Milk and Honey Rupi Kaur the sun and her flowers ชนชั้น ผู้ลี้ภัย ผู้หญิง ผู้หญิงอินเดีย รูปี กอร์ ในมือเธอมีดอกทานตะวัน

the sun and her flowers ตีแผ่ชีวิต “ผู้หญิง” อินเดีย แสนไร้ค่า

Home / Editor Picks / the sun and her flowers ตีแผ่ชีวิต “ผู้หญิง” อินเดีย แสนไร้ค่า

เป็นหนังสือที่ย่อยง่ายแต่แฝงไปด้วยเรื่องราวแสนหนักอึ้งอยู่พอสมควรสำหรับ the sun and her flowersหรือ “ในมือเธอมีดอกทานตะวัน” หนังสือปกสวยที่ใช้วิธีเล่าเรื่องผ่านบทกวี ภาษาสละสลวยแต่ทว่าเข้าใจง่าย

หากถามว่าเนื้อหาโดยรวมของ สำหรับ “the sun and her flowers” หรือ “ในมือเธอมีดอกทานตะวัน” นั้นกล่าวถึงอะไร ก็ต้องบอกกันตรงๆ รูปี กอร์นั้นได้บอกเล่าเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตที่ผ่านความรักหวานชื่นจนถึงวันเลิกราที่แสนร้าวรานเจ็บปวด ทั้งยังบอกเล่าถึงความข้นแค้นของครอบครัวในฐานะผู้ลี้ภัย ความลำบากของในชีวิตของแม่ของเธอ

แต่อีกเรื่องที่รูปี กอร์ ได้สอดแทรกไว้ใน สำหรับ “the sun and her flowers” หรือ “ในมือเธอมีดอกทานตะวัน” อยู่เนืองๆ ก็คือการตีแผ่ชีวิต “ลูกผู้หญิง” ในสังคมอินเดีย

อย่างที่เราๆ ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสังคมประเทศอินเดียนั้นให้ความสำคัญกับ “ผู้ชาย” มากกว่า “ผู้หญิง” ซึ่งเป็นวัฒนธรรม ความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มองว่าผู้ชายมีอำนาจมากกว่า ได้รับสิทธิทางสังคมมากกว่า ถึงขั้นมีคำกล่าวที่ว่าในอินเดียนั้นเกิดเป็นวัวยังดีกว่าเกิดเป็นผู้หญิง เพราะตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูนั้น “วัว” เป็นยานพาหนะของพระศิวะ ชาวบ้านจึงต้องนับถือ ยกย่องและดูแลอย่างดี

ผิดกับผู้หญิงในสังคมอินเดียที่แทบไม่มีบทบาทใดๆ เลยทั้งในครอบครัวหรือสังคม อีกทั้งประเพณีการแต่งงานที่ผู้หญิงจะต้องเสียค่าสินสอดจำนวนมากเพื่อไปแต่งงานกับผู้ชาย โดยถือว่าสินสอดเหล่านี้คือค่าเลี้ยงดูที่ฝ่ายชายจะต้องรับภาระดูแลผู้หญิงคนหนึ่งไปตลอดชีวิต ซึ่งค่าสินสอดที่ผู้หญิงจะมอบให้แก่ผู้ชายนั้นบางครั้งอาจมีมูลค่ามากกว่าเงินเดือนทั้งปีของพ่อแม่เสียอีก

ด้วยประเพณีนี้เองส่งผลให้ชาวอินเดียไม่อยากมีลูกสาวเพราะบางคนอาจจะต้องเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันที่ลูกสาวลืมตาดูโลกเพื่อเตรียมเป็นสินสอดในอนาคต ผิดกับการมีลูกชายที่พ่อแม่เป็นฝ่ายได้สินสอด รวมถึงความเชื่อที่ว่าลูกชายเท่านั้นที่เป็นผู้ส่งดวงวิญญาณพ่อแม่ขึ้นสรรค์ คติเหล่านี้เองทำให้ชาวอินเดียหรือชาวฮินดูนั้นเลือกที่จะทำแท้งหากรู้ว่าลูกในท้องเป็นผู้หญิง หรือหากให้ลืมตาดูโลกก็อาจฆ่าให้ตายภายหลัง หรือเลี้ยงดูอย่างทิ้งขว้าง

เรื่องราวเหล่านี้ได้รับการสะท้อนผ่านบทกวีของรูปี กอร์ ในหลายๆ บทของ “the sun and her flowers” แม้เป็นเพียงกวีบทสั้นๆ แต่กลับบอกเล่าถึงความเจ็บปวดได้มากมายเหลือเกิน

สำหรับ “the sun and her flowers” หรือ “ในมือเธอมีดอกทานตะวัน” ผลงานเขียนเล่มที่สองของนักเขียนสาว รูปี กอร์ (RupiKaur) นักประพันธ์ ศิลปิน และผู้ลี้ภัยชาวแคนาดาเชื้อสายอินเดีย ที่เคยฝากผลงานไว้ในหนังสือ“milk and honey” หรือ “ปานหยาดน้ำผึ้ง” ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 35 ภาษา และถูกตีพิมพ์แล้วกว่า 2.5 ล้านเล่ม