ละเมิดลิขสิทธิ์ ! ผลงานแบบไหน ที่เข้าข่าย PLAGIARISM (ขโมยความคิด)

ละเมิดลิขสิทธิ์ ! ผลงานแบบไหน ที่เข้าข่าย PLAGIARISM (ขโมยความคิด)

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษทางกฎหมาย รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้ และจะแย่ถ้าต้องขึ้นโรงขึ้นศาล!

ประเด็นร้อนอาทิตย์นี้คงไม่พ้น เรื่องราวของนักร้องหนุ่มมากความสามารถอย่าง “ทอย ธันวา บุญสูงเนิน” หรือ “เดอะ ทอย” ที่ทั้ง ร้องเอง เล่นเอง แต่งเอง จากเบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินหลายคนสู่การเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

แต่เดินสะดวกได้ไม่นาน ก็มีผู้ที่อ้างตนว่าเป็น “คนใกล้ตัว” ขุดคุ้ยเรื่องราวต่าง ๆ นานา เช่น “การเปลี่ยนชื่อการเข้าวงการและที่มาของชื่อ” รวมไปถึง “การแต่งกายและแนวเพลงที่ก็อปวงต่างชาติหรือไม่?” แม้เจ้าของเรื่องราวดราม่านี้จะปิดเฟสบุคไปแล้ว แต่ก็ไม่ทำให้คนหายสงสัยประเด็นดังกล่าวได้เลย ..ว่าเรื่องราวที่แท้จริงเป็นเช่นไร? ละเมิดลิขสิทธิ์ จริงหรือไม่?

THE 1975 วงดนตรีที่น่าจับตามองจากเกาะอังกฤษ แนวเพลงอินดี้  ที่รวมตัวกันตั้งแต่อายุ 15 เท่านั้น เริ่มแรกจะโคฟเวอร์เพลงของวงดังเป็นหลัก ต่อมาพัฒนาความสามารถไปอีกขั้นด้วยการแต่งเพลงเองขึ้นร้องในคอนเสิร์ตตัวเอง จนโด่งดัง กลายเป็นที่รู้จัก

แต่ไม่ใช่แค่ในอุตสาหกรรมดนตรีเท่านั้นนะที่มีประเด็น ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ดราม่ากันแบบนี้ เพราะ อุตสาหกรรมงานเขียนและวรรณกรรมเอง ก็มีกลุ่มคนมักง่ายประเภทนี้ให้เห็นกันบ่อยครั้ง

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า การขโมยความคิด ถือเป็นความผิดที่มีโทษทางกฎหมายไทย และทั่วโลกเองก็ตระหนักเรื่องนี้อยู่มาก แล้วทำอย่างไรล่ะถึงจะเลี่ยง “ การ ขโมยความคิด ”

การขโมยความคิด (PLAGIARISM)

การกระทำที่เข้าข่าย การ “คัดลอกผลงาน” คือ การนำผลงานของคนอื่นมาเป็นผลงานของตนเองโดยมิชอบ ทั้ง การขโมย, การตีพิมพ์ข้อความของคนอื่น รวมถึงการแสดงความคิด (วรรณกรรม, งานศิลป์, ดนตรี, งานประดิษฐ์ และอื่น ๆ ) และการใช้วิธีในการนำมาอย่างไม่ซื่อสัตย์ เสมือนกับว่าเป็นงานของตนเอง – The Compact Edition of the Oxford English Dictionary

 

การโจรกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม หมายถึง การนำผลงาน ความคิด หรือคำพูดของผู้อื่นไปให้โดยไม่อ้างอิงที่มา หรือการนำความคิดและงานของผู้อื่นมาเขียน โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากความคิดของตน – ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติ

ประเภทของ การขโมยความคิด (PLAGIARISM)

โดยทั่วไป แบ่งประเภทของการ “ขโมยความคิด” ที่ ละเมิดลิขสิทธิ์ ออกเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้

การกระทำดังกล่าว เข้าข่าย ละเมิดลิขสิทธิ์

นอกจากจะมีความผิดด้านจรรยาบรรณแล้ว ยังมีโทษทางกฎหมายด้วยนะ! เพราะในวันที่ 4 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ทาง กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีการปรับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมสื่อออนไลน์มากขึ้น ใครทำผิด! ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์  ทันที!

กฎหมายเดิม


กฎหมายเพิ่มเติม

ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การตรวจสอบบทความที่ซ้ำและคัดลอกจึงง่ายมากขึ้น เพราะมีโปรแกรมที่สามารถใส่บทความลงไปและตรวจสอบได้ทันที เช่น

 

คงไม่ยากหากเราจะหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ฟรี ๆ จากทั่วทุกมุมโลก แต่ไม่ได้แปลว่าจะให้คุณคัดลอกงานเขามานะ  …ควรศึกษาเรื่องที่จะเขียนอย่างเข้าใจ จากหลากหลายแหล่งที่มาของข้อมูล เมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็นำมาสรุปความตามความเข้าใจ ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง แต่ถ้าหากว่าจำเป็นจะต้องคัดลอกผลงานคนอื่นมา หรือจำเป็นต้องแปลบทความนั้น ๆ มาจากภาษาอื่น ควรให้แหล่งที่มา หรือใส่แหล่งอ้างอิงทุกครั้ง

หลายคนเริ่มขัดใจว่าทำไมการหยิบมาเพียง 2-3 ประโยคถึงเป็นเรื่องราวใหญ่โตขนาดนี้ ..

ทำไมต้องใส่แหล่งอ้างอิง?

จงจำไว้ว่า…

 

แล้วถ้าเกิดว่าจะต้องเอาบทความของคนอื่นมาใช้จริง ๆ ละก็ มีวิธีการในการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้

แบบเอกสารอ้างอิง

การเขียนอ้างอิงแบบ “เอกสารอ้างอิง” นั้น เป็นการอ้างอิงเฉพาะตัวประโยคที่ยกมาเท่านั้น หากมี 10 แหล่งที่มา การใส่เอกสารอ้างอิงก็จำเป็นต้องมี 10 การอ้างอิง

ชื่อผู้แต่ง  (ปีที่พิมพ์, เลขที่หน้าอ้างอิง)

  1. แบบเชิงอรรถ – ใส่แหล่งอ้างอิงล่างบทความ พร้อมอ้างอิงหมายเลขกำกับไว้ในเนื้อหา
  2. แบบแทรกเนื้อหา – ใส่ในบทความ
  3. แบบอยู่ท้ายบท

แบบบรรณานุกรม

การเขียนอ้างอิงที่มา ทั้งการยกประโยคมาใส่ในเรื่อง และ อาจไม่ได้ยกประโยคมาแต่แหล่งที่มีมีความเกี่ยวข้องกับบทความ


รวบรวมสาระน่ารู้ ทั้งข่าวสารวงการหนังสือ อีเว้นท์หนัง, หนังสือใหม่, หนังสือแนะนำ รีวิวหนังสือ และ อื่น ๆ อีกมากมาย มีให้อ่านกันฟรี ๆ ที่นี่ BOOK.MTHAI

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2016 MThai.com All rights reserved. หมายเลขทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ : 0127114707040