นักเขียนไทย ผู้ชนะสิบทิศ ยอดขุนพล ยาขอบ สามก๊กฉบับวณิพก โชติ แพร่พันธุ์

111 ปี ‘โชติ แพร่พันธุ์’ หรือ ‘ยาขอบ’ นักเขียนมือฉกาจของไทย

Home / Book News / 111 ปี ‘โชติ แพร่พันธุ์’ หรือ ‘ยาขอบ’ นักเขียนมือฉกาจของไทย

15 พฤษภาคม อีกหนึ่งวันสำคัญในวงการนักเขียนไทย เพราะเป็นวันรำลึกถึง โชติ แพร่พันธุ์’ หรือ ‘ยาขอบ’


          หากใครได้เข้าไปที่เว็บไซต์ Google คงได้เห็นภาพของชายคนหนึ่งที่อยู่ในหน้าค้นหา ซึ่งเขาไม่ใช่ใครที่ไหน เขาคือนักเขียนมือฉกาจของไทยที่มีชื่อว่า ‘โชติ แพร่พันธุ์’ หรือ ‘ยาขอบ’ นั่นเอง

‘โชติ แพร่พันธุ์’ หรือ ‘ยาขอบ’

          ‘โชติ แพร่พันธุ์’ เกินวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 ถือเป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย อีกทั้งยังเป็นเจ้าของนามปากกา ‘ยาขอบ’ อีกด้วย ยาขอบเกิดที่พระนคร เป็นบุตรของเจ้าอินแปง เทพวงศ์ เชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ มารดาชื่อจ้อย

เส้นทางสู่การเป็นนักเขียน

          ส่วนสาเหตุที่ทำให้เขาเข้ามาอยู่ในวงการนักเขียนนั้น มาจากที่ตอนเด็กพ่อและแม่พาไปฝากไว้ที่บ้านพระยาบริหารนครินทร์ ทำให้เขามีโอกาสได้อ่านวรรณกรรมชั้นดีหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน, สามก๊ก, รามเกียรติ์, อิเหนา ซึ่งได้กลายเป็นพื้นฐานในการเขียนหนังสือในกาลต่อมา ขณะที่มีอายุ 6 ขวบ ก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และได้พบเพื่อนร่วมห้องคนหนึ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญนั่นคือ หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ระพีพัฒน์, กุหลาบ สายประดิษฐ์ และ สด กูรมะโรหิต แต่สุดท้ายก็ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่ ม. 4 แล้วเร่ร่อนใช้ชีวิตตามลำพัง ต้องไปเป็นทั้งนักจ๊อกกี้แข่งม้า เด็กปิดใบปลิวหน้าโรงหนัง จนสุดท้ายได้มาพบกับ ‘ครูถนิม’ จึงรับตัวไปทำงานที่หนังสือพิมพ์ สยามรีวิว ต่อมาได้ทำงานที่หนังสือพิมพ์ ธงไทย ของ เฉวียง เศวตะทัต และลาออกไปเป็นหัวหน้าแผนกโฆษณาของห้างขายยาเพ็ญภาค

ที่มาของนามปากกา ‘ยาขอบ’

          ในตอนนั้น เขามีหน้าที่ออกแบบและค้นคิดประโยคถ้อยคำโฆษณาแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ติดหูผู้ฟังออกสู่ตลาด เป็นที่ถูกใจเจ้าของมากเป็นพิเศษ จนในปี 2472 กุหลาบ สายประดิษฐ์ เจ้าของหนังสือพิมพ์ สุภาพบุรุษ มองเห็นแววนักเขียนของเพื่อนตนเอง จึงขอร้องแกมบังคับให้เขียนเรื่องตลกขบขันส่งมาลงเป็นประจำ และตั้งนามปากกาให้ว่า ‘ยาขอบ’ ซึ่งเลียนแบบมาจาก W. W. Jacobs นักเขียนเรื่องตลกชื่อดังชาวอังกฤษ นอกจากเขียนเรื่องต่าง ๆ ลงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับแล้ว เขายังมีผลงานการประพันธ์มากมายหลายสิบเรื่อง นิยายเลื่องชื่อของท่านคือ ยอดขุนพล, ผู้ชนะสิบทิศ และ สามก๊กฉบับวณิพก และเขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2499 ขณะอายุได้เพียง 48 ปี เนื่องจากป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

เรื่องน่ารู้ของ ‘ยาขอบ’

  • ในสมัยนั้น ‘โชติ แพร่พันธุ์’ หรือ ‘ยาขอบ’ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 3 ทหารเสือ ร่วมกับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และมาลัย ชูพินิจ
  • นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และเคยดำรงตำแหน่ง นายก ส.น.ท. 2 สมัยระหว่างปี 2491-2492

แหล่งข้อมูล : wikipedia