อ่านแล้วไม่ตอบ | รอได้ไร้นอยด์ เพราะรอคอยอย่างเข้าใจ กับศาสตร์แห่งการรอคอย

อ่านแล้วไม่ตอบ | รอได้ไร้นอยด์ เพราะรอคอยอย่างเข้าใจ กับศาสตร์แห่งการรอคอย

อ่านแล้วไม่ตอบ .. ตอบช้า .. คือคำตอบของคนหมดใจหรือเปล่า?  หรือจริง ๆ แล้วเป็นการเล่มเกมอย่างชาญฉลาดที่คู่สนทนาใช้มันกับคุณอยู่กันแน่?

อำนาจแห่งการปล่อยให้รอ

เมื่อไม่นานมานี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนเราไม่ได้ต่างอะไรกับสัตว์ในกรงเลย  เมื่อเทียบค่าในทฤษฎีการเสริมแรงของ สกินเนอร์ โดยการให้ตัวเสริมแรงทางบวก เช่น คำชมเชย, รางวัล และอาหาร การคุยแชทกันอย่างสม่ำเสมอที่เปรียบเหมือนกับคุณได้รางวัล

เพราะเมื่อวันใดที่คู่สนทนาไม่กระตือรือร้นในการตอบแชทคุณอีกต่อไป คุณจะรู้สึกกระวนกระวาย  โหยหาย และกลายเป็นทาสการเสริมแรงไม่รู้ตัว

สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าคุณกำลังเสพติดสาร “โดพามีน” (Dopamine) สารสร้างความสุขใจเมื่อได้รับรางวัลอย่างสม่ำเสมอ คล้ายคนเสพสารเสพติดขนาดหนักที่ต้องเสพทุกวัน ไม่งั้นจะลงแดงและทุรนทุราย! คนที่ชอบให้คู่สนทนาตอบแชทโดยทันทีมีแนวโน้มลดคุณค่าของตนเพื่อของรางวัลดังกล่าว แม้แค่ประโยคสั้น ๆ ที่เขาตอบกลับมาแบบหมางเมิน มันก็ทำให้คุณรู้สึกเนื้อเต้น ใจเด้งออกมาจากอก ในขณะเดียวกัน คนที่ทนได้กับการเสริมแรงที่ช้า อดทนได้ มักได้ผลตอบแทนขนาดใหญ่ ที่ไม่ใช่แค่คำว่า “อือ”  “อืม” “อาฮะ”

           น่าเศร้า หากกำลังเสพติด “โดพามีน” เข้าอย่างจัง …ที่ทำให้เราคลั่ง และ โหยหาจนจะเป็นบ้า  เพราะผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า “โดพามีน”  (Dopamine) มีบทบาทสำคัญในพฤติกรรมการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งความเคยชินกับสิ่งเสริมแรงทางบวกเช่นนี้ ออกฤทธิ์รุนแรงไม่แพ้อาการลงแดงสารเสพติดเลยล่ะ

 

นี่เรากำลังเป็นสิ่งทดลองให้คนไร้หัวใจหรือนี่?

 

           โดพามีน หรือที่หลาย ๆ คนเรียกมันว่า “สารสร้างความสุข” เป็นสารเคมีในสมองที่หลั่งออกมาเมื่อเกิดพฤติกรรมที่สุขใจหรือได้รับความพึงพอใจ เช่น ทานข้าวเมื่อหิว, ดื่มน้ำเมื่อกระหาย, มีเซ็กซ์ หรือแม้กระทั่งการทานขนม ซึ่งสารที่ว่านี้ไวมากต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น แอลกอฮอล์ ยาเสพติด อาหารขยะ การพนัน รัก และ เซ็กซ์

แล้วถ้าวันหนึ่ง ขาดไป หรือ มีสารโดพามีนต่ำมาก ๆ จะส่งผลอย่างไรนะ?  ..คนที่ขาดสารโดพามีน หรือมีน้อยมาก จะไม่ค่อยมีความสุขกับชีวิต หรือกิจกรรมต่าง ๆ สักเท่าไหร่ และนี่คืออาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังขาด “โดพามีน” อย่างรุนแรง!

แล้วจะเอาชนะอาการ เสพติด โดพามีน นี้ได้อย่างไร ..จริง ๆ แล้วมันก็มีวิธีการจัดการง่าย ๆ ดังนี้

อ่านแล้วไม่ตอบนัก จัดให้ | ชะงักโดพามีนตัวเองง่าย ๆ ด้วยการย้อนศร


อ่านแล้วไม่ตอบ  ||||  www.sciencedaily.com/releases/2017/10/171016081941.htm (2017)| blog.idonethis.com/the-science-of-motivation-your-brain-on-dopamine (2017) | www.psychologytoday.com/intl/blog/compassion-matters/201102/staying-compatible-staying-yourself (2011)

 


MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040