ข้าวปั้น คัตสิด้ง หม้อไฟ อาหารญี่ปุ่น ฮิราชิโนะเคโงะ โอนิกิริ

เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่าน 5 อาหารดังในนิยาย “ความลับ”

Home / Book Tips, สารพันหนังสือ / เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่าน 5 อาหารดังในนิยาย “ความลับ”

ถึงแม้นวนิยายเรื่อง “ความลับ” (秘密Himitsu)  จะมีภาพรวมเป็นนิยายแนวดราม่า ที่สามีภรรยาคู่หนึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากในการรักษาความสัมพันธ์กันไว้ เมื่อภรรยาต้องอยู่ในร่างของลูกสาวตัวเอง แต่ความลับก็ยังแฝงฉากอบอุ่น และสอดแทรกวัฒนธรรมอาหารและประเพณีต่างๆ ให้ผู้อ่านได้รู้จักอยู่ญี่ปุ่นมากขึ้นไปด้วย

Book MThai ขอพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับอาหารที่แม้ว่าหลายคนจะรู้จักดีแล้ว แต่หากได้รู้ที่มาที่ไปก็จะได้รับรู้ถึงความน่ารัก ความใส่ใจในสิ่งเล็กซึ่งเป็นนิสัยประจำตัวของคนญี่ปุ่น

1. โอยาโกะด้ง (親子丼)

โอยาโกะด้ง เมนูข้าวหน้าไก่ไข่หรือข้าวหน้าไก่ไข่ตุ๋นที่คนไทยเรารู้จักกันเป็นอย่างดี เชื่อว่าหลายคนต้องเคยทานแน่ๆ อีกเมนูที่หน้าตาคล้ายกันก็คือ คัตสิด้ง (カツ) คือข้าวหน้าหมูทอดไข่หรือข้าวหน้าหมูทอดไข่ตุ๋น

สำหรับที่มาของโอยาโกะด้ง นั้นก็ทำให้เราได้เห็นถึงความน่ารักในการตั้งชื่อเมนูอาหารของคนญี่ปุ่น

โอยะ (親) แปลว่า พ่อแม่ ในเมนูหมายถึง ไก่ ซึ่งก็คือแม่

โกะ (子) แปลว่า ลูก  ในเมนูนี้หมายถึง ไข่ไก่ ซึ่งก็คือลูก

ด้ง (丼) มาจากคำว่า ดงบุริ ที่หมายถึงอาหารจานเดียวที่มีข้าวแล้วโปะด้วยเนื้อสัตว์ต่างๆ นั่นเอง

เมื่อนำทั้ง 3 คำมารวมกันก็จะกลายเป็นคำว่า “ข้าวพ่อแม่ลูก” ซึ่งเป็นเมนูที่หาทานได้ตามร้านอาหารทั่วไป หรือคนญี่ปุ่นมักจะทำเมนูนี้ทานเอง เช่นเดียวกับที่นาโอโกะในร่างโมนามิทำเมนูโอยาโกะด้งให้เฮซึเกะทานในฉากหนึ่งของเรื่องนั่นเอง

2. เซกิฮัง (赤飯)

เซกิซังหรือข้าวแดง คือข้าวเหนียวที่หุงพร้อมกับถั่วแดงอะซูกิ (Azuki bean) และน้ำต้มถั่วแดงอะซูกิจนเกิดเป็นสีแดง

คนญี่ปุ่นนิยมหุงข้าวเซกิซังหรือข้าวแดงทานเพื่อความโชคดี ดังนั้นจะหุงข้าวแดงกินกันเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสพิเศษต่างๆ เช่นวันปีใหม่ วันเกิด งานแต่งงาน วันจบการศึกษา ฯลฯ

สำหรับในนิยายเรื่องความลับนั้น นาโอโกะได้กล่าวกับเฮซึเกะว่าจะหุงข้าวเซกิซังทานกันเมื่อตอนที่รู้ว่าโมนามิมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก เพื่อเฉลิมฉลองที่ลูกสาวของพวกเขาได้เริ่มโตเป็นสาวแล้วนั่นเอง

3. โอฉะสึเกะ (お茶漬け)

เป็นเมนูข้าวที่เทน้ำชาร้อนๆ ลงไปใส่ให้มีลักษณะคล้ายข้าวต้มนั่นเองที่มาที่ไปของโอฉะซึเกะนั้นเกิดจากการน้ำข้าวเก่าที่เหลือมาผสมกับข้าวใหม่แล้วทำให้ร้อนด้วยน้ำนั่นเอง โดยยังมีส่วนผสมอื่นๆที่นิยมใส่ลงไปเพื่อทานกับข้าวด้วย เช่น บ๊วยดอง สาหร่ายโรยข้าว แซลมอน หรือวาซาบิ

ในสมัยเฮอันนั้นนิยมผสมข้าวกับน้ำร้อนธรรมดา แต่มาจนถึงสมัยเอโดะได้เปลี่ยนจากน้ำร้อนธรรมดามาเป็นชาร้อนแทน

4. เมนไทโกะ (明太子)

คือไข่ปลา Alaska pollock (スケトウダラ) นำมาหมักจนได้ที่ถือเป็นอาหารคู่ครัวคนญี่ปุ่น ปัจจุบันมักนำมาทำเป็นข้าวปั้นแบบโอนิกิริ หรือทานเป็นกับแกล้มกับเบียร์ รวมไปถึงการทำเมนไทโกะไปทำเป็นซอสสปาเก็ตตี้หรือราเมง

แม้จะเป็นอาหารขึ้นชื่อของญี่ปุ่นแต่แท้จริงแล้วเมนูเมนไทโกะนั้นมีต้นกำเนิดมาจากเมนู myeongnanjeotของประเทศเกาหลี ได้เผยแพร่สู่ญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามรัสเซีย โดยถูกนำไปเผยแพร่ครั้งแรกที่จังหวัดฟุกุโอกะในปี 1949

5. อิชิคาริ นาเบะ(石狩鍋)

https://www.jnto.or.th/newsletter/nabe/

คือเมนูหม้อไฟแซลมอนที่กำเนิดขี้นบนเกาะฮอกไกโด คำว่า “อิชิคาริ” ก็เป็นชื่อเมืองหนึ่งของฮอกไกโดนั่นเอง โดยฮอกไกโดนั้นเป็นแหล่งที่มีปลาแซลมอนมากที่สุดในญี่ปุ่น จึงไม่แปลกที่เมนูอิชิคาริ นาเบะ จะเป็นที่นิยมของฮอกไกโด

อิชิคาริ นาเบะนั้นทำได้โดยการนำเนื้อปลาแซลมอนติดกระดูกไปเคี่ยวกับน้ำซุป ปรุงรสด้วย น้ำตาล, มิโซะ, เกลือและมิริน จากนั้นก็ต้มผักต่างๆ  เมื่อจะกินก็ให้ใส่แซมอนดิบลงไป พร้อมกับโรยพริกไทยเพื่อดับคาว

นอกจากเมนูอาหารญี่ปุ่นทั้ง 5 ชนิดที่นำเสนอไปแล้ว ใน “ความลับ” (秘密Himitsu)  ที่ดำเนินเรื่องได้ชวนติดตามด้วยภาษาที่สวยงาม ยังแฝงด้วยวัฒนธรรม  เทศกาลต่างๆ ของญี่ปุ่นอีกมากมาย แม้ว่าเนื้อเรื่องจะเกิดในช่วงปียุค80 ถึงต้นยุค 2000 แต่ก็ไม่ได้ทำให้เรื่องราวดูเก่าแต่อย่างใด กลับทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมและหลงใหลไปกับความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้นด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก

http://jfoodsbkk.namjai.cc/e50876.html

https://anngle.org/th/j-gourmet/gourmet/sekihan-red-rice.html

https://www.marumura.com/ochazuke/

https://www.jgbthai.com/mentaiko/

https://www.jnto.or.th/newsletter/nabe/