ลากอม วิถีชีวิตสร้างสุข อิคิไก

3 วิถีชีวิตสร้างสุข จากประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก

Home / สารพันหนังสือ / 3 วิถีชีวิตสร้างสุข จากประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก

วิถีชีวิตสร้างสุข

วิถีชีวิตสร้างสุข


.

3 วิถีชีวิตสร้างสุขจากประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก

.


.

จะใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข ท่ามกลางสิ่งรอบตัวที่บั่นทอนความสุขแบบนี้? นี่คือ 3 วิถีชีวิตสร้างสุขจากประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ได้แก่ ญี่ปุ่น สวีเดน และ เดนมาร์ค ไปดูกันว่าพวกเขามีเคล็ดลับอะไรที่สร้างตัวเองให้มีความสุขขนาดนั้นได้

.

.

วิถีชีวิตสร้างสุข

.

อิคิไก (Ikigai) – ปรัชญาญี่ปุ่นว่าด้วยเรื่อง ‘ความหมายของชีวิต’

.

‘อิคิไก’ (Ikigai) แปลตรงตัวมันคือ ‘ความสุขจากการที่ยุ่งอยู่ตลอดเวลา’ แต่ไม่ได้หมายถึงตารางงานที่แน่นเอียด ชีวิตที่เต็มไปด้วยธุระ หรือกิจกรรมที่ไร้สติเต็มไปหมด เพราะมันคือสิ่งที่ทำให้คุณอยากตื่นขึ้นมาในตอนเช้า อยากทำงานหนักและเติมสีสันให้ชีวิตด้วยจุดประสงค์สำคัญบางอย่าง ที่นำพาความพึงพอใจ ความสุข และความหมายของชีวิตมาสู่ผู้ปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้ต่างหาก เรียกว่า ‘อิคิไก’

.

จากบทสัมภาษณ์ของ García และ Miralles ในหนังสือ Ikigai: The Japanese Secret to a Long and Happy Life พบว่า : ชาว Ogimi บนเกาะโอกินาว่าอันเขียวชอุ่ม มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ประมาณ 3,024 คนเท่านั้น และที่นี่มีคนสูงอายุที่อายุเกิน 100 ปีหลายคนอาศัยอยู่ และ ‘อิคิไก’ คือแนวทางในการใช้ชีวิตของพวกเขา

.

“ ในขณะที่เราทำการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในเมืองนี้ เราตระหนักได้ว่า ความปิติยินดีที่มีเกิดจากผู้คนในเมืองสรรเสริญความยาวนานในชีวิตของพวกเขา สิ่งเหล่านี้สร้างความภูมิใจให้กับผู้สูงอายุเหล่านี้”

.

สังคมญี่ปุ่นจึงเป็นสังคมที่เข้มแข็ง เมื่อมี ‘อิคิไก’ ไหลเวียนอยู่ทั่วชีวิตของคน คนญี่ปุ่นจำนวนมากไม่เคยเกษียณได้จริง ๆ หรือแม้แต่คำว่า ‘เกษียณ’ ก็ไม่มีจำกัดความไว้ในภาษาญี่ปุ่นอย่างตรงตัว พวกเขารักงานที่ทำ และยังคงทำมันอยู่อย่างนั้นตราบเท่าที่สุขภาพของพวกเขายังเอื้ออำนวย เพราะ ‘อิคิไก’ ได้สร้างพลังงานที่ยิ่งใหญ่ให้ชีวิตของพวกเขาได้สมหวังยันนาทีสุดท้ายของชีวิต

.

ทุกคนมี ‘อิคิไก’ ที่ซ่อนอยู่ข้างในใจลึก ๆ ค้นหา ‘อิคิไก’ ของคุณได้ที่  ‘อิคิไก – ความหมายของการมีชีวิตอยู่’ : คลิกเพื่อสั่งซื้อ

.

วิถีชีวิตสร้างสุข

.


.

วิถีชีวิตสร้างสุข

.

ลากอม (Lagom) – ปรัชญาสวีเดนว่าด้วยเรื่อง ‘ความพอดีนี่แหละดีที่สุด’

.

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มันจะดีกว่าไหมหากคุณสามารถทำอะไรได้ช้าลง  แรงกดดันเบาบาง และไร้ซึ่งความตึงเครียด เพื่อมีเวลาเพิ่มขึ้นในการทำสิ่งที่คุณรักและเพลิดเพลินไปกับมัน

.

นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมประเทศสวีเดนจึงเป็นหนึ่งประเทศที่ติดอับดับประชากรมีความสุขในโลกด้วยความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สุขภาพที่ดีท่ามกลางมาตรฐานการครองชีพที่สูง นี่คือวิถีชีวิตแบบ ‘ลากอม’ (Lagom)

.

‘ลากอม’ (Lagom) เป็นส่วนประกอบสำคัญของวัฒนธรรมในสวีเดน ที่มีความหมายว่า ‘ไม่น้อย ไม่มาก พอดี ๆ : Not too little. Not too much. Just right.’  

ประโยคเดียวนี่แหละที่หุ้มสังคมประชาธิปไตยของสวีเดนเอาไว้ทั้งชาติ มักแทรกซึมอยู่ในทุกส่วนของชีวิต เช่น ในการทำงาน พวกเขาทำงานอย่างจริงจังและหนักหน่วง แต่การกระทำดังกล่าวต้องไม่ทำลายส่วนสำคัญอื่นของชีวิต เพราะนี่คือกฎเหล็กของ ‘ลากอม’ (Lagom)

.

แทนที่จะนั่งเครียด หัวร้อน และกดดันเพราะการทำงานถึง 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ วิถีชีวิตแบบ ‘ลากอม’ (Lagom) นั้นยืดหยุด สมดุล และโฟกัสที่การใช้ชีวิตในทางสายกลาง

.

เช่น

  • ฟิกา : ช่วงเวลาพักดื่มกาแฟ 15 นาทีทั้งในตอนเช้าและตอนบ่าย โดยให้พนักงานพักดื่มกาแฟและกินขนมอบที่ทำมาเองได้

.

  • ชาวสวีเดนเลิกงานตรงเวลา เลิกปุ๊บออกจากออฟฟิศปั๊บ เพราะความตรงเวลานี้จะช่วยให้มีความสุขและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

.

  • ในขณะที่ประเทศอื่นทำงานเฉลี่ย 1,776 ชั่วโมงต่อปี ชาวสวีเดนทำงานเฉลี่ย 1,644 ปี หรือ 6 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น แต่ทำงานน้อยกว่าไม่มีผล เพราะพวกเขาสามารถทำให้ประเทศติดอันดับ 6 ในดัชนีความสามารถในการแข่งขันของโลกได้เช่นกัน (Global Competitiveness Index: GCI)

.

  • ชาวสวีเดนมีวันหยุดพักร้อนแบบได้พักจริง ๆ คนส่วนใหญ่ลาหยุดติดกันนานถึง 4 สัปดาห์

.

  • สวีเดนเป็นประเทศแรกที่ให้สิทธิ์ทั้งผู้เป็นพ่อและแม่ได้ ‘ลาคลอด’ ครั้งละ 3 เดือนต่อคน

.

และอีกมากมายที่เป็นวิถีแบบชาว ‘ลากอม’ (Lagom) ที่หนังสือ ‘LAGOM ไม่มากเกิน ไม่น้อยไป’ – ลินเนีย ดันน์  : คลิกเพื่อสั่งซื้อหนังสือ

วิถีชีวิตสร้างสุข

.


.

ฮูก้า (Hygge) ปรัชญาเดนมาร์กว่าด้วยเรื่องความชิลสร้างสุข

.

วิถีชีวิตสร้างสุข

.

เดนมาร์คคืออีกประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่มีความสุขในโลกและได้รับคะแนนสูงสุดในรายงานความสุขโลก ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (รวมถึงอันดับที่ 2 และ 3 ในอีกหลายปี ๆ)

.

สิ่งนี้สะท้อนกลับไปยังข้อเท็จจริงที่ว่า ชาวเดนมาร์คได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพอย่างดี สนับสนุนการศึกษาฟรีไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย พวกเขายังมีวันพักร้อนถึง 5 อาทิตย์ต่อปีโดยได้รับค่าจ้าง และยังเลิกงานไม่เกิน 4 – 5 โมงเย็น

.

ถือว่าประเทศเดนมารค์เอื้อความสะดวกให้กับประชาชนได้อย่างยอดเยี่ยมและยังช่วยลดความเครียดให้กับผู้ที่อยู่อาศัย แต่นั่นไม่ได้แปลว่าต้องแยกเดนมารค์ออกจากประเทศในกลุ่มนอร์ดิก เพราะแม้แต่ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และ ไอซ์แลนด์ นั้น ประชาชนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่คล้ายคลึงกัน

.

ส่วนผสมลับนี้เรียกว่า ‘ฮูก้า’ หรือความผาสุกบนความเป็นอยู่ที่ดี มันคือความอบอุ่น สะดวกสบาย เชื่องช้า ใกล้ชิด สนิทสนม และเรียบง่าย ซึ่งชาวเดนมาร์คใช้เวลาเพื่อไล่ตามมัน

.

หากเปรียบเทียบกับประเทศใกล้ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่อยู่ในอันดับที่ 14 ของการจัดอันดับความสุข ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาหมดไปกับความเครียดประจำวัน ทำงานหนัง และแข่งขัน แทนที่จะช้าลงเพื่อสนุกกับชีวิตจริง ๆ แบบชาวเดนมาร์ค

.

ไม่ว่าจะเป็น การม้วนตัวอยู่ในผ้าห่มกับหนังสือดี ๆ สักเล่ม ทานอาหารเย็นกับเพื่อนสนิท หรือแม้แต่การลิ้มรสไวน์แดงสักแก้ว ก็ถือเป็นความสุขง่าย ๆ แบบ ‘ฮูก้า’

.

ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราทุกคนสามารถรับความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ได้ เพราะมันคือ ‘ภาวะไร้กังวล’ ปล่อยความทุกข์ไปบ้าง ทำอย่างที่อยากทำ ก็สร้างความสุขพูนล้นได้อย่างเหลือเชื่อ

.

ค้นหาความสุขในแบบฉบับชาวเดนมาร์คได้ในหนังสือ ‘The little book of HYGGE – ปรัชญาความสุขฉบับเดนมาร์ค’ จาก openworlds

.

วิถีชีวิตสร้างสุข

.


.

SOURCES:

  1. Ikigai
  2.  Hygge
  3. Hygge(2)
  4. Lagom

.Hygge


pimnichakan