อะไรที่เยอะเกินไป จงตัดใจแล้วจะสุข | แบกไว้ทุกเรื่อง ไม่ไหวหรอกนะ

อะไรที่เยอะเกินไป จงตัดใจแล้วจะสุข | แบกไว้ทุกเรื่อง ไม่ไหวหรอกนะ

บทความนี่จะชี้ทางสว่างให้กับใครหลายคนที่รู้สึกหนัก ๆ ที่บ่า ลามไปถึงหัวใจ ชีวิตไม่สดใสเหมือนก่อน  “ทำไมชีวิตช่วงนี้มันหนักอึ้งเสียเหลือเกิน” ….ใช่แล้วล่ะ, อะไรที่เยอะเกินไป หนักเกินไป ก็ต้องตัดมันทิ้ง! แม้แต่เรื่องที่คิดว่าสำคัญมากในชีวิตก็ต้องตัด!

แม้หลายภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนตื่นตัวให้คนไทยออมเงิน แต่แทบไม่มีวิชาไหนในหลักสูตรการเรียนที่สอนวิชาการจัดการเงินส่วนบุคคล… เราแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ บัตรเครดิต, อัตราดอกเบี้ย, บัญชีเงินออมเพื่อเกษียณ หรือแม้แต่อะไรต่าง ๆ ที่ทำให้เราตระหนักว่า ต้องออมเงินจริงจังแล้วนะ ไม่อย่างนั้นแก่ตัวไปจะอดตาย  จนกระทั่งเข้าถึงช่วงวัยพร้อมเป็นหนี้ อยู่ดี ๆ ก็หลงกลโปรโมชั่นบัตรวิเศษเงินพร้อมใช้เข้าให้อย่างจัง เป็นอันเข้าใจไปเองว่า อ๋อ,การเป็นหนี้นั้นไม่ได้ยาก แต่การใช้หนี้นี่แหละที่ยาก

 

อายุน้อย (หนี้) ร้อยล้าน

 

 


เราไม่ได้บอกให้คุณเลิกมีสังคมและไม่คบใคร เพราะตราบใดที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและคุณเองไม่ได้อยู่ในสูญญากาศ พันธะสังคมที่ก่อตัวขึ้นมาจะทำให้คุณมีความสุขและเรียนรู้วิธีการในการจัดการความสัมพันธ์ได้อย่างแข็งแกร่ง  แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รับมือกับความสัมพันธ์ได้อย่างอยู่หมัด เมื่อพบเจอกับความผิดหวัง หลายคนเอาชีวิตไปจบดิ่งกับห้วงเวลาไร้ค่าอย่างไร้เหตุผล

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่า บุคคลจะใช้เวลาจัดการความเศร้าโศกเสียใจในเรื่องของความรัก เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี เพื่อเรียนรู้และอยู่กับชีวิตที่มีการสูญเสีย โดยมีปฏิกิริยาตอบสนอง 5 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะปฏิเสธ 2) ระยะโกรธ 3) ระยะต่อรอง 4) ระยะซึมเศร้า และ 5) ระยะยอมรับ

แนวทางที่จะช่วยให้คุณจัดการปัญหาหัวใจได้โดยไม่เสียเวลา สิ่งสำคัญคือความคิด ให้คิดไว้เสมอว่าทุกคนผิดหวังและเสียใจได้ จงแสดงความรู้สึกออกมา ไม่ว่าจะร้องไห้, โกรธ หรือผิดหวังอย่างหนัก และเพื่อให้ก้าวผ่านไปได้ ควรจัดตารางชีวิตในแต่ละวันเพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนและไม่จมปลักกับความเศร้า

คุณไม่จำเป็นต้องตอบทุกคำถามของชีวิต ปล่อยเบลอไปบ้างก็ได้ แต่อย่าปล่อยปะละเลยสุขภาพร่างกาย  ให้เวลาตัวเองเพื่อพักทั้งร่างกายและจิตใจ อาจพักการทำงานไว้ก่อน ที่สำคัญหากรู้สึกไม่ดีขึ้นใน 2 – 3 สัปดาห์ ให้ปรึกษาแพทย์


กรมสุขภาพจิตเปิดเผยข้อมูลว่า วัยทำงาน เป็นกลุ่มที่เกิดความเครียดสูงมากเป็นอันดับ 1 จากคนไทยทั้งหมด และมีอัตราการโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 กว่าแสนสายสนทนา โดยเรื่องที่ทำให้เครียดมาจาก การทำงาน, ครอบครัว, และเศรษฐกิจ (2561) เพราะภาวะหมกมุ่นในการทำงาน งาน และงาน จนเหมือนว่างานเยอะเกินไป ทำอะไรก็ใม่ทัน แม้แต่เวลาส่วนตัวก็แทบไม่มี เลยทำให้หลายคนรู้สึกเหนื่อยล้า เวลาที่ต้องหอบงานมาทำบ้านและพักผ่อนไม่เพียงพออย่างที่ควร นี่คือภาวะของคนงานเยอะเกินไปหรือบริหารเวลาไม่เป็นกันแน่?

นี่คือวิธีที่จะกู้คืนเวลาที่งานขโมยไปกลับมา

WORK CALENDAR จัดสรรเวลาให้เป็น เรียงลำดับจากเรื่องที่สำคัญมากไปน้อย

ตัวช่วย: การเขียนตารางเวลาจะช่วยให้คุณรู้ตัวเองว่าควรทำอะไรก่อน-หลัง เพื่อให้ทุกอย่างเสร็จตามเวลาที่กำหนด นอกจากงานจะเสร็จแล้วยังมีเวลาไปทำอย่างอื่นให้รีแลคซ์อีกด้วย

 

WORK FOR WORK สมองแล่นเวลาไหน ต้องรู้ตัวเอง

เคยเป็นไหม.. นั่งคิดงานตอนเช้าแทบเป็นแทบตายก็คิดไม่ออก แต่พอตกเย็นเท่าไหร่ล่ะ ไอเดียผุดมาเป็นดอกเห็ด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะสมองของคนเราทำงานต่างกัน เพราะฉะนั้นหาตัวตนของตนเองเสีย จะได้รู้ว่าคุณเป็นคนเวลาไหน?

DO NOT DISTURB อย่ากวน จะทำงาน.. (ให้เสร็จ)

ปิดการแจ้งเตือนทุกชนิดให้เรียบร้อยก่อนจะดื่มด่ำกับการทำงาน เพราะทุกครั้งที่คุณจับมือถืออาจกินเวลานานถึง 30 นาที นอกจากงานจะไม่เดินแล้ว ยังเสียเวลาอย่างเปล่าประโยชน์อีกด้วย

 

ALL THE LIFE HAVE LIMIT มีลิมิต ชีวิตอย่าเกินร้อย

แบตโทรศัพท์ยังมีวันหมดเลย นับประสาอะไรกับคน ..ทุกคนย่อมรู้อยู่แก่ใจอยู่แล้วว่าทำงานไปถึงแค่ไหนถึงจะไม่ไหว เมื่อรู้ว่าไม่ไหวก็อย่าฝืน เพราะนั่นจะนำไปสู่อาการเจ็บปวดต่าง ๆ รวมถึงความเครียดสะสมที่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเอาเสียเลย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่องานเข้าอย่างจังเลยล่ะ

 

คนญี่ปุ่นเรียกภาวะทำงานหนักจนเสียชีวิตว่า “คาโรชิ” เป็นการทำงานที่หนักท่ามกลางภาวะกดดันจนนำไปสู่การเสียชีวิต ซึ่งในปี 2017 รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว หลังจากมีผู้เสียชีวิตจากการทำงานสูงถึง 191 คน


นอกจาก 3 ด้านสำคัญในชีวิตที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมแล้ว ยังมีสิ่งไหนอีกบ้างที่หากตัดใจไม่ทำแล้วชีวิตจะเป็นสุขมากขึ้น ค้นหาคำตอบได้ที่ “อะไรที่เยอะเกินไป จงตัดใจที่จะไม่ทำ” …….ตัดให้ขาดเลยฉับ ฉับ ฉับ พร้อมกันได้ในเล่มนี้


brandinside.asia , www.pier.or.th , www.bangkokbiznews.com , www.thansettakij.com , www.thairath.co.th , www.ns.mahidol.ac.th และ www.thairath.co.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040