ชัชชาติ ชัชชาติอ่าน

ชัชชาติอ่าน : ชัชชาติ สิทธิพันธุ์อ่านอะไร

Home / สารพันหนังสือ / ชัชชาติอ่าน : ชัชชาติ สิทธิพันธุ์อ่านอะไร

ชัชชาติอ่าน

รองศาสตราจารย์ ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และหนังสือที่อ่าน

.

หากพูดถึงชายที่แข็งแกร่งที่สุด เราจะไม่มีทางเลยที่ไม่เคยได้ยินกันมาบ้าง นั่นคือ รองศาสตราจารย์ ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชายผู้ถูกขนานนามว่า ชายที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี

.

เราเคยเห็นไหมหนังสือที่ชัชชาติชอบอ่าน ก็จะมีคำพูดคมๆอยู่ตลอด “หัวใจสำคัญอยู่ที่ทุกคนอย่าหยุดนิ่ง อ่านเยอะๆ อ่านที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราด้วย แล้วมันก็จะเกี่ยวข้องกับเราเอง หาจุดที่มันมาลากเส้นได้ แล้วก็ลากเส้นเชื่อมโยง” เอาล่ะ เราไปดูหนังสือที่ ชายผู้เเข็งเเกร่งอ่าน ว่าจะมีเล่มไหนมีคำคมดีๆ หรือมีข้อคิดดีๆ กันดีเลยกว่า..

..

.


.

How Democracies Die – ประชาธิปไตยตายได้อย่างไร

.

“How Democracies Die” หรือแปลเป็นไทยว่า “ประชาธิปไตยตายได้อย่างไร”  เขียนโดย Steven Levitsky และ Daniel Ziblit 

.

เนื้อหาในหนังสือได้อธิบายถึงการเสื่อมถอยหรือการตายของประชาธิปไตยในหลายๆประเทศทั่วโลกซึ่งแบ่งได้เป็นสองรูปแบบ คือ

.

แบบที่ 1: ตายด้วยปืนซึ่งหมายถึงการปฎิวัติรัฐประหาร โดยมีประเทศตัวอย่างเช่น อาร์เจนตินา บราซิล โดมินิกัน รีพับลิก กาน่า กรีซ กัวเตมาลา ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ตุรกี อุรุกวัย

.

แบบที่ 2: ตายด้วยเผด็จการ (Authoritarians) ที่ใจจริงแล้วไม่ได้เลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยแต่แฝงมากับขบวนการตามระบอบประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่อำนาจ เช่น ฮิตเลอร์จากเยอรมัน ฮูโก ชาเวซจากเวเนซูเอลา อัลเบอร์โต ฟูจิโมริจากเปรู 

.

ในหนังสือเล่าว่าผู้นำจากการเลือกตั้งในประเทศเหล่านี้ ได้ทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยการใช้องค์กรกลาง เช่น ใช้ขบวนการยุติธรรมเป็นอาวุธ ซื้อหรือกดขี่สื่อไม่ให้แสดงความเห็น เขียนกฎใหม่เพื่อให้ฝ่ายตัวเองได้เปรียบทางการเมือง โดยสิ่งที่น่าเศร้าใจที่สุดคือการใช้สถาบันต่างๆในระบอบประชาธิปไตยในการค่อย ๆ ฆ่าประชาธิปไตยเสียเอง ชัชชาติได้ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กวันที่ 26 มีนาคม 2562

.

Good to Great

.

Good to Great เป็นงานวิจัยกึ่งวิชาการของ Jim Collins ที่ต้องหาคำตอบว่า บริษัทที่ดี (good company) จะแปลงกายตัวเองเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (great company) ต้องทำอะไรบ้าง 

.

ข้อสรุปที่ทีมของ Collins ได้จากการศึกษามีอยู่ 7 ข้อ ดังนี้

  1. ภาวะผู้นำระดับ 5 ผู้นำระดับ 5 เป็นศัพท์ที่ทีมของ Collins ประดิษฐ์ขึ้นมาเรียกผู้นำที่ทะเยอทะยานเพื่อองค์กร ไม่ใช่เพื่อตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้นำระดับนี้มักไม่ค่อยดัง เป็นคนเงียบๆ ยกคำสรรเสริญให้ลูกน้อง แต่เด็ดขาดเรื่องการตัดสินใจ
    .
  2. “ใครทำ” มาก่อน “ทำอะไร” องค์กรที่ยิ่งใหญ่เน้นการสร้างคน การใช้งานคนเก่งๆ โดยจะดึงคนเก่งเข้ามาก่อน แล้วค่อยหางานที่เหมาะสมให้ ไม่ใช่หาตำแหน่งงานก่อนแล้วค่อยดึงคนเก่งเข้ามา
    .
  3. กล้าเผชิญหน้ากับความจริงอันโหดร้าย มีวิธีคิดต่อสู้กับปัญหาหรือวิกฤตของบริษัทอย่างมั่นคง และมั่นใจว่าสุดท้ายจะเอาชนะได้ แต่ไม่ใช่การหลอกตัวเอง วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้ยึดกับการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวได้นาน
    .
  4. แนวความคิดแบบตัวเม่น มีโฟกัสไม่กระจัดกระจาย ยึดสิ่งที่ตัวเองทำได้ดี โดย Collins แบ่งย่อยเป็น ทำได้ดี, ทำเงินได้, รักที่จะทำ ซึ่งบริษัทที่ยิ่งใหญ่ต้องหาจุดซ้อนกันของทั้งสามปัจจัยให้เจอ
    .
  5. มีวัฒนธรรมแห่งความมีวินัย ไม่ใช่แค่มีกฎ แต่วัฒนธรรมองค์กรต้องสร้างวินัยให้พนักงานโดยไม่รู้ตัว สภาพบังคับด้วยกฎมีไม่เยอะ แต่กดดันเชิงสังคมภายในองค์กรมาก
    .
  6. มองเทคโนโลยีเป็นตัวเร่ง ไม่ใช่จุดเปลี่ยน บริษัทที่ดีเปลี่ยนมายิ่งใหญ่ได้เพราะปัจจัยทางยุทธศาสตร์ ไม่ใช่ค้นเจอเทคโนโลยีใหม่ๆ แล้วยิ่งใหญ่ทันที เทคโนโลยีเป็นแค่ตัวเร่งให้ยิ่งใหญ่เร็วขึ้นเท่านั้น
    .
  7. ทำซ้ำๆ บริษัทที่ยิ่งใหญ่จะต้องสะสมพลังของตัวเองก่อนถึงจะระเบิดคอสโมกลายร่างเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้ ซึ่งบริษัทพวกนี้บางรายต้องใช้เวลา 10-20 ปีสะสมพลัง โดยกระทำขั้นตอนที่ 1-6 ซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆ จนมั่นคงก่อน


    Good to Great เป็นงานวิจัยกึ่งวิชาการของ Jim Collins ที่ต้องหาคำตอบว่า บริษัทที่ดี (good company) จะแปลงกายตัวเองเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (great company) ต้องทำอะไรบ้าง Good to Great แสดงตัวอย่างของบริษัทเปรียบเทียบที่ล้มเหลวว่า มักเปลี่ยนโฟกัสของบริษัทกลับไปกลับมา มีระเบียบวินัยน้อย ซีอีโอเก่งคนเดียวไม่เน้นสร้างทีมบริหารที่ยืนระยะได้ยาว หรือเน้นการประชาสัมพันธ์โอเวอร์เกินเหตุ 

.

Designing Your Life

.

เราจำเป็นต้องทำงานในสาขาที่เรียนมาไหม จะทำอย่างไรถ้าเราเพิ่งรู้ตัวว่าเลือกทางผิด? เราเข้าใจธุรกิจของตนดีพอแค่ไหน? เราจะสร้างสมดุลระหว่างงานและครอบครัวได้อย่างไร? หากสิ่งที่เราฝันดูไกลเกินเอื้อม เราควรหยุดแค่นี้หรือพยายามต่อไป?

.

“ชีวิตที่ดี” เป็นเป้าหมายที่ใครต่อใครใฝ่หา แต่ชีวิตไม่ได้มีสูตรตายตัวเหมือนคณิตศาสตร์ เราต่างเผชิญปัญหาไม่คาดคิด ทางเลือกโหดหิน และความล้มเหลวได้ทุกเมื่อ การฝ่าฟันอุปสรรคในชีวิตไม่อาจพึ่งพาโชคหรือความทุ่มเทเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัย ‘สายตา’ ที่มองทะลุถึงปัญหาและแก้ไขให้ถูกจุด นี่คือวิธีคิดอย่างนักออกแบบ หรือ Design Thinking

.

บิล เบอร์เนตต์ และเดฟ อีวานส์ คือนักออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นนำผู้ประยุกต์ใช้ Design Thinking เข้ากับการออกแบบชีวิต และเป็นผู้ริเริ่มหลักสูตร Designing Your Life ซึ่งกลายเป็นวิชายอดนิยมแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนังสือเล่มนี้กลั่นกรองประสบการณ์และเคล็ดลับที่ผู้เขียนสั่งสมมาตลอดหลายปี ตั้งแต่วิธีค้นหาปัญหาที่ถูกต้อง การสร้างทีม การออกแบบงานในฝัน ไปจนถึงการสร้างภูมิคุ้มกันความล้มเหลว

.

ไม่ว่าคุณจะอยูในช่วงวัยใด ทำอาชีพอะไร กำลังไล่ตามความฝันหรือยังหลงทางไร้จุดหมาย หนังสือเล่มนี้คือเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณ ‘ออกแบบชีวิต’ ที่ปรารถนา โดยไม่มีคำว่า ‘สายเกินไป’

.

Zero to One

.

    คนส่วนใหญ่สร้างธุรกิจด้วยการเลียนแบบและต่อยอดจากธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอย่างมากก็จะประสบความสำเร็จ “พอประมาณ” และ “เพียงชั่วคราว” แต่ถ้าคุณอยากให้ธุรกิจประสบความสำเร็จแบบ “สั่นสะเทือนวงการ” และ “ทำกำไรไปอีกหลายสิบปี” คุณควรสร้างธุรกิจจาก 0 เป็น 1   ซึ่งหมายถึงการสร้างสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

.

    “ปีเตอร์ ธีล” ผู้ก่อตั้งเพย์พาลและนักลงทุนระดับตำนานของซิลิคอนวัลเลย์ จะเปิดเผยความลับและแนะนำหลักการในการสร้างธุรกิจจาก 0 เป็น 1 ที่จะสร้างผลตอบแทนอย่างงดงามให้กับคุณเป็นสิบหรือเป็นร้อยปีโดยที่ไม่ต้องแข่งขันกับใครอีกต่อไป ซึ่งเป็นแนวทางที่กูเกิล แอปเปิล อะเมซอน เพย์พาล และเฟซบุ๊กนำไปใช้จนก้าวจากศูนย์ขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ชนิดไม่มีใครตามทัน!

.

Thinking Fast and Slow

.

หนังสือเล่มนี้ก็พูดถึงระบบการตัดสินใจของมนุษย์ ทั้งอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้บางทีเราตัดสินใจได้เร็ว แต่บางทีก็ช้า หรือทำไมเราถึงมักจะวิเคราะห์สิ่งต่างๆ จากสถิติ รวมไปถึงเรื่องข้อจำกัดในการคิดและความไร้เหตุผลของคนเราด้วย

.


Sources: