งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 22 งานสัปดาห์หนังสือ งานหนังสือ หนังสือใหม่

หนังสือใหม่ – ทำไม “หนังสือใหม่” ถึงต้องไปออกพร้อมกันใน งานหนังสือ ?

Home / สารพันหนังสือ / หนังสือใหม่ – ทำไม “หนังสือใหม่” ถึงต้องไปออกพร้อมกันใน งานหนังสือ ?

หนังสือใหม่

หนังสือใหม่

เริ่มต้นแล้วสำหรับ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 23 และ เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชนครั้งที่ 12 ในธีม “อ่านออกเสียง” ที่เหล่าสำนักพิมพ์ต่างขนหนังสือมาวางขายกันอย่างคับคั่ง แต่เคยสงสัยไหมว่า ทำไม “หนังสือใหม่” ของทุกสำนักพิมพ์จะต้องไปออกพร้อมกันในงานหนังสือด้วย? ซึ่งในฐานะคนซื้อแล้ว …..ฉันล้มละลายแล้วพี่จ๋า

ใหม่กว่าใครใน 2515

หนังสือใหม่

งานหนังสือที่ใหม่ที่สุดใน พ.ศ. 2515 คืองานหนังสือครั้งแรกของประเทศไทยที่จัดขึ้นในชื่อว่า “งานสัปดาห์หนังสือ ครั้งที่ 1” โดยกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต่อมารับไม้ต่อสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดเป็นประจำทุกปี ต่อเนื่อง ยาวนานจนไม่ใหม่แล้ว แต่กลายเป็นเทศกาลประจำปีที่ขาดไม่ได้ของนักอ่านไปเรียบร้อย แม้ย้ายที่จัดเรื่อยมา ทั้ง สวนลุมพินี โรงเรียนหอวัง สนามหลวง และมาจบที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ก่อนจะย้ายไปจัดที่ อิมแพค เมืองทองธานี ในอนาคตอันใกล้นี้) แต่ก็ไม่ได้ทำให้เสน่ห์ของหนังสือเจือจางหลงไปแม้แต่น้อย

.

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2539 “งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ” (หรือชื่อเดิมคือ งานมหกรรมหนังสือและสื่อการศึกษาระดับชาติ) ได้ถือกำเนิดขึ้นเพิ่มตามมาในช่วงตุลาคมของทุกปี กลายเป็นว่า ต้นปี มี “งานสัปดาห์หนังสือ” ปลายปี มี “งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ”  ไม่เสียชื่อที่เคยถูกรับเลือกให้เป็น “เมืองหนังสือของโลก” เสียจริง

.

หากกล่าวถึงวัตถุประสงค์ดั้งเดิมที่จัดงานหนังสือขึ้นมานั้น ก็เพื่อรณรงค์ให้คนไทยรักการอ่านและอ่านกันอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางกระตุ้นให้ นักเขียน และ สำนักพิมพ์ของไทย โชว์ผลงาน เกิดความตื่นตัว ปรับปรุงคุณภาพ และใส่ใจในการผลิตหนังสืออยู่เสมอ พูดโดยรวมแล้วมันคือคอมมูนิตี้ของคนรักหนังสือที่แท้จริงนี่เอง

ออกใหม่ ตามใจคนอ่าน?

จะพูดแบบนั้นก็ได้ตามหลักอุปสงค์-อุปทานทางการตลาดที่มีมาช้านาน แต่หากว่ากันตามวัตถุประสงค์เดิมที่วางไว้  ผู้ริเริ่มงานหนังสือในยุคเริ่มแรกคงจะต้องปลื้มใจแน่ เพราะหลังจากปี พ.ศ. 2515 ที่ “งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 1″  กระตุ้นวงการการอ่านให้สั่นสะเทือนไปทั้งประเทศ พฤติกรรมการอ่านของคนไทยก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนเข้าสู่ยุคสมัยปัจจุบันที่มีตกลงไปบ้างจากพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ที่เข้ามาแทนที่หนังสือเล่ม

.

อ้างอิงจากการเก็บแบบสอบถามของผู้มาร่วมงาน “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46” หรือช่วงมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา แม้พฤติกรรมการอ่านของคนไทยจะสั่นคลอนไปบ้างตามแรงกระทุ้งศอกของ “สื่อออนไลน์” แต่ก็ไม่ได้ทำให้คนที่รักหนังสือเล่มนั้นหมดไป ในทิศทางตรงกันข้ามแต่กลับเปี่ยมล้นไปด้วยคุณภาพมากกว่าเดิมเสียอีก

หนังสือใหม่

ค่าเฉลี่ยการอ่านหนังสือต่อเดือน ตั้งแต่ปี 2559 – 2561
จากภาพจะเห็นได้ว่าอัตราการอ่านหนังสือน้อยลงในช่วงปี 2559 – 2560 และมีแนวโน้มกลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงต้นปี 2561 ส่วนหนึ่งเพราะกระแสวรรณกรรมไทยอย่าง “บุพเพสันนิวาส” และ หนังสือประเภท “วรรณกรรมเยาวชน” (หรือ Young Adult) และ หนังสือแนวจิตวิทยา-ให้กำลังที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อน

.

จัดงานมาหลายสิบปี เคี่ยวเข็ญผ่านร้อนหนาวมากด้วยกันก็มาก จึงทำให้ความข้นหนืดในสังคมการอ่านมี “ความเหนียวแน่น” มากขึ้น ทั้งจาก “นักเขียน” “นักอ่าน” หรือแม้แต่ “สำนักพิมพ์” และ “ผู้จัดงาน” เอง ที่รู้สึกผูกพันจนลึกซึ้งว่า “งานหนังสือ” ไม่ใช่แค่ “สถานที่” หรือ “ร้านค้าที่มาขายหนังสือ” แต่มันคือ “ผู้คน” มันคือสังคมของคนที่รักหนังสือมารวมตัวกันอย่างแท้จริง ….. เพราะกว่า  87% ของคนที่มางานหนังสือนั้น คือ “แฟนคลับรักอ่าน” ที่มาทุกงานที่เป็นงานหนังสือ หรืออย่างน้อยที่สุดในปีนั้น ขอให้เท้าทั้งสองข้างได้ยืนตระหง่าในงานหนังสือสักที่ก็ชื่นใจ

.


หนังสือใหม่ กระตุ้นให้คนอ่าน

สำนักพิมพ์ต้องยิ้มกริ่มแน่นอนเพราะ การออก หนังสือใหม่ และ สรรหาพล็อตเรื่องแนวแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนนั้น กระตุ้นให้คนไทยอยากอ่านหนังสือมากขึ้น และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อยากมางานหนังสือ

หนังสือใหม่

54% อ่านเพิ่มขึ้นเพราะมีหนังสือประเภทใหม่/แนวใหม่
แม้โซเชียลมีเดียและสื่อออนไลน์นั้นจะดูดดึงคนให้ไปเสพข่าวสารและดราม่าในนั้นจนเสียมากเกินพอดี หรือมี eBook จำหน่ายอยู่ทั่วท้องตลาด แต่ก็อย่าพึ่งคิดไปเองว่าคนไทยไม่อ่านหนังสือที่เป็นเล่ม เพราะกว่า 54% ของผู้ที่ทำแบบสอบถามพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังอ่านอยู่ และอ่านมากขึ้น โดยเฉพาะหนังสือแนวแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

.

40 – 70% ตั้งใจมางานหนังสือเพื่อมาซื้อหนังสือออกใหม่โดยเฉพาะ (แถมยังได้เล่มอื่นที่ไม่อยู่ในลิสต์กลับไปด้วย)
ใครว่า หนังสือใหม่ ในช่วงงานหนังสือไม่สำคัญ แม้ว่ามางานแล้วไม่รู้จะเดินโซนไหน สะเปะสะปะไปบ้าง แต่กว่า  40 – 70% บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุกครั้งที่ตัดสินใจมางานหนังสือนั้น จะลิสต์รายการและตั้งใจมาซื้อหนังสือออกใหม่โดยเฉพาะ หรือมักจะมีหนังสือในใจอยู่แล้วเลยมาซื้อ เมื่อได้หนังสือที่ต้องการแล้วจึงจะสนใจเล่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้วางแผนมาเป็นลำดับถัดไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เดินงานหนังสือจะท่องมาจากบ้านว่าจะซื้อเล่มไหน เพราะว่า 20% ที่มาคือคนที่ไม่รู้มาก่อนเลยว่าเล่มไหนออกใหม่ เล่มไหนดี หรือ ดัง  มาเดินชิว ๆ หยิบเอาดาบหน้า ถูกใจแล้วหิ้วกลับบ้าน ไม่ยุ่งยาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่อายุมากกว่า 36 ปีขึ้นไป

ออกใหม่ …อะไรก็ได้?

ไม่ใช่แน่นอน! ไม่ใช่ว่า หนังสือใหม่ ทุกเล่มจะได้รับความสนใจ หรือทุกคนที่ไปงานหนังสือจะหยิบสอยพวกมันกลับบ้านเพราะป้ายโฆษณาที่ว่า “มาใหม่” ทุกเล่ม เพราะจากผลการตอบแบบสอบถามพบว่า ” นักอ่านมีความ Cult มากขึ้น! “

หนังสือใหม่

อธิบายเพิ่มเติม* ความ Cult คือ ความเป็นสาวกในแบรนด์ พูดให้เข้าใจคือ นักอ่านมีนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ที่ถูกใจอยู่แล้ว เคยอ่านมาก่อนหน้า และเชื่อมั่นในคุณภาพ จนติดตามมาเป็นสาวกในที่สุด หรือเรียกให้ดูทางการว่า Brand Loyalty หรือ ฉันรักในแบรนด์นี้ ชื่อนี้ สำนักพิมพ์นี้นะ ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวมักทราบว่ามีหนังสือใหม่ จากการติดตามข่าวสารผ่าน “โซเชียลมีเดีย” และ “เว็บไซต์” ของสำนักพิมพ์  หรือนักเขียนที่ตนติดตามแลชื่นชอบ และมักจะรู้ข่าวเป็นกลุ่มแรก ๆ ไม่ได้มาสุ่มซื้อเอาในงานหนังสือ

น้องใหม่ อะไรฮิต?

ผลการสำรวจจาก “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46” หรือช่วงมีนาคม 2561 ที่ผ่านมาพบว่า แม้ความนิยมชมชอบของ “การ์ตูน” และ “นวนิยาย” จะมีอัตราส่วนที่ตกลงไปนิดหน่อยจากในปีก่อนหน้า แต่ก็ยังไม่ได้ถูกโค่นแชมป์ โดยนวนิยายที่ถูกอ่านและซื้อมากที่สุดในงานหนังสือ ได้แก่ 1) แนวรัก 2) แนวแฟนตาซี 3) แนวสยองขวัญและสืบสวน-สอบสวน

หนังสือใหม่

แต่ที่น่าสนใจ เห็นทีจะเป็น หนังสือประเภท “วรรณกรรมเยาวชน” (Young Adult) และ หนังสือ “จิตวิทยา – ให้กำลังใจ” ที่มาแรงและขายดีขึ้นจากปีก่อนอยู่มาก

ร้าน/ งานหนังสือ ยังไม่ตาย ร้านออนไลน์ยังเติบโต

บางคนอาจไม่มีเวลามางานหนังสือ กว่า 74%  จึงเลือกที่จะซื้อผ่านเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์โดยตรง (เช่น mBookstore นี่แหละ!) และ 44% ผ่านร้านออนไลน์ของร้านหนังสือ (เช่น นายอินทร์, ซีเอ็ด) แต่ทุกเสียงก็ยังยืนยันนะว่า ร้านหนังสือและงานหนังสือยังถือเป็นช่องทางหลักในการซื้อหนังสืออยู่ดี

หนังสือใหม่


ถูก มาก ใหม่ เลยไปงานหนังสือ?

หนังสือใหม่

ถ้าไม่พิเศษกว่าใคร มาทำไมละ! ด้วยความที่ ราคาถูกเหลือเกิน, หนังสือให้เลือกมากเหลือทน, มาใหม่จนลายตา!   3 เหตุผลนี้เองคือสาเหตุสำคัญที่ดึงดูดคนให้ไปงานหนังสือมากที่สุด และทำให้การซื้อหนังสือในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของคนไทยนั้น ( ในปี 2558 – 2561 ) มีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 11 – 12 เล่มต่อคน ต่อการไปงานหนังสือ 1 ครั้ง ด้วยงบประมาณเฉลี่ย 1,000 – 2,000 บาท

ได้เวลาทุบกระปุก! เพราะ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 23 และ เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชนครั้งที่ 12 เริ่มต้นขึ้นแล้ว แต่สำหรับใครที่ติดภารกิจสำคัญ, ขี้เกียจเจอคนเยอะ หรือไม่มีเวลาล่ะก็ สามารถเข้าไปชมหนังสือใหม่และน่าสนใจได้ที่  mBookstore เพราะลดสูงสุดถึง 20% หรือลดเท่างานหนังสือเลยล่ะ

หนังสือใหม่


 ติดตามข่าวสาร ติชม พูดคุย และซื้อหนังสือออนไลน์ผ่านแฟนเพจ mbookstore

 


Sources:
The Publishers and Booksellers Association of Thailand (สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)
  1. ภาพรวมการจำหน่ายหนังสือของสำนักพิมพ์ในประเทศไทย (2561)
  2. สรุปสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 (2561)
  3. รายงานผลการสำรวจผู้มาเข้าร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 (2561)