Bullying กลั่นแกล้ง พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข หนังสือ แกล้ง

เพราะว่าการกลั่นแกล้งกัน อันตรายกว่าที่คิด .. STOP BULLYING !

Home / Editor Picks / เพราะว่าการกลั่นแกล้งกัน อันตรายกว่าที่คิด .. STOP BULLYING !

รู้หรือไม่? เด็กไทยถูก กลั่นแกล้ง ติดอับดับ 2 ของโลก

แม้ชีวิตวัยรุ่นจะเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่หลายคนอยากย้อนกลับไป แต่ในยุคสมัยที่โลกโหดร้ายและป่าเถื่อนขึ้นทุกวัน วัยรุ่นบางคนยักไม่สนุกกับการเป็นตัวเอง เด็กหลายคนเผชิญเข้ากับภาวะถูกกลั่นแกล้ง และจัดการนั้นไม่ได้ เมื่อโตไปเป็นผู้ใหญ่ คุณจะเข้าใจว่าการแกล้งกันนี่แหละ มีผลกระทบต่อชีวิตมากแค่ไหน


หากเปลี่ยนคำพูด จิตใต้สำนึกจะพลอยเปลี่ยนไปด้วย

หนังสือ พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข


การ กลั่นแกล้ง คืออะไร? (Bulling)

การกลั่นแกล้งถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นพฤติกรรมที่มีมากในช่วงวัยเรียน และพฤติกรรมนี้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ  หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกในช่วงเวลาใกล้เคียง ซึ่งส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างร้ายแรง ทั้งกับคนที่ถูกแกล้ง และ คนที่แกล้ง

กลั่นแกล้ง

ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้ง:

ความไม่สมดุลของพลัง:

เด็กที่ชอบแกล้งคนอื่น โดยใช้พลังและความแข็งแกร่งของตัวเองในทางที่ผิด ทั้งกลบปมด้อยของตัวเอง หรือแม้แต่สร้างความนิยมชมชอบ พฤติกรรมนี้เป็นผลมาจากการควบคุมพลังของตัวเองบกพร่อง ซึ่งพลังที่ไม่สมดุลนี้ สามารถเปลี่ยนแปลง ผันแปลได้ตลอดเวลา

การทำซ้ำ:

พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีโอกาสเกิดขึ้นอีก มากกว่า 1 ครั้ง เสมือนพฤติกรรมกระจายตัว เช่น การคุกคามแพร่กระจ่ายข่าวสารโจมตีบุคคลด้วยข่าวลือ จะเกิดการบอกต่อปากต่อปากไปในวงกว้าง ถือเป็นการทำซ้ำเช่นกัน


พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1.การกลั่นแกล้งทางคำพูด (Verbal Bullying)

การพูดหรือเขียนบางสิ่งเพื่อกลั่นแกล้ง เช่น การล้อเลียน, การล้อชื่อ, การล้อเลียนเพศ, การด่าทอ รวมไปถึงการข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว

2.การกลั่นแกล้งทางสังคม (Social Bullying)

บางครั้งเรียกว่า “การกลั่นแกล้งเชิงสัมพันธ์” เป็นการทำให้เสียชื่อเสียงหรือทำลายความสัมพันธ์ของใครบางคน เช่น การแบนหรือเพิกเฉยบางคนออกจากชีวิต, การบอกคนอื่นว่าอย่าไปคบหากับบางคน, การกระจายข่าวลือบางอย่าง รวมไปถึง การทำให้คนอับอายในที่สาธารณะ

3.การกลั่นแกล้งทางกายภาพ (Physical Bullying)

การกลั่นแกล้งทางร่างกาย หรือ การทำร้ายร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลนั้น เช่น การต่อย/ตบ/ชก, ถ่มน้ำลายใส่, การผลักหรือสกัดขา, การทำลายข้าวของของบางคน รวมถึงการแสดงภาษามือที่หยาบคายใส่คู่กรณี


นิตยสาร NEW YORK MAGAZINE รายงานผลการศึกษาของ Nation Academies of Sciences Engineering and Medicine ว่า การข่มขู่ รวมถึงการกลั่นแกล้ง มีผลกระทบโดยตรงทางจิตวิทยาในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งกับผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง และ ผู้แกล้ง


4.การกลั่นแกล้งผ่านโลกดิจิตอล (Cyberbullying)

การกลั่นแกล้งอีกรูปแบบผ่านการใช้อินเตอร์เน็ต เจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงหรือทำให้ผู้อื่นลำบาก โดยเฉพาะเมื่อเป็นโลกออนไลน์แล้ว การกลั่นแกล้งนี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าร้ายแรงอย่างมากในยุคสมัยปัจจุบัน

คุณลักษณะเฉพาะที่ทำให้ Cyberbullying ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรง

  • การแอบอ้างหรือแอบแฝงที่ไม่เปิดเผยชื่อ
  • ภัยคุกคามอันตรายในลักษณะซุบซิบนินทา
  • ผู้กระทำความผิดและผู้สังเกตการณ์ไม่ชัดเจน
  • โลกไซเบอร์ไร้สัญชาติ ไม่มีขอบเขต
  • สามารถเกิดได้ 24/7 (ทุกเวลา)
  • ไม่จำกัดสถานที่
  • ไม่ได้จบแค่ในโลกออนไลน์ (แม้จะเกิดขึ้นในออนไลน์)
  • ผู้หญิงมีโอกาสถูกกลั่นแกล้งมากกว่าเป็น 2 เท่าของผู้ชาย
  • ทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ มีโอกาสโดนกลั่นแกล้งเท่าเทียมกัน

ข้อควรรู้:

เมื่อโดนกลั่นแกล้งผ่านโลกดิจิตอล(Cyberbullying)  ต้องเก็บหลักฐานเพื่อใช้ในข้อกฎหมาย โดยหลักฐานที่นำเข้าแจ้งความจะต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือน  ถึงแม้ว่าในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เจาะจงเฉพาะ Cyberbullying แต่มีกฎหมายที่คาบเกี่ยว เช่น การหมิ่นประมาท (มาตรา 326)

  1. หมิ่นประมาทธรรมดา (คนอื่นอ่าน 1 คน): คุยแชทส่วนตัว แล้วมีคนมาเห็น
  1. หมิ่นประมาทโดยโฆษณา (คนอื่นอ่านมากกว่า 1 คน): โพสต์สาธารณะ หรือ เพจ

 

กลั่นแกล้ง

บทบาทการกลั่นแกล้ง

ไม่ใช่แค่การเล่นพ่อแม่ลูกหรอกนะที่มีบทบาท เพราะการกลั่นแกล้งเองก็มีบทบาทให้พวกเขาได้จำลองตัวเอง บางคนอาจเป็นคนกลั่นแกล้ง, เป็นพยานในการกลั่นแกล้ง หรือ มีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้ง ในบางครั้งหนึ่งคนก็อาจเล่นหลายบทบาท เด็กบางคนอาจเคยถูกแกล้ง แล้ววันหนึ่งมาเป็นคนแกล้งเสียเอง หรืออาจเคยโดนแกล้งจนวันนึงต้องมาเป็นคนพบเห็นการโดนแกล้ง

ผู้แกล้งต้องการอะไร?

  • เพื่อนของเขาทำ เขาเลยทำ
  • อยากดูเท่ในสายตาคนอื่น
  • อยากก่อกบฏกับผู้ปกครอง
  • อยากทำตัวเหมือนผู้ใหญ่
  • มีนิสัยชอบรังแกโดยธรรมชาติ
  • เรียกร้องความสนใจ
  • อยากได้ความนิยมชมชอบ

กลั่นแกล้ง

ผลกระทบในระยะยาว เมื่อคนเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่

คนที่ข่มขู่ผู้อื่นหรือมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งที่มีความรุนแรง จะมีแนวโน้ม:

  • ใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติด ในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
  • มีเรื่องชกต่อย, ทำลายทรัพย์สิน และ เรียนไม่จบ
  • แต่งงานเร็ว หรือ เริ่มพฤติกรรมทางเพศเร็ว
  • อาจข้องเกี่ยวกับคดีอาญา
  • ดูถูกคู่ครอง หรือ บุตรหลาน เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

เหยื่อที่โดนกระทำ หรือ ถูกรังแก อาจประสบปัญหาทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้:

  • ภาวะซึมเศร้าและวิตกจริต นอนไม่หลับ, ไม่ค่อยอยากอาหาร, เริ่มไม่ค่อยสนใจในสิ่งที่ชอบ ปัญหาเหล่านี้อาจลุกลามไปสู่วัยผู้ใหญ่
  • ผลการเรียนตกต่ำ นำไปสู่อนาคตที่ไขว้เขว

คนยืนดู หรือ  พยานรู้เห็นในการกลั่นแกล้ง มีแนวโน้ม:

  • ใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติด ในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
  • มีปัญหาสุขภาพจิต รวมไปถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกจริต

การเอาแต่ “บ่น” ถึงสิ่งที่ไม่พอใจ

มีแต่จะขับไล่ความสุข

หนังสือ พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข


การกลั่นแกล้ง กับเด็กไทย?

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในขณะนี้ภาวะการกลั่นแกล้งกันในประเทศไทยได้ทวีคูณความรุนแรงขึ้น แม้ผู้ใหญ่บางคนจะมองว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่การกลั่นแกล้งดังกล่าวนำไปสู่สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ และที่น่าตกใจคือการกลั่นแกล้งนี้ลุกลามไปถึงเด็กวัยอนุบาลแล้ว

กลั่นแกล้ง

จากสถิติพบว่าปัจจุบัน เด็กและเยาวชนไทย ถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 6 แสนคน (40% ของนักเรียนทั้งหมดในประเทศ) หรือจัดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งมาจากการเข้าถึงสื่อโซเชียลง่ายและผู้ปกครองมีเวลาดูแลเอาใจใส่น้อย เด็กเรียนรู้ผ่านหน้าจอ ใช้เวลาไปกับเกม, สื่อต่าง ๆ โซเชียล และ เพื่อน มากกว่า ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบด้านความรุนแรง พฤติกรรมที่ไม่สมควร จนนำมาสู่การกลั่นแกล้งในที่สุด


เมื่อโดนกลั่นแกล้ง เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่ไว้ใจที่จะเล่าปัญหาและขอคำปรึกษาจากพ่อแม่


การกลั่นแกล้งดังกล่าว ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาเล็กน้อยอย่างที่ผู้ใหญ่บางคนมอง เพราะเด็กที่เผชิญกับการกลั่นแกล้ง เช่น การรังแก และ ล้อเลียน รวมไปถึงการรังแกผ่านสื่อออนไลน์ ทั้ง ข้อความ ภาพ หรือวิดีโอ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าอันเป็นปัญหาทางจิตในที่สุด


คำพูดมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของคนได้

แต่คนมากมายกลับไม่รู้และไม่เคยสนใจ

คำพูดที่ใช้อยู่ทุกวัน

หนังสือ พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข


NOBODY’S PERFECT

แม้ในประเทศไทยยังไม่ได้มีมาตรการจัดการกับเรื่องนี้อย่างสมควรนัก และที่น่าเป็นห่วงคือ เหยื่อส่วนใหญ่มีอายุน้อยลงทุกวัน การกลั่นแกล้งเพียงอย่างเดียวอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายไม่ได้ก็จริง แต่การปล่อยปะละเลยจากผู้ปกครอง และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความไร้วุฒิภาวะ อาจนำไปสู่เรื่องราวที่บานปลายในที่สุด เพราะฉะนั้นคิดสักนิดก่อนจะทำร้ายหรือกลั่นแกล้งใครก็ตามหากไม่อยากมีตราบาปติดตัวไปตลอดชีวิตหรือโดนตราหน้าว่าเป็นไม่ดี ..เพราะทุกคนมีความเป็นมนุษย์เหมือนกันและคงไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปเสียทุกเรื่อง บางครั้งอาจมีด้านมืดที่ไม่อยากให้ใครเห็น เฉกเช่นตัวเรา เพราะฉะนั้นก่อนจะทำร้าย ก็ให้คิดถึงความเป็นมนุษย์ตรงนี้สักนิด


คำพูดเปลี่ยนไป ชีวิตเปลี่ยนแปลง

หนังสือ พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข


หยุดพูดร้ายให้กับคนอื่น แล้วหันมาพูดเรื่องดี ๆ กันดีกว่า กับหนังสือ “พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข” นอกจากจะไม่สร้างความทุกข์ให้ชีวิตคนอื่น ยังประกอบร่างความสุขให้กับตัวเองได้อีกด้วย คิดดี พูดดี แบบนี้ชีวิตจะไม่มีแต่เรื่องดี ๆ ก็คงไม่ได้

กลั่นแกล้ง


แหล่งเรื่องน่ารู้ที่รวบรวมสาระครบรส ทั้งข่าวสารวงการหนังสือ, งานหนังสือ, เทคนิคการอ่าน, หนังสือใหม่, หนังสือแนะนำ รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านกันฟรี ๆ ที่นี่ BOOK.MTHAI