เมื่อสงกรานต์ไม่หรรษา .. หนังสือเปียกน้ำ แต่ซ่อมได้!

Home / Book Tips / เมื่อสงกรานต์ไม่หรรษา .. หนังสือเปียกน้ำ แต่ซ่อมได้!

เมื่อสงกรานต์ไม่หรรษา .. หนังสือเปียกน้ำ แต่ซ่อมได้!

วินาทีแห่งสงกรานต์ที่ออกจากบ้านไม่กี่ก้าวก็โดนสาด ของที่อยู่ในกระเป๋าเปียกปอนไปด้วยน้ำ แม้แต่หนังสือที่ใส่กระเป๋ามาอย่างดีก็ไม่รอดมหันตภัยน้ำนี้ ในเมื่อแก้ปัญหาต้นเหตุไม่ทันแล้ว ขอเสนอวิธีรับมือหนังสือเจอสงคราม ด้วย 10 ขั้นตอนรับมือหนังสือเปียกน้ำได้อย่างทันท่วงที

ข้อควรระวัง: ควรทำการรักษาหนังสือเล่มที่เปียกโดยทันที เพื่อป้องกันการฉีกขาดและเนื้อยุ่ยจนหน้าติดกัน รวมไปถึงการบ่มเพาะเชื้อราหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว

หนังสือเปียกน้ำ แต่ซ่อมได้!

หนังสือเปียกน้ำทำให้หมาด!

หนังสือเปียกน้ำของคุณอยู่ในเลเวลไหน? เปียกหมาด? หรือ เปียกจนน้ำหยดติ๋ง? วิธีเบื้องต้นคือต้องเอาน้ำส่วนเกินออกจากตัวหนังสือให้ได้มากที่สุด อาจจะด้วยการเช็ดด้วยผ้าอย่างแผ่วเบาหรือนำกระดาษมาซับ

ข้อควรระวัง: อย่าเปิดหนังสือเล่มนี้โดยทันที เพราะความเปียกจะทำให้เนื้อกระดาษอ่อนยุ่ย เสี่ยงที่จะนำไปสู่การฉีกขาดได้ง่าย ขั้นตอนนี้เน้นขจัดน้ำที่อยู่ภายนอกของตัวหนังสือเท่านั้น

หนังสือเปียกน้ำ

เตรียมอุปกรณ์

เตรียมผ้าขนหนูหรือกระดาษเพื่อรองรับน้ำ ควรเลือกผ้าขนหนูหรือกระดาษที่ไม่ผ่านการย้อมสี เพราะสีจากตัวผ้าหรือกระดาษาอาจไปรบกวนหนังสือจนหน้าหนังสือเปลี่ยนสีได้

หนังสือเปียกน้ำวางหนังสือตั้งตะหง่าน

นำหนังสือที่เปียกน้ำไปวางบนผ้าที่เตรียมไว้ในลักษณะแบบในรูป คือตั้งตรง

สำหรับหนังสือปกแข็ง

อาจเป็นเรื่องง่ายโดยการแง้มหน้าปกไว้เล็กน้อย (ไม่ต้องแยกหน้ากระดาษ) ทำแบบนั้นจนกว่าหนังสือของคุณจะสามาระวางตรงโดยไม่ต้องแย้ม

สำหรับหนังสือปกอ่อน

อาจยากเสียหน่อย หากไม่อยากเสียหนังสือไปให้หาอุปกรณ์มาพยุงหนังสือไว้ให้ตั้งตรงให้ได้ เช่น ฉากกั้นหนังสือ

หนังสือเปียกน้ำ

สอดอุปกรณ์ไว้ใต้ปก

ขั้นตอนต่อไปคือการนำผ้าหรือกระดาษทิชชูไม่ย้อมสีสอดเอาไว้ใต้ปก และหน้าขั้นปก โดยที่พยายามอย่าไปรบกวนเนื้อหาข้างใน เพราะนั่นอาจเสี่ยงทำให้หน้ากระดาษยับหรือเสียรูปเนื้อแห้งสนิท

หนังสือเปียกน้ำปล่อยให้หนังสือทำตามกระบวนการของมัน

เมื่อทำตามขั้นตอนเรียบร้อยจึงปล่อยให้หนังสือตั้งตรงแบบนั้น เพราะเป็นท่าที่สามารถนำความชื้นและน้ำออกจากหนังสือได้ดีที่สุด

 

เปลี่ยนกระดาษซับน้ำเท่าที่จำเป็น

สังเกตกระดาษซับน้ำใต้ปกเสมอ หากเปียกชุ่มแล้วให้ทำการเปลี่ยนโดยทันที

หนังสือเปียกน้ำ

วางกระดาษรองในทุก ๆ หน้าที่ 20 – 30 ของหน้ากระดาษทั้งหมด

วางกระดาษรองในทุก ๆ หน้าที่ 20 – 30 ของหน้ากระดาษทั้งหมด หากหนังสือของคุณไม่ได้เปียกชุ่มจนต้องรีดน้ำออก ควรทำอย่างเนิบช้าเพื่อป้องกันไม่ให้หนังสือฉีกขาด

ข้อระวัง: อย่าวางกระดาษจนหน้าเกินไปเพราะจะทำให้สันหนังสือบิดงอเสียรูป แต่ถ้าหากปล่อยให้หนังสือแห้งเอง หน้ากระดาษก็อาจเกิดปัญหาเช่นกัน

หนังสือเปียกน้ำ

วางนอนหนังสือแทนการตั้งตรงแบบเดิม

วิธีนี้อาจใช้เวลาอย่างมากเพื่อให้ความชื้นในหน้ากระดาษโอนถ่ายไปที่กระดาษรองซับ และจะได้ผลดีกับอากาศที่ร้อนชื้นอย่างมาก

 

หมั่นเปลี่ยนกระดาษรองซับเมื่อกระดาษแผ่นนั้นอิ่มตัว

ทุกครั้งที่เปลี่ยนกระดาษ พยายามรีดหน้ากระดาษนาบไปกับกระดาษรองซับเพื่อให้แผ่นหน้านั้นเรียบเนียนดังเดิม

หนังสือเปียกน้ำ
ให้ใช้ฉากกั้นหนังสือ 2 อันประกบข้างคงรูปหนังสือ

เมื่อหน้ากระดาษเริ่มแห้งแล้ว ให้ใช้ฉากกั้นหนังสือ 2 อันประกบข้างคงรูปหนังสือ เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนรูป บวมตัว และยังคงเป็นหนังสือที่น่าทะนุถนอม

 

ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีก เช่น ..

หนังสือเปียกน้ำ

การอบด้วยความร้อน

การใช้อบด้วยความร้อน ไม่เกิน 60 องศาเซลเซียสอาจช่วยกู้ชีวิตหนังสือของคุณได้ วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับหนังสือที่เริ่มแห้งและแข็งตัว แต่จะยุ่งยากกับหนังสือปกอ่อน

การแช่ช่องแข็ง

หากไม่มีเวลาในการกู้ชีวิตหนังสือ ให้เอาใส่ถุงซิปล็อคแล้วนำเข้าช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจชบานปลายหากปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ เมื่อมีเวลาพอที่จะรักษามันค่อยเอาออกมาวางทิ้งเพื่อให้มันละลาย จากนั้นเริ่มทำตามวิธีข้างบนได้เลย

 

ข้อห้าม ไม่ควรทำ เมื่อหนังสือเปียกน้ำ

1.ไม่ควรใช้ไดร์-พัดลมเป่า เพื่อให้หนังสือกระพือ เพราะอาจทำให้หนังสือบวมพองผิดรูป

2.ไม่ควรวางซ้อนทับใต้หนังสือ-ของหนัก วิธีนี้จะทำให้รูปหนังสือบิดเบี้ยวและยู่ยี่ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่สมบูรณ์แบบ

3.ไม่ควรเอาไปตากแขวนราว เพราะเนื้อกระดาษที่มีความเปราะบางอาจฉีกขาดได้


แหล่งเรื่องน่ารู้ที่รวบรวมสาระครบรส ทั้งข่าวสารวงการหนังสือ, งานหนังสือ, เทคนิคการอ่าน, หนังสือใหม่, หนังสือแนะนำ รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านกันฟรี ๆ ที่นี่ BOOK.MTHAI