คุณหลวงผลิต ผีเสื้อ สงครามโลกครั้งที่ 2 เป๊ก ผลิตโชค แอนน์ แฟร้งค์

คุณหลวงผลิต อ่าน | บันทึกลับ ของ แอนน์ แฟรงค์ สมุดปกแดงแห่งประวัติศาสตร์

Home / สารพันหนังสือ / คุณหลวงผลิต อ่าน | บันทึกลับ ของ แอนน์ แฟรงค์ สมุดปกแดงแห่งประวัติศาสตร์

คุณหลวงผลิต อ่าน | บันทึกลับ ของ แอนน์ แฟรงค์ สมุดปกแดงแห่งประวัติศาสตร์

คุณหลวงผลิต อ่าน แอนน์ แฟรงค์ เด็กสาวชาวยิววัย 13 ที่รักการเขียนบันทึกเป็นชีวิตจิตใจ สู่การบันทึกช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของโลก

                          ครบรอบ 89 ปี ไปเมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา  แอนน์ แฟรงค์ หรือ อันเนอลีส มารี “อันเนอ” ฟรังก์ เด็กสาวชาวยิววัย 13 ที่รักการเขียนบันทึกเป็นชีวิตจิตใจ สู่การบันทึกช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของโลก ซึ่งขอบอกว่าหนังสือเล่มนี้ เป็นเล่มโปรดของ คุณหลวงผลิต หรือ “เป๊ก” ผลิตโชค อายนบุตร  ซุปตาร์นักอ่านที่ชื่นชอบการอ่านไม่แพ้ใคร

คุณหลวงผลิต

 

                      คุณหลวงผลิต หรือ “เป๊ก” ผลิตโชค อายนบุตร ให้สัมภาษณ์ในรายการ “รายการอ่านเข้าเส้น” วันที่ 4 ตุลาคม 2558 ว่า ..

“ ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ค่อนข้างมีหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอะ ดูลุคไม่ให้ใช่ไหม? แต่ชอบเล่มนั้น ..”

“เล่มโปรดในดวงใจ ก็จะเป็นเล่มที่ชื่อว่า แอนน์ แฟรงค์ เป็นเรื่องของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นชาวยิว ที่เขาโดนเข้าไปอยู่ในค่ายเอ้าท์วิชที่โปแลนด์ แล้วโดนกระทำ โดนฆ่า แล้วก็เสียชีวิต เขาก็เขียนเป็นไดอารี่ แล้วก็มาเปิดให้คนทั้งโลกได้รู้ ก็เลยชอบเล่มนี้เป็นพิเศษ”


ทำไม บันทึกลับ ของ แอนน์ แฟรงค์ ถึงทำให้ คุณหลวงผลิต ติดอกติดใจขนาดนี้นะ?

                          แอนน์ แฟรงค์ หรือ อันเนอลีส มารี “อันเนอ” ฟรังก์ เด็กสาวชาวยิววัย 13 ที่บันทึกเรื่องราวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ระหว่างเธอและครอบครัวหนีหลบซ่อนตัวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรื่องราวดังกล่าวถูกบันทึกเอาไว้ใน สมุดบันทึกปกแดงซึ่งพ่อของเธอให้เป็นของขวัญในวันเกิดครบรอบอายุ 13 ปี

คุณหลวงผลิต

บันทึกแรกที่ แอนน์ เขียนนั้นกล่าวถึงความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่สมุดบันทึกเล่มนี้จะมอบให้กับเธอได้

“ฉันหวังว่าฉันจะไว้ใจคุณได้ ฉันไม่เคยไว้ใจใครมาก่อน และหวังว่าคุณจะเป็นคนดีที่ฉันสบายใจและได้รับการสนับสนุน”

บันทึกแรกจาก  แอนน์ แฟรงค์ ถึงเพื่อนในจินตนาการที่ชื่อ “คิตตี้”

12 มิถุนายน 1942

                          ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แอนน์ แฟรงค์ และครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวจากพวกนาซี ชีวิตที่แขวนไว้บนเส้นด้ายที่หากถูกจับได้จะโดนโทษที่หนักที่สุด ทำให้เธอและครอบครัวอยู่ในที่ซ่อนโดยไม่ออกไปไหน อาศัยลูกน้องที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ของพ่อในการส่งข่าวและหาเสบียงตลอดมา เธอเขียนบันทึกประจำวันมากมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ตั้งแต่ ศรัทธา, ความหวัง, รัก, เกลียดชัง, สิ้นหวัง จนถูกจับได้ในที่สุด

“ฉันว่าฉันอยู่ในจุดที่แทบไม่สนใจเลยว่าจะมีชีวิตอยู่หรือจะตายดี”

“โลกสามารถหมุมต่อไปได้โดยไม่มีฉัน และฉันก็ไม่สามารถทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นได้เลย”

3 กุมภาพันธ์ 1944

                          ความสนุกสนานของชีวิตที่ถูกกลืนดับไปกับความหดหู่ช่วงสงคราม อย่างไรก็ตาม, แอนน์ แฟรงค์ ยังคงบันทึกเรื่องราวของเธอต่อไป  เพราะการเขียนเป็นเพียงสิ่งเดียวที่รักษาสติและจิตวิญญาณของเธอช่วงนั้นได้

“เมื่อฉันเขียน ฉันสามารถสลัดทุกอย่างที่ฉันกังวลได้”

5 เมษายน 1944

                          แม้ในช่วงสงคราม เด็กสาวอาจทำได้เพียงเขียนสิ่งที่ตัวเองพบเจอและแทบจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์อะไรไม่ได้เลยสักอย่าง แต่ในเวลาต่อมา บันทึกปกแดงของเด็กสาว กลายมาเป็นหนังสือเล่มสำคัญของประวัติศาสตร์ที่ถือว่าเป็นหนังสือที่มีความเเม่นยำจากเหยื่อหายนะที่เชื่อมโยงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มากที่สุด ทำให้มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก โดยได้รับการแปลมากกว่า 70 ภาษาและยอดขายที่สูงกว่า 30 ล้านเล่ม อีกทั้งยังต่อยอดสู่ ภาพยนตร์, ละครเวที  และผนวกเป็นแบบเรียนในอีกหลายประเทศ

คุณหลวงผลิต

ลายมือจริงของ แอนน์ แฟรงค์ หรือ อันเนอลีส มารี “อันเนอ” ฟรังก์ เด็กสาวชาวยิววัย 13 ที่บันทึกเรื่องราวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างเธอและครอบครัวหลบซ่อนตัวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

                          ไม่ใช่เพียงแค่นั้นเพราะ นิตยสารไทมส์ ยังยกให้ แอนน์ แฟรงค์ เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์ แม้จะผ่านไปกี่ปี บันทึกลับของเด็กสาว ก็ยังคงเป็นหนึ่งในหนังสือที่น่าสนใจที่สุดเล่มหนึ่งที่ผู้อ่านจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการตกเป็นเหยื่อหายนะในสงครามโลกครั้งที่ 2


                          นอกจากบอกเล่าประวัติศาสตร์ผ่านการบันทึก แอนน์ แฟรงค์ ยังสอดแทรกปรัชญาการใช้ชีวิตแม้ต้องเจอกับช่วงเวลาที่โหดร้ายด้วยจิตวิญญาณที่แกร่งกล้า

“เป็นไปไม่ได้เลยที่ฉันจะสร้างชีวิตของตัวเองบนความสับสนวุ่นวาย, ความทุกข์ทรมาน และ ความตาย”

“โลกค่อย ๆ เปลี่ยนไป จากศิวิลัยซ์เป็นทุรกันดาร ฉันได้ยินเสียงฟ้าร้องอยู่ใกล้ ๆ และคิดว่าวันหนึ่งมันจะทำลายพวกเราด้วยเช่นกัน”

“ฉันรู้สึกได้ถึงความทุกข์ใจของคนนับล้าน และเมื่อฉันเงยหน้ามองท้องฟ้า”

“ฉันก็รู้สึกว่า ทุกอย่างยังคงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ”

“ความโหดร้ายนี้จะจบลง ความสันติสุขและความเงียบสงบจะกลับมาอีกครั้ง”

                          งานเขียนชิ้นนี้เผยให้เห็น เด็กสาววัยรุ่น ที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างลึกซึ้งและวาทศิลป์ที่มีพลังมหาศาล ไม่แปลกใจที่ บันทึกของเด็กสาว เล่มนี้ จะมีความสำคัญต่อคนรุ่นหลังในเวลาต่อมา


วาระสุดท้ายของชีวิต

คุณหลวงผลิต

1 สิงหาคม 1942 คือ บันทึกหน้าสุดท้ายของ แอนน์ แฟรงค์  เพราะในวันที่ 4 สิงหาคม 1942 เธอและครอบครัวถูกจับกุมจากที่หลบซ่อนตัวในบริษัทของ อ้อตโต แฟรงค์ หรือพ่อของเธอ และชีวิตของเธอเปลี่ยนไปตลอดกาล

                          เมื่อถูกจับได้ แอนน์ แฟรงค์ ถูกส่งตัวไปที่ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ในเยอรมนี ถูกใช้แรงงานหนักทั้งลากหินและถางหญ้า ก่อนจะเสียชีวิตในเดือนมีนาคม ปี 1945  ในวัยเพียง 15 ปี ด้วยโรคระบาดอย่าง ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดใหญ่ ซึ่งจากการติดเชื้อในสถานกักกันที่อาหารและสุขาภิบาลแสนโสโครก  นั่นคือช่วงเวลาก่อนที่ทหารอังกฤษจะปลดปล่อยค่ายกักกันที่เธออยู่ไม่นานนัก  หรือช่วงเวลาที่ชาวยิวกว่า 1 ล้านคนเสียชีวิตจากกการเป็นเหยื่อหายนะสงครามโลกครั้งที่ 2

คุณหลวงผลิต

                          แม้จะถูกปฏิเสธการตีพิมพ์มาแล้วหลายสำนักพิมพ์ แต่ในที่สุด บันทึกของเด็กสาว ก็ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในชื่อ Het Achterhuis ใน เยอรมนี และ ฝรั่งเศส ปี 1950  และในชื่อ Anne Frank: The Diary of a Young Girl ใน สหรัฐอเมริกา ปี 1952 โดยได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดี และประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นที่สุดใน ญี่ปุ่น เพราะเป็นที่นิยมจนมียอดจำหน่ายมากกว่า 100,000 เล่มในการตีพิมพ์ครั้งแรก

                          สำหรับในไทยแล้ว การตีพิมพ์ครั้งแรกไม่เป็นที่สนใจนัก เพราะคนไทยในช่วงนั้นยังไม่นิยมเรื่องราวประวัติศาสตร์โลกและสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่าที่ควร แต่ทางผู้จัดจำหน่ายก็ไม่ได้มีความย่อท้อ ปรับปรุงหน้าตาและเนื้อหาอยู่หลายครั้ง ทั้งปกอ่อนและปกแข็ง รวมทั้งสิ้นกว่า 11 ครั้ง จนกระทั่งกลายเป็นหนังสือที่ทรงอิทธิพลเล่มหนึ่งในศตวรรษนี้

ข้อมูลหนังสือ

บันทึกลับของ แอนน์ แฟรงค์

ผู้เขียน : แอนน์ แฟรงค์

สำนักพิมพ์ : ผีเสื้อ

หมวดหมู่ : นิยาย วรรณกรรมเยาวชน

“ แอนน์ แฟร้งค์ ยังมีชีวิตยืนยาวต่อมา เธอจะมีอายุครบ 89 ปี และหากเธอยึดมั่นปณิธานที่จะเป็นนักเขียน ชาวโลกคงมีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ ของเธอมากมาย ทว่าน่าเสียดายสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เธอจบชีวิตลงขณะอายุเพียง 15 ปี”
คุณหลวงผลิต
www.annefrank.org | Anne Frank Biography (www.biography.com/people/anne-frank-9300892) | The story of Anne Frank (www.annefrank.org/en/Anne-Frank/Anne-Franks-history-in-brief) | Anne Frank (www.britannica.com/biography/Anne-Frank)

คุณหลวงผลิต

MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

ิ