I Hate my job Move Publishing อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย เบื่องาน

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย เพราะ I hate my job – เบื่องาน ต้องอ่าน!

Home / Editor Picks / อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย เพราะ I hate my job – เบื่องาน ต้องอ่าน!

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย เพราะ I hate my job – เบื่องาน ต้องอ่าน!

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย

 

เบื่องานงั้นเหรอ? อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย เพราะ I hate my job
เคยได้ยินใครบางคนพูดถึงงานที่ทำด้วยความตื่นเต้น พวกเขาดูรักในสิ่งที่ทำและเล่าให้คุณฟังเสมอว่ามันสนุกมากแค่ไหน จนวูบหนึ่งในสมองคุณก็บอกตัวเองว่า “อยากสนุกกับการทำงานแบบนี้บ้างจัง” บางครั้งเมื่อเราได้ยินใครบางคนพูดถึงงานตัวเองด้วยความกระตือรือร้น มันทำให้เราเริ่มคิดถึงงานตัวเองในแง่ลบ เราอาจเริ่มกล่อมเกลาความรู้สึกหรือระลึกถึงถึงช่วงเวลาที่เรามีความสุขกับงานมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทันทีที่ความกระตือรือร้นจากหาย บ่อยครั้งที่เราคิดว่า “ทำไมงานที่ทำอยู่ช่างน่าเบื่ออะไรเช่นนี้”

.

 “เบื่อ” “น่าเบื่อจริง ๆ” “แกล้งป่วยได้ปะ” “ไม่อย่ามาทำงานแล้ว”

.

ช่างเป็นความรู้สึกทางลบที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยในงานที่ทำ แต่พอมองย้อนกลับไปก็อดเบื่อไม่ได้จริง ๆ

.

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย


.
ในความจริงจากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจิต ชี้ให้เห็นว่า “ ชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ประสบกับความเบื่อสุดขีดในชีวิตประจำวันมากถึง 30 – 90 เปอร์เซ็นต์ และในวัยรุ่นเองก็ไม่แพ้กัน เพราะมีอัตราความเบื่อพุ่งสูงถึง 91 – 98 เปอร์เซ็นต์เชียวล่ะ” ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยหากอยู่ดี ๆ เกิดรู้สึกเบื่อกว่าทุกวัน เพราะความเบื่อหน่ายนี้คือลักษณะทั่วไปที่พบได้ในงานและชีวิตประจำวัน ซึ่งหากจัดการได้อย่างเฉียบขาดและเหมาะสม เรื่องน่าเบื่อประจำนี้ก็จะสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับคุณในท้ายที่สุด

.

นักวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า เบื่องาน คือสัญญาณที่ดี!

.

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย

ไม่เพียงเท่านั้น เพราะนักวิจัยยังศึกษาความสำคัญของเรื่องน่าเบื่อที่เกิดขึ้นในอาชีพและชีวิตเพิ่มเติม ก็พบว่า “ในกรณีที่ไร้ซึ่งความเบื่อหน่ายใด ๆ หรือคุณเป็นคนที่ไม่รู้สึกเบื่อสิ่งใดในโลกเลย อาจทำให้บุคคลนั้นติดกับดักการไม่ถูกเติมเต็ม หรือมองอีกมุมคือคนที่เบื่อหน่ายสุดขีดเท่ากับคนที่ถูกเติมเต็มจนล้นปรี่ อีกทั้งคนที่ไม่เบื่อหน่ายเลยอาจจะพลาดประสบการณ์ทางอารมณ์ กลไกการรับรู้ และประสบการณ์ทางสังคมอื่น ๆ ที่ความน่าเบื่อมอบให้คุณได้

.

ความน่าเบื่อดังกล่าวยังช่วยย้ำเตือนให้เราไม่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ (รู้ว่ามันน่าเบื่อก็อย่าทำสิ!) และสร้างแรงผลักดันเพื่อให้เราสลับสับเปลี่ยนไปสู่เป้าหมายและแผนการที่วางเอาไว้ได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันยังเป็นสัญญาณเตือนเมื่อเราเริ่มหยุดนิ่งเพราะมองไม่เห็นเป้าหมายที่เคยวางไว้ และเป็นสัญลักษณ์สำคัญว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลง” (อ้างอิงจากคำพูดของ Andreas Elpidorou นักวิจัยและศาสตราจารย์ปรัชญา จาก University of Louisville)

.

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย

 


และนี่คือวิธีที่จะเอาชนะกับความเบื่อหน่ายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม

.

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย

.

❶ กอดเก็บทุกความรู้สึก

เราทุกคนรู้ว่าความเบื่อหน่ายเป็นเช่นไร ซึ่งการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์เราเมื่อเกิดความเบื่อนั้น คือ การทำตัวเองให้ยุ่งเหยิงหรือหาสิ่งรบกวนความคิดเพื่อไม่ให้ตัวเองฟุ้งซ่าน จริงอยู่ว่าวิธีนั้นสามารถทำให้เลิกเบื่อได้

.

แต่มันก็แค่ชั่วขณะ เราไม่ควรยัดเยียดสิ่งใหม่ลงไปมากเกินพอดี แทนที่จะก้าวถอยหนี ลองเปลี่ยนเป็นเผชิญหน้า พิจารณาเหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายให้ได้ การดื่มด่ำกับความเบื่อหน่ายโดยไม่หลีกหนีจะทำให้เราได้ทบทวนและค้นหาสิ่งที่ต้องการจริง ๆ พร้อมเลือกหนทางที่จะจัดการกับความเบื่อหน่ายนี้อย่างสิ้นซาก

.

❷ คิดถึงคนอื่นบางนะ

ความเบื่อที่เกิดขึ้นมักทำให้คุณเปิดเผยธาตุแท้ของตัวเองออกมา ทั้งความโลภ เห็นแก่ตัว และริษยา เมื่อเกิดความรู้สึกนี้เกิดขึ้น …ให้ตั้งสติ ลองคิดถึงใจคนอื่นดูบ้าง คิดถึงการทำงานที่ส่งผลดีต่อชีวิตคนอื่น งานที่ทำให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้น

.

ซึ่งผลการวิจัยจาก University of Louisville เผยให้เห็นในทิศทางเดียวกันว่า 88 เปอร์เซ็นต์ของโปรเจคหรืองานที่ได้รางวัลหรือดีเลิศ เกิดจากการตั้งคำถามแรกว่า “งานที่กำลังจะทำนี้ ส่งผลต่อคนที่รักอย่างไรบ้าง?”

.

❸ ยกระดับความท้าทาย

นักจิตวิทยากล่าวว่า มนุษย์เรามีวิธีการตอบสนองต่อความเบื่อหน่ายอยู่มากและวิธีที่นิยมอย่างมากคือการแสวงหาแรงกระตุ้นจากภายนอกที่เราคิดไปเองว่ามันจำเป็น เช่น เราเบื่องานเดิม เราหางานใหม่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและผละออกจากวงจรที่น่าเบื่อที่ดำรงอยู่

.

จนลืมไปว่าวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทลายความน่าเบื่อและสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กลับไม่ใช่ “การแสวงหา” แต่มันคือการกระตุ้นตัวเองจากภายใน ใจสู้หรือเปล่า? ลองถามตัวเองดู ..เพราะการยกระดับความท้าทายของตัวเองให้ใหญ่ขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายที่ดูเอื้อมไม่ แต่มุ่งมั่นและตั้งใจเหมือนไม่ไกลเกินเอื้อม จะช่วยกระตุ้นและผลักดันคุณได้ดีกว่าสิ่งเร้าภายนอก

.

อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย

.

❹ ต้องมีพยานรู้เห็น

หลังจากที่ทำตาม 3 ขั้นตอนแรกได้ดี สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักต่อไปคือ ผลลัพธ์ที่คุณได้กระทำกับคนอื่น คิดถึงผู้ที่ได้ผลกระทบจากการทำงานของคุณโดยตรง อาจเป็นลูกค้า เพื่อนร่วมงาน ชุมชน หรือคนอ่าน (ในกรณีที่คุณเป็นนักเขียนน่ะนะ) ว่าความตั้งใจของคุณก่อให้เกิดผลกระทบกับเขาอย่างไรบ้าง

.

ซึ่งนักวิจัยยังชี้ให้เห็นอีกว่า คนที่เสพงานของบุคคลอื่นเกิน 17 ครั้งขึ้นไป มีแนวโน้มหลงใหลในการทำงานรูปแบบนั้นทั้งหมด เช่น ชอบฟังเพลงของนักร้องคนนี้ และฟังบ่อยมากจนนับครั้งไม่ถ้วน เท่ากับคุณมีแนวโน้มชื่นชอบแนวเพลงรูปแบบนี้ เป็นต้น

อย่าปล่อยให้งาน.เป็นมารร้าย

❺ ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเบื่ออีกครั้ง

มันอาจฟังดูแปลก แต่ในกรณีของความเบื่อหน่ายชั่ววูบ คุณเองต้องตระหนักถึงมันให้มาก การทำซ้ำมันอีกครั้งจนเบื่อจะช่วยย้ำความรู้สึกของคุณได้ว่าคุณเบื่อมันจริง ๆ และไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบ

.

เมื่อมั่นใจแล้ว มันคงถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแนวทาง และหาความท้าทายใหม่ ๆ

.


ความเบื่อหน่ายในงานที่ทำมันอาจฟังดูเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ความเบื่อนี้ไม่ได้เกิดขึ้นและคงอยู่ไปตลอดหรอกนะ ไม่เช่นนั้นคนเราทั้งโลกคงติดอยู่ในความหม่นเศร้าซบเซานี้ไปตลอดแน่ แหกคอกความเบื่อหน่ายจากงานที่แสนน่าเบื่อนี้ไปกับ I hate my job – อย่าปล่อยให้งานเป็นมารร้าย จาก ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ โดย Move Publishing

.

ร้ายดีนัก จัดการให้สิ้นซาก!


ติดตามข่าวสารและซื้อหนังสือออนไลน์ผ่าน mbookstore