียงแค่รู้ ทางหลีก-ทางรอด เหล่านี้
  • ตระหนักในภารกิจของอาชีพที่กำลังทำและไล่ล่ามันด้วยความแข็งแกร่ง
ในยุคปัจจุบันมีคำว่า “Specialist” ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าความสามารถที่คุณมี เป็นเพียงแค่ “Generalist” ทั่วไปเท่านั้น สิ่งที่ควรทำคือ ทำให้ความ “Generalist” ที่มีมัน “Specialist” ขึ้นให้มากที่สุด มากเท่าที่จะเป็นไปได้
เพราะคนที่ทำงานได้ดีและมีความสุขที่สุด คือคนที่เข้าใจวิถีการทำงานของตัวเอง รู้ว่าต้องใช้อะไร ใช้ทักษะแบบไหนเพื่อให้ผลงานออกมาดี ทั้งในด้านเทคนิค เครื่องไม้เครื่องมือ รวมถึงความต้องการหรือความคาดหวังของผู้บังคับบัญชา หากทำได้ตรงจุดและตอบโจทย์
คนเหล่านี้ต่างหากที่จะก้าวหน้าในอาชีพมากกว่าพวกที่มัวแต่เดินตามรอยเท้าคนอื่น จนไม่มีรอยเท้าของตัวเอง

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

  • ความสามารถอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอจะทำให้ก้าวหน้า
มีความสามารถรอบด้าน เก่งกาจฝีมือเฉียบขาด แต่ขาดการโปรโมทตัวเองก็ไม่ได้นะ เพราะจะไม่มีใครรู้เลยว่าคนเก่งมีความสามารถแบบคุณทำอะไรได้บ้าง (เพราะรู้อยู่คนเดียวไงล่ะ) เพราะฉะนั้นเพื่อให้ก้าวไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ จำเป็นจะต้องอาศัยการโปรโมทตัวเองที่ดี เพื่อให้ถูกยอมรับในวงกว้าง ไม่ใช่คิดเข้าข้างตัวเองฝ่ายเดียว

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

  • จงเป็นคนที่ทุกบริษัทขาดไม่ได้
ไม่ได้บอกให้รักบริษัทสุดหัวใจและทุ่มเทให้จนตัวตาย แต่จง “รักงานที่อยู่ในขอบข่ายความรับผิดชอบของคุณ” ให้มากกว่า “รักบริษัทที่คุณทำงานอยู่”  การทำงานที่ได้รับผิดชอบด้วยความรู้ที่ท่วมท้น พร้อมทักษะและความสามารถสุดกำลังเท่าที่จะเป็นไปได้ จะทำให้คุณมี “ผลงานดีเลิศ” จากตำแหน่งที่คุณรับผิดชอบอยู่
จงจำไว้ว่าบริษัทไม่ได้รับปากว่าจะจ้างงานคุณตลอดชีวิต คุณควรมี “ผลงานดีเลิศ” นี้ติดตัวไว้เสมอ อย่างน้อยก็เพื่อกระโดดไปหางานใหม่ในยามที่หัวใจไม่อินกับบริษัทเก่าอีกแล้ว ด้วยผลงานขั้นเทพที่ไม่ว่าบริษัทไหนก็ยินดีที่จะอ้าแขนรับ

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

.

  • กล้าที่จะเสี่ยง
Safe Zone (พื้นที่ปลอดภัย) ที่อยู่ดีมีสุข อาจไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับคนอยากก้าวหน้า อย่าเสียเวลา “ปลูกต้นไม้ เพื่อรอกินผล” หรือรอให้บริษัทมองเห็นผลงานคุณบ้างเพื่อเติบโตในตำแหน่ง เพราะความก้าวหน้า บางทีก็ไม่ได้มาจากการรอเก่ง แต่เป็นการกล้าที่จะเสี่ยงเก่งต่างหาก
สิ่งที่ควรต้องทำเป็นอย่างแรก คือวาดเส้นทางของคุณเองให้ชัดเจนและกล้าที่ก้าวไปข้างหน้า เพราะบางทีการปลูกต้นไม้ผิดที่ผิดทาง มันก็ไม่ออกผลให้กิน ต้องย้ายไปปลูกที่อื่น ในที่ที่ประเภทของดินเหมาะสมกับเมล็ดพันธุ์

.

  • คอนเนกชั่นสำคัญมาก แม้ไม่ได้ต้องการงานใหม่
ใครว่า “คอนเนกชั่น” ไม่สำคัญ การสร้างคอนเนกชั่น หรือ การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีมักทำให้หลายคนก้าวไปข้างหน้าได้ไวกว่าคนอื่น เครือข่ายที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในขอบข่ายเนื้องานที่รับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังสามารถขยายวงกว้างให้ครอบคลุมในเชิงลึกเพื่อสามารถทำทุกเรื่องในชีวิตได้ง่ายดายขึ้น

ผลสำรวจจาก LinkedIn จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 3,000 คนพบว่า กว่า 85% ของตลาดแรงงานเป็นการแสวงหาผ่านคอนเนกชั่น (ผ่านคนรู้จัก)

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

.

  • แก้ไขปัญหาแบบ win-win solution
การแก้ปัญหาแบบเลือดตกยางออกอาจไม่เวิร์คนักสำหรับปัญหาในที่ทำงาน ตราบใดที่คุณไม่ใช่นักมวยอาชีพอะไรพวกนั้น เหตุผลก็เพราะเราอาจจำเป็นต้องทำงานกับคนเหล่านั้นอีกครั้ง (อีกครั้ง และอีกครั้ง) อย่างเลี่ยงไม่ได้  การทำให้อับอายหรือใช้ความรุนแรงจึงไม่ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีงามในระยะยาวเสียเท่าไหร่ แถมยังส่งผลให้เกิดไฟแค้นสุมทรวงอีกด้วย

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

ขอแนะนำวิธีแก้ปัญหาแบบ win-win solution นั่นคือวิธีหรือข้อตกลง “คนละครึ่งทาง” ที่จะทำทั้งสองฝ่ายรู้สึกว่าตนไม่เสียเปรียบและได้ประโยชน์ทั้งคู่ (วิน-วิน) คุณอาจไม่ได้รู้สึกถึงชัยชนะในเร็ววัน แต่ก็คงไม่อยากติดอยู่กับศัตรูในระยะยาวเช่นกันใช่ไหมล่ะ?

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

  • ปล่อยมันเป็นไป จนกว่าจะแก้ไขมันได้
หากรู้สึกวิตกและทุกข์ทรมานจากการขาดความเชื่อมั่น “ทำไม่ได้หรอ” “ฉันไม่เคยทำมันมาก่อน” ก็โปรดท่องจำนำใช้เอาไว้อย่างว่า “ทัศนคติทางบวก” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “โลกสวย” จะช่วยให้คุณข้ามผ่านความรู้สึกแย่ ๆ ไปได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังช่วยดึงคุณขึ้นมาจากห้วงความวิตกที่เกิดขึ้น

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

อย่าทำให้ทุกคนรู้ว่าคุณกำลังตื่นตระหนกกับงานที่ได้รับมอบหมาย เพราะมันดูเป็นเรื่องที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพเอาเสียเลย ปล่อยให้มันเป็นความรู้สึกภายใน จนกว่าจะกู้ความมั่นใจของตัวเองกลับมาได้ ด้วยคาถาศักดิ์สิทธิ์อย่าง “ช่างมัน” “ช่าง***” จนกว่าจะเปลี่ยนความคิดที่ว่า “ทำไม่ได้หรอก” เป็น “ฉันทำได้แน่ ลองดูสักตั้ง”

.

  • เป้าหมายต้องชัดเจนและวัดผลได้
คงเคยได้ยินหลายคนพูดบ่อย ๆ ว่า “ฉันจะลดน้ำหนักให้ได้ในปีนี้” แต่พอปลายปีก็เห็นน้ำหนักยังเท่าเดิม (และเผลอ ๆ อาจมากกว่าเดิม) ทั้งที่เป้าหมายดูมุ่งมั่นลั่นแรงขนาดนั้น แต่ทำไมน้ำหนักยังไม่ลด? อาจเป็นเพราะว่าเป้าหมายที่วางไว้ ยัง “ไม่ชัดเจน” และ “ไม่สามารถวัดผลได้” จึงทำให้แผนที่วางเอาไว้ล้มเหลว ซึ่งส่วนใหญ่เป้าหมายที่ล้มเหลวมักจะมาจากคำว่า “ฉันจะทำ” มากกว่า “ฉันต้องทำ”

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

เมื่อคุณเริ่มกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นในหน้าที่การงาน ทุกเป้าหมายควร มีเหตุผล สมเหตุสมผล วัดผลได้ และดูไม่เกินจริงมากไป ด้วย 4 เงื่อนไขนี้จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้ ดูมีความเป็นไปได้ เป็นรูปเป็นร่าง ไม่ใช่เราจะทำตามสัญญาอย่างลอย ๆ แต่ก็อย่าขาดความกระตือรือร้นเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นล่ะ

.

  • อย่าเพิกเฉยการมีชีวิต ด้วยการทำงานอย่างเดียว
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 21 มนุษย์เราอยู่ในขอบเขตของ “การศึกษา” ภารกิจหลักของเราคือการดูดซับข้อมูลและคำแนะนำต่าง ๆ จากผู้แก่กล้าวิชา ได้แก่ ครูบาอาจารย์และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ จนเข้าสู่วัย 21 – 60 ปี เราย้ายตัวเองไปอยู่ในส่วนของ “การทำงาน” มุ่งผลิตสินค้าและบริการที่คุ้มค่าจ้าง ที่เรียกว่า “ผลงาน” ออกมาค่อนชีวิต จากนั้นในช่วงหลัง 60 ปีขึ้นไป เราเกษียณและย้ายตัวเองไปอยู่ในเขต “ความสนุก” …แล้วมันจะสนุกจริง ๆ หรือ?

ทำงานแทบตายทำไมไม่โต

น่าเสียดายที่กรอบความคิดแบบนี้นั้นเป็นรูปแบบของการดำรงชีพแบบเก่าแก่ ซึ่งคนเหล่านั้นพูดเหมือนกันว่า “ตัวเองไร้ประโยชน์เมื่อไม่ได้ทำงานแล้ว” เมื่อวัยเกษียณมาถึง สังขารที่มีไม่เอื้ออำนวยให้สนุกเสียเท่าไหร่ บางคนเจ็บป่วยล้มไข้เพราะเคยใช้ร่างกายอย่างไม่ถนอม ด้วยการทุ่มเทสร้างผลงานโดยปราศจาก “ความสนุก” และ “ไร้ความหมาย”  เพราะฉะนั้น “เบบี้บูมเมอร์” หรือวัยเกษียณยุคนี้จึงเผชิญหน้าอย่างจังกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ข้อมูลจากกรมการปกครอง ในเดือนธันวาคม ปี 2560 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 67 ล้านคน กว่า 1 ใน 5 หรือประมาณ 10 ล้านคน คือ ผู้สูงอายุ ..จากสถิตินี้เองทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ และในอีก 8 ปีข้างหน้าสังคมนี้จะขยายวงกว้างมากขึ้นเป็น 14.9 ล้านคน ซึ่งอาจจะมากกว่าเด็กที่เกิดในประเทศเสียด้วยซ้ำ – จากบทความ “เมื่อการอายุยืนไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้สูงอายุในไทยฆ่าตัวตายเป็นอันดับ 2 ของประเทศ” 

แล้วทำงานแบบไหนกันล่ะถึงจะเติบโตไปพร้อม ๆ กับความสุข และความสมดุลของชีวิต หาคำตอบได้ที่ “ทำงานแทบตาย ทำไมไม่โต” – อภิชาติ ขันธวิธี นักเขียน/ผู้สร้างแฟนเพจ HR-THE NEXT GEN

Sources:
  1. หนังสือทำงานแทบตายทำไมไม่โต – อภิชาติ ขันธวิธี นักเขียน/ผู้สร้างแฟนเพจ HR-THE NEXT GEN
  2. New Survey Reveals 85% of All Jobs are Filled Via Networking
  3. 10 Habits to Help Advance Your Career
  4. ผู้สูงอายุ ในไทย ฆ่าตัวตายเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
  5. 4 Things Your Boss Won’t Tell You About Advancing Your Career
  6. วัฒนธรรมองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  7. วิสัยทัศน์ SCG คนของเรา… สู้เป้าหมายเดียวกัน

ติดตามข่าวสารและซื้อหนังสือออนไลน์ผ่าน mbookstore

MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

ิ