#สำนวนจีน #เทศกาลหยวนเซียว #เทศกาลโคมไฟ

4 สำนวนและวัฒนธรรมจีนที่แฝงอยู่ใน “สวนสนุกแห่งการลงทัณฑ์ รักในฝันของฝางซือฉี

Home / Editor Picks / 4 สำนวนและวัฒนธรรมจีนที่แฝงอยู่ใน “สวนสนุกแห่งการลงทัณฑ์ รักในฝันของฝางซือฉี

หนอนหนังสือและนักอ่านหลายคนคงทราบดีว่าคนจีนนั้นมักใช้สำนวนหรือวลีเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ซึ่งปรากฏอยู่มากมายในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมโบราณหรือวรรณกรรมร่วมสมัย การใช้คำพ้องเสียงมาเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของภาษาจีน รวมไปถึงวัฒนธรรมเก่าแก่ต่างๆ ก็มักแฝงอยู่ในวรรณกรรมให้ผู้อ่านได้รับความรู้ร่วมไปกับความบันเทิง

ในนิยายเนื้อหาหนักหน่วงอย่าง “สวนสนุกแห่งการลงทัณฑ์ รักในฝันของฝางซือฉี” ของนักเขียนรุ่นใหม่อย่าง “หลินอี้หาน” ก็เช่นกัน เธอได้แฝงความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมผ่านตัวละคร โดยเฉพาะตัวเอกของเรื่อง “หลี่กั๋วหัว” อาจารย์พิเศษที่มีความรู้ด้านวรรณกรรมเป็นอย่างดี ขณะที่ “ฝางซือฉี” นางเอกของเรื่องเองก็หลงใหลการอ่านวรรณกรรมเช่นกัน

 

1. เทศกาลหยวนเซียว元宵(เทศกาลโคมไฟ)

เรื่องราวในนิยายเปิดตัวมาด้วยการกล่าวถึง “เทศกาลหยวนเซียว”คําว่า  元(หยวน) มีความหมายว่า “แรก” หมายถึง เดือนแรกของปี และคําว่า宵 (เซียว) หมายถึง กลางคืน รวมกันจึงมีความหมายว่าพระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกในรอบปี นั่นก็คือคืนแรกหลังวันตรุษจีน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ําเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีนนั่นเอง

เทศกาลหยวนเซียวนั้นจะมีการแขวนโคมไฟหรือเด็กๆ จะถือโคมไฟออกไปเดินเล่น เทศกาลนี้จึงเรียกอีกอย่างว่า “เทศกาลโคมไฟ” รวมถึงการทานขนมหยวนเซียว (เรียกตามภาคเหนือของประเทศจีน) หรือในนิยายเรียกว่าขนมทังหยวน (เรียกตามภาคใต้ของประเทศจีน) เป็นขนมก้อนสีขาวทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ราดน้ำเชื่อมตล้ายบัวลอย

 

2. สำนวน “ต้มโจ๊กโทรศัพท์” หมายถึง คุยโทรศัพท์นานมาก

สำนวน “ต้มโจ๊กโทรศัพท์” นั้นเป็นสแลงที่มาจากภาษาจีนกวางตุ้ง คือคำว่า煲电话粥(เปาเตี้ยนฮว่าโจว)โดยแต่ละคำมีความหมาย คือ煲(เปา) หมายถึง เคี่ยว , 电话(เตี่ยนฮว่า) หมายถึง โทรศัพท์
และ粥 (โจว) หมายถึงโจ๊ก เมื่อนำมารวมกันก็หมายถึงการเคี่ยวหรือต้มโจ๊กนานๆ จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับการคุยโทรศัพท์เป็นเวลานานนั่นเอง

3. กงปี่ฮั่ว工笔画ศิลปะการวาดภาพอย่างหนึ่งของจีน

ศิลปะการวาดภาพของจีนนั้นมีมานับพันปี ซึ่งมีวิธีการและเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป สำหรับ 工笔画 (กงปี่ฮั่ว) เป็นวิธีการที่เน้นความโดดเด่นในการใช้พู่กัน  (笔) เน้นภาพที่มีพิถีพิถันความประณีต รายละเอียดมากๆ เน้นความแม่นยำในการวาด ซึ่งแปรงหรือพู่กันก็มีประเภทแยกย่อยลงไปอีกเพื่อให้เกิดลวดลาย ลายเส้นที่แตกต่างกัน

4. อ่อนโยน/เมตตา/ให้เกียรติ/มัธยัสถ์/ถ่อมตน 5 คุณธรรมของขงก้ง

อ่อนโยน, เมตตา, ให้เกียรติ, มัธยัสถ์ และ ถ่อมตน เป็นคุณธรรม 5 ประการของ “ขงก้ง” ลูกศิษย์ของ “ขงจื๊อ” นักปราชญ์ชาวจีนผู้เลื่องชื่อ ซึ่งในหนังสือได้กล่าวถึงว่า คำทั้ง 5 คำนี้เป็นสิ่งที่“หลี่กั๋วหัว” ตัวเอกของเรื่องจะระลึกถึงเสมอ

แต่กระนั้นก็ยังมีผู้วิเคราะห์จากตัวอักษรในภาษาจีนว่าแท้จริงแล้วคำทั้ง 5 นั้นมีความหมายแฝงเป็นสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนจงใจสื่อสารทางอ้อม กล่าวคือ “อ่อนโยน, เมตตา, ให้เกียรติ, มัธยัสถ์ และ ถ่อมตน” ในภาษาจีนก็คือ溫,良, 恭,儉และ 讓 ซึ่งเมื่อนำไปเล่นคำกับคำอีก 5 คำ ได้แก่ ของเหลวในร่างกาย, กำลังกาย, เลือดออก, ถุงยางอนามัย และ ชีวิต ก็จะพบว่ามีตัวอักษรตัวแรกเหมือนกัน คือ溫暖, 良莠, 恭喜, 儉省และ 讓步

 

 

หากได้ลองอ่านนวนิยายเรื่อง “สวนสนุกแห่งการลงทัณฑ์ รักในฝันของฝางซือฉี” อย่างพินิจพิเคราะห์ ค่อยๆ ซึมซับเรื่องราวไปทีละบรรทัดจะเห็นได้ว่าผู้เขียนได้บอกเล่าความนัยมากมาย ผ่านแต่ละตัวอักษรแม้ว่าอาจต้องใช้การตีความและความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรม สำนวนของภาษาจีนเข้ามาช่วยอยู่บ้าง หรือต่อให้ไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้ด้านสำนวนภาษาจีนมากนักนวนิยายเรื่องนี้ก็ยังสร้างความเจ็บปวดบาดลึกให้ผู้อ่านอย่างเราได้มากโขอยู่คอนวนิยายแนวดราม่าไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
Maxx Publishing   chine-culture   chinatalks