Her Publishing ขี้มโน มนุษย์สุดมโน

ขี้มโน ไปปะ? – เช็คก่อนเป็น PL มนุษย์สุดมโน ขี้มโน สุดๆ

Home / สารพันหนังสือ / ขี้มโน ไปปะ? – เช็คก่อนเป็น PL มนุษย์สุดมโน ขี้มโน สุดๆ

ขี้มโน

ขี้มโนถือเป็นอาการทางจิต – PATHOLOGICAL LYING โรคขี้มโน หลอกตัวเอง

โลกใบนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตมากกว่าที่เราคิด จากจำนวนโรคทางจิตที่มากเหลือเกิน มากเกินกว่าที่จะคาดคิด หรือซ้ำร้ายคนใกล้ตัวอาจเป็นสักหนึ่งในโรคทางจิตนี้แล้วก็ได้

เพราะ มนุษย์สุดมโน  ขี้มโนสุด ๆ


PATHOLOGICAL LYING (PL)  หรือ การโกหกทางพยาธิวิทยา เรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า “โรคขี้มโน” เป็นพฤติกรรมของการโกหกโดยนิสัย บันทึกไว้ทางการแพทย์ ในปี 1891 โดย Anton Delbrueck จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย 5 รายที่มีอาการในกลุ่มโรค PATHOLOGICAL LYING พบว่าผู้ป่วยทั้ง 5 เสพติดและเคยชินกับการพูดโกหกแบบหยุดยั้งไม่ได้ แม้ไม่มีข้ออธิบายถึงแรงจูงใจทางจิตวิทยาชัดเจน แต่นักจิตวิทยาหลายคนลงความเห็นไว้ว่านี่คืออาการหนึ่งของผู้ป่วยทางจิต

ขี้มโน

ขี้มโน

อาการของ PATHOLOGICAL LYING:

หลายคนเริ่มต้นจากการโกหกเป็นบางโอกาส และมีแนวโน้มที่จะโกหกบ่อยขึ้นโดยไม่คำนึงถึงบริบท ซึ่งรูปแบบการโกหกแบบอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ นั้น จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
  • ทำให้เรื่องที่โกหกเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ อาจใส่องค์ประกอบของความจริงลงไปบางส่วน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด อาจบอกเพื่อนร่วมงานว่าเป็นอาการของโรคเอดส์หรือโรคร้ายแรงอื่น
  • มีระยะเวลาในการโกหกอย่างยาวนานและไม่ได้ทำเพราะสถานการณ์กดดัน คนที่โกหกซ้ำ ๆ มักจะมาจากนิสัยส่วนตัว และส่วนใหญ่เลือกที่โกหกเพราะต้องการเก็บงำความลับที่มีเอาไว้
  • คนที่โกหกส่วนใหญ่มักเลือกเรื่องที่จะโกหกในทิศทางบวก เช่น มีแนวโน้มที่จะโกหกว่าจบปริญญาเอก มากกว่า ถูกไล่ออกตั้งแต่โรงเรียนมัธยม
  • การโกหกแบบพยาธิวิทยามีแรงจูงใจมาจากภายในมากกว่าปัจจัยภายนอก ซึ่งต่างจากการโกหกทั่วไปที่ถูกบีบคั้นจากปัจจัยภายนอกถึงทำให้โกหก เช่น เด็กอาจโกหกพ่อแม่เพราะกลัวถูกทำโทษ การทำโทษคือปัจจัยภายนอกที่บีบคั้นให้เด็กเลือกจะโกหก
ก่อนจะระบุได้ว่าใครมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็น PATHOLOGICAL LYING จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เสียก่อน ซึ่งคนที่โกหกทั่วไปจะไม่เข้าข่ายคนที่มีคุณสมบัติคนที่ป่วยเป็นโรคโกหกจนเป็นนิสัย เพราะธรรมชาติของคนที่เป็นโรคนี้จะตระหนักในตนเองให้พูดโกหกอยู่ตลอดเวลาและประหม่าเมื่อต้องพูดความจริง

ขี้มโน

ตัวอย่างของบุคคลที่มีอาการเข้าข่ายจะเป็น PATHOLOGICAL LYING เช่น #บอยสกล หรือหนุ่มโป๊ะแตกที่ถูกจับได้ว่าไม่ได้เรียนจุฬาอย่างที่ภาพสร้าง เรื่องน่าเศร้านี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสื่อชาวเน็ตในสื่อสังคมเริ่มขุดคุ้ยความจริง และคนใกล้ชิด ออกมาเล่าความจริง (ในมุมแต่ละคน) ทีละคน

ขี้มโน

เรื่องที่น่าเศร้าคือผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวจะไม่สามารถพิจารณาผลกระทบที่ตามมาหลังจากการโกหกได้ หรือไม่กลัวแม้จะถูกจับได้ในท้ายที่สุด ซึ่งถ้าหากว่าเรื่องราวที่เขาโกหกดำเนินต่อไปได้อย่างปกติโดยที่ไม่มีใครจับได้ เขาจะผยองในความฉลาดของตัวเองอย่างมาก

ขี้มโน

เรื่องที่นำมาโกหกมีตั้งแต่ระดับเบาบางยันหนักหน่วงนินทาใส่ไฟ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ชีวิต การทำงาน การเรียน สังคม ชื่อเสียง เป็นต้น บางครั้งนำไปสู่การตีไข่ใส่ไฟ สร้างความเข้าใจผิดให้กับคนที่เชื่อได้

ขี้มโน

มีงานวิจัยหลายชิ้นพยายามหาคำตอบให้กับพฤติกรรมดังกล่าว ทั้งการล้วงลึกจิตใจ ศึกษาพฤติกรรม รวมถึงสังเกตเจตนาของผู้ป่วยโรคมโน แต่ถึงอย่างนั้นกลับไม่ได้ข้อมูลอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน ในด้านจิตวิทยา นักจิตวิทยาหลายคนพยายามทำความเข้าใจกับโรคดังกล่าวเช่นกัน เพราะลำพังวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว อาจให้คำตอบอาการนี้ได้ไม่ครอบคลุมนัก

.

ตอนนี้ที่รู้ชัดคือการโกหกพยาธิวิทยานั้นเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติแบบที่ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ไร้สคริปต์ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคมโนมีแนวโน้มอย่างมากที่จะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพบางประการ บางรายป่วยเป็นโรคจิตเวชผสม ทั้ง จิตเภท และ ซึมเศร้า

.

ผู้ป่วยโรคมโนจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่  1.กลุ่มที่ป่วยเป็นโรคจิตเวช  2.กลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และ 3.กลุ่มที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ ซึ่งจะพบได้บ่อยในกลุ่มอายุตั้ง 16 – 22 ปี หากไม่ได้ทำการบำบัดรักษา มีสิทธิ์จะเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยชรา

5 ลักษณะบ่งชี้ ผู้ป่วยโรคมโน

ผู้ป่วยโรคมโน หรือ มีภาวะการโกหกทางพยาธิวิทยา มักมีลักษณะดังนี้

ขี้มโน

บุคลิกภาพบกพร่อง
“ผู้ที่มีภาวะโกหกทางพยาธิวิทยาส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เช่น หลงตัวเอง (NPD) เนื่องจากลักษณะอาการของ NPD เป็นความรู้สึกที่เกินจริงเกี่ยวกับตนเอง หรืออาการผิดปกติทางบุคลิกภาพอย่างน้อย 1 อย่าง เพื่อเสริมเรื่องที่ตัวเองโกหกให้ดูดีขึ้น” Dr. Scott Carroll – นักจิตวิทยา

.

ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวอีกว่า NPD สามารถพบได้บ่อยกว่าที่เราคิด ซึ่งหมายความว่า “ไม่ว่าใคร ก็เป็นได้” จากการศึกษาของ Carroll พบผู้คนที่เขาข่ายเป็นโรค NPD สูงถึง 7.7 % ในผู้ชาย และ 4.8% ในผู้หญิง เพราะฉะนั้นถ้า คุณ หรือ คนที่คุณรู้จัก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคโกหกทางพยาธิวิทยา ก็อาจเป็นไปได้สูงที่ NPD จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน แม้ NPD เป็นเรื่องยากที่จะรักษาด้วยตัวเอง เพราะโดยปกติแล้วผู้ป่วยไม่สามารถหาทางออกที่ไม่เกินจริงได้ การพูดคุยกับนักบำบัดหรือนักจิตวิทยาจึงสำคัญอย่างมาก

ขี้มโน

เป็นรากฐานของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
OCD (Obsessive Compulsive Disorder) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นอาการของผู้ป่วยที่มักตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำไปซ้ำมา อยากทำสิ่งนั้นซ้ำ ๆ เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ, นับสิ่งของซ้ำ ๆ คิดวนไปวนมาซ้ำ ๆ โดยผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ซึ่งอาการโกหกทางพยาธิวิทยานั้นเป็นส่วนหนึ่งในอาการทั้งหมดของ OCD ตามข้อมูลจาก Dr. Racine Henry ได้กล่าวเอาไว้ว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรค OCD อาจเรียนรู้ที่จะโกหกเพื่อซ่อนอาการโรคของตัวเอง ทำให้ตนรู้สึกดีขึ้น ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แม้ต้องหลอกตัวเอง ไม่ใช่ทุกคนที่เป็น OCD แล้วจะเป็นคนโกหก แต่คนที่ป่วยเป็นโรคโกหกทางพยาธิวิทยาหรือผู้ป่วยโรคมโน มีภาวะเป็น OCD (โรคย้ำคิดย้ำทำ)

ขี้มโน

คนที่ป่วยเป็นโรคโกหกทางพยาธิวิทยามีระดับฮอร์โมนแตกต่างจากคนทั่วไป
“หนึ่งในทฤษฎีที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคโกหกทางพยาธิวิทยานั้นคือพวกเขามีสัดส่วนของ คอร์ติซอล* และ ฮอร์โมนเพศชาย มากกว่าคนส่วนใหญ่ ด้วยสิ่งนี้เองจะทำให้พวกเขาก้าวร้าวโดยไม่กังวลกับสิ่งที่ตามมา เช่น การโกหกหน้าตายทั้งที่อาจส่งผลร้ายเมื่อถูกจับได้” – Bill Eddy นักบำบัดโรค

คอร์ติซอล คือ ฮอร์โมนแห่งความเครียด เป็นฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตเวลาเครียด ฮอร์โมนดังกล่าวจะช่วยยับยั้งไม่ให้มนุษย์ก้าวร้าวเกินไปและกล้าเสี่ยงโดยที่ไม่มีเหตุผล

จากอาการโรคทั้งหมดพอจะบ่งบอกได้ว่าพวกเขามีภาวะ Sociopaths* หรือ “โรคบุคลิกภาพเชิงสังคมนิยม” โดยอาการของภาวะนี้จะส่งผลให้เขาเป็นคนที่ไร้ซึ่งความสงสารเห็นใจคนอื่น ไม่เชื่อใจใคร แปลกแยกจากสังคมและต่อต้าน มองผิวเผินอาจเหมือนคนเห็นแก่ตัว แต่จริง ๆ แล้วเขาแค่ไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลย แม้กระทั่งความรัก ซึ่งปัจจัยประกอบเกิดจาก การอบรม การเลี้ยงดู ปมด้อยต่าง ๆ ในจิตใจ เป็นต้น

.

ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าทุกคนที่เป็นโรคโกหกทางพยาธิวิทยาจะมีภาวะฮอร์โมนที่แตกต่าง หรือมีภาวะ sociopaths คาบเกี่ยว แต่มีหลักฐานชี้ว่าผู้ที่เป็น sociopaths ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคมโน (โกหกทางพยาธิวิทยา)

ขี้มโน

พวกเขามักโกหกเรื่องปัญหาทางการแพทย์
เนื่องจากการโกหกมักถูกใช้เป็นหนทางแห่งการแสวงหาความเห็นใจ สาเหตุหลักที่ผู้ป่วยโรคโกหกทางพยาธิวิทยาใช้จึงมักเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพ
“ผู้โกหกมักกล่าวอ้างถึงอาการทางการแพทย์ของตน เพื่อให้ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่นว่ากำลังป่วย หรือบังคับให้คนอื่นดูแล”

ขี้มโน

คนที่ป่วยเป็นโรคโกหกทางพยาธิวิทยามักเชื่อว่าเรื่องที่ตัวเองโกหกเป็นเรื่องจริง
ผู้ที๋โกหกมักมีอาการ “ประสาทหลอนร่วมด้วย” เพราะพวกเขาจะเชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองโกหกเป็นเรื่องจริง แม้มีใครมาบอกกล่าวความจริงก็ตาม เรื่องที่โกหกนั้นจะเท่ากับเรื่องจริงเสมอ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของ “จุล-โรคจิต” หรืออาการเริ่มต้นของโรคจิตเภทที่มีอาการประสาทหลอนขั้นรุนเเรง

ขี้มโน

จำไว้ว่าโลกของผู้ป่วยโรคมโน (โกหกทางพยาธิวิทยา) นั้น แตกต่างกับโลกของคนปกติอย่างเรามาก เขาไม่สามารถกลับมาเป็นคนปกติได้ด้วยตัวเอง เพราะมีแรงกระตุ้นจากจิตใจและบุคลิกภาพที่ผิดปกติค่อยผลักให้โกหกอยู่เสมอ ผู้ป่วยที่มีฝีมือมักหลบเลี่ยงและทำร้ายทุกคนในชีวิตที่ล่วงรู้ความลับ เฝ้าดูเหตุการณ์อย่างใจเย็น มอง “เหยื่อ” ที่เขาสร้างเขาวงกตให้สับสนด้วยความรื่นรมย์ใจ และรู้สึกว่าตนเป็นผู้เก่งกาจกว่าใครในโลก

รู้ทันผู้ป่วยโรคมโน
หากต้องรับมือกับคนที่เข้าข่ายเป็นโรคมโนแล้ว นอกจากเกลี้ยกล่อมพาเขาไปพบนักบำบัดหรือจิตแพทย์แล้ว คุณเองก็ต้องมีวิธีรับมือที่ไม่ให้ตนตกเป็นเหยื่อเช่นกัน

ขี้มโน

  1. โปรดรู้เอาไว้ว่าคนโกหกจะศึกษาคุณ
ไม่ได้มาเพื่อโกหกเล่น ๆ เพราะทุกอย่างมีกลยุทธ์อย่างแยบยล และจุดประสงค์ของผู้ป่วยโรคมโนมักซ่อนอยู่ในใจเกินกว่าที่ใครจะมองออกได้ เขามักมองหาจุดอ่อนของเหยื่อ ทำตัวเป็นนักสังคมสงเคราะห์เพื่อหวังใช้ประโยชน์ในภายหลัง หากกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังถูกวางไว้บนเขียงแล้วละก็ ถอยห่างให้ไกลก่อนถูกปั่นหัวได้
.
  1. อย่าลืมว่าเขาโกหกโดยไร้จิตใจ
มันยากที่จะเชื่อว่าเขาโกหกโดยไม่รู้สึกรู้สาอะไร แต่มันคือความจริง เพราะผู้ป่วยโรคมโนมักไร้สติที่จะรู้ซึ้งจริยธรรมใด ๆ เน้นโกหกเพื่อสนองแรงปรารถนาในใจก็เท่านั้น ใครจะรู้สึกอย่างไร เสียใจงั้นหรือ ใครแคร์
ซึ่งตามวิสัยของคนที่จะพูดโกหกทั่วไปมักคิดก่อนว่า หากพูดไม่จริงออกไป ผลจะทบที่ตามมาจะเป็นอย่างไร และสนใจความรู้สึกของคนอื่นก่อนเสมอ ส่วนผู้ที่ป่วยอยู่ในภาวะการโกหกทางพยาธิวิทยา หรือผู้ป่วยโรคมโน จะไม่รู้สึกรู้สากับความรู้สึกนึกคิดของคนอื่นเสียเท่าไหร่ การโกหกคือเกม ๆ หนึ่ง เขาจะสนใจแค่สิ่งที่คุณตอบสนองต่อเรื่องโกหกของเขาก็เท่านั้น
.
  1. การซักไซร้ไม่ทำให้ประมาท
คนปกติเมื่อถูกซักไซ้ในเรื่องที่ตัวเองโกหกจะรู้สึกประมาท กังวลที่จะตอบคำถาม และโล่งใจเมื่อผู้ซักไซร้เปลี่ยนหัวข้อสนทนา แต่ไม่ใช่กับผู้ป่วยในภาวะการโกหกทางพยาธิวิทยา พวกเขาจะลื่นไหลในสิ่งที่โกหก ทุกอย่างดูธรรมชาติ พลิ้วไหว และ ผ่อนคลาย เพราะเขาเชื่อในสิ่งที่เขาโกหก เชื่อว่ามันคือความจริงโดยไม่มีพิรุธใดให้เห็น
.
  1. อย่าคิดว่าผู้ป่วยภาวะโกหกทางพยาธิวิทยาจะเหมือนคนโกหกทั่ว ๆ ไป:
การจับโกหกด้วยการสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เคยเรียนรู้กันมานั้นใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยประเภทนี้ เพราะพวกเขาจะไม่ทำในสิ่งที่คนโกหกทั่วไปทำ แถมยังเนียนมากพอที่จะทำให้คุณไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ เชื่อในสิ่งที่เขาพูดอย่างสนิทใจ สิ่งที่คุณต้องพยายามมองตาและสังเกต แม้ผู้ป่วยบางคนจะมีลูกล่อลูกชนในการกลบเกลื่อน ทั้งรอยยิ้มที่สมจริงและความอารมณ์ขัน แต่สิ่งเดียวที่เขาไม่อาจโกหกได้ คือ สายตาของตัวเอง
.
  1. สิ่งที่ผู้ป่วยภาวะโกหกทางพยาธิวิทยาทำมากที่สุดคือการบิดเบือน:
แน่นอนว่าในเรื่องที่เขาโกหกมักมีเสี้ยวความจริงหลงเหลืออยู่ แต่ถึงอย่างนั้นผู้ป่วยจะทำการศึกษาความรู้สึกนึกคิดของ “เหยื่อ” ก่อนเสมอ เพื่อสร้างเรื่องราวล่อหลอกให้เห็นใจมากกว่าเดิม ทั้งการกระตุ้นทางเพศหรืออารมณ์เพื่อรบกวนความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อความจริง ดำเนินการในขั้นต่าง ๆ ด้วยความระวัง แม้แต่ในเวลาที่ต้องติดต่อกับคนที่เกี่ยวข้องกับคุณ รวมถึงการหันเหความสนใจของคุณออกจากความจริงตรงหน้า เพราะฉะนั้นจงค้นหาความจริงให้เจอโดยไว จับมันให้แน่น แล้วเรื่องราวที่เขาสร้างขึ้นมาจะทำอะไรคุณไม่ได้อีก

เพราะการฝึกฝนถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้วันลงสนามจริงไม่ประมาท เรียนรู้เทคนิคการจับโกหกอย่างชาญฉลาดกับหนังสือทั้งสองเล่มนี้
  1. One of us is lying บอกแล้วไงว่าไม่ได้ฆ่า – Maxx Publishing 
  2. มนุษย์สุดมโน – ท้อฟฟี่ แบรดชอร์

ติดตามข่าวสารและซื้อหนังสือออนไลน์ผ่าน mbookstore

MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

ิ


ที่มาของข้อมูล
  1. Pathological lying
  2. 11 Fascinating Scientific Facts About Pathological Liars
  3. Compulsive Lying
  4. How to Spot a Pathological Liar
  5. Pathological Liar – Impulsive, Compulsive Lying, Self-Deception