Move Publishing ขี้อิจฉา ไม่ต้องชอบขี้หน้า ก็ทำงานด้วยกันได้

ขี้อิจฉา อะไรเบอร์นี้ | ปรัชญาแห่งความขี้อิจฉา ตราบาปเดียวที่ไม่สนุก

Home / สารพันหนังสือ / ขี้อิจฉา อะไรเบอร์นี้ | ปรัชญาแห่งความขี้อิจฉา ตราบาปเดียวที่ไม่สนุก

ขี้อิจฉา

ปรัชญาแห่งความขี้อิจฉา

ตราบาปใด ๆ ในโลก มีเพียงความอิจฉาเท่านั้นที่ไม่สนุก

ขี้อิจฉา

Joseph Epstein นักเขียนชาวอเมริกันได้เคยกล่าวเอาไว้ในหนังสือของเขาว่า “ในบรรดาตราบาปร้ายแรงทั้งมวล มีเพียงความอิจฉาที่ไม่สนุกเอาเสียเลย” ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?


ความอิจฉา” หรือ “Envy” เป็นคำที่มาจากภาษาละตินหมายความว่า “ความมืดบอดทางสายตา” หรือที่ในวรรณกรรมศาสนา “Divine Comedy” หรือ ดีวีนากอมเมเดีย* หรือ ไตรภูมิดันเต  (ปี 1308) โดย ดันเต อาลีกีเอรี* ได้อธิบายเอาไว้ว่า เมื่อเกิดความอิจฉา เปลือกตาทั้งสองจะเหมือนถูกเย็บด้วยลวดตะกั่ว ซึ่งนิรุกติศาสตร์*นี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกิดความอิจฉาขึ้นในบุคคลจะส่งผลให้มองไม่เห็นภาพความเป็นจริง เหมือนกับคนตาบอด

ขี้อิจฉา


  • ดีวีนากอมเมเดีย (Divine Comedy) หมายถึง วรรณกรรมอุปมานิทัศน์ หรือ วรรณกรรมศาสนา ที่ ดันเต อาลีกีเอรี เขียนขึ้นระหว่าง ปี 1308 – 1321 ถือเป็นกวีนิพนธ์สำคัญของวรรณกรรมอิตาลีและเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่สำคัญที่สุดของวรรณกรรมโลก เนื้อความในวรรณกรรมจะแบ่งเป็น 3 ตอนสำคัญคือ นรก, แดนชำระ และ สวรรค์ เป็นเรื่องราวที่ดำเนินเรื่องโดยบุคคลหนึ่งที่เดินทางไปยังภูมิสามภูมิของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งวรรณกรรมนี้เป็นจินตนิยายของคริสต์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการของปรัชญาสมัยกลางเกี่ยวกับโรมันคาทอลิกตะวันตก
  • ดันเต อาลีกีเอรี (ชื่อยาว: ดูรันเต เดกลี อาลีกีเอรี หรือ ชื่อสั้น: ดันเต) คือบุคคลสำคัญของฟลอเรนซ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในยุคกลางในตำแหน่ง รัฐบุรุษ กวี และนักภาษาศาสตร์ที่มีผลงานชิ้นสำคัญคือ “ดีวีนากอมเมเดีย” ที่กลายเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่สำคัญที่สุดของวรรณกรรมโลกในเวลาต่อมา
  • นิรุกติศาสตร์ หมายถึง การเรียนรู้ถึงภูมิหลัง และการใช้ในปัจจุบันของการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการพูด เขียน หรือภาษาใด จำเป็นจะต้องศึกษาที่มาและอายุของคำดังกล่าว

Nelson W. Aldrich Jr (หรือลูกชายของ Nelson W. Aldrich) ได้อธิบายจุดเริ่มต้นของความเจ็บปวดจากความรู้สึกอิจฉาว่า เป็น ความบ้าคลั่งของความว่างเปล่าในตัวเอง ราวกับพยายามสูบหัวใจของใครสักคนที่ถูกดูดจุ๊บไปในอากาศ

  •  Nelson W. Aldrich Jr.  นักเขียนชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Old Money: เทพนิยายแห่งความมั่งคั่งในอเมริกา” (1988), จอร์จ กลายเป็นจอร์จ (2008) เคยเป็นบรรณาธิการ The Paris Review และผู้นำทางความคิดของนิตยสาร Vogue และ Harper’s

ความอิจฉาเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจและน่าอับอายที่สุดในบรรดาบาปร้ายแรงทั้งหมด เพราะเมื่อรู้สึกอิจฉา มันยากที่จะยอมรับว่าอิจฉา แม้คำว่า “อิจฉา” (Envy) จะถูกใช้สลับกับคำว่า “หึงหวง” (Jealousy) อยู่บ่อยครั้ง แต่ความอิจฉา ไม่ได้หมายถึงความหึงหวง
ขี้อิจฉา
เนื่องมาจากความอิจฉา เป็นความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพราะปรารถนาจะเอาตัวเองเปรียบเทียบกับผู้อื่น ต้องเด่นกว่า ได้ดีกว่า แต่ความหึงหวงคือความเจ็บปวดที่เกิดจากความกลัวที่จะสูญเสีย และไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่ในความสัมพันธ์ฉันท์โรแมนติกเท่านั้น แต่ยังขยายไปสู่บริบทอื่น ๆ ในชีวิต เช่น ความสวยงาม, ความเด่นดัง, และความบริสุทธิ์ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น กลัวจะเสียอำนาจที่มีอยู่ไป กลัวจะแก่ลง ซึ่งเมื่อเทียบกับความอิจฉาริษยาแล้ว ความหึงหวงจะเป็นความชั่วร้ายที่มีน้ำหนักน้อยกว่าและง่ายที่จะสารภาพว่าหึงหวง

ประวัติศาสตร์ความ ขี้อิจฉา

ความอิจฉานั้นฝังลึกในจิตใจมนุษย์มาหลายยุคซึ่งถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะในยุคบรรพชนที่อาศัยอยู่ในความกลัวถูกกระตุ้นความอิจฉาจากพระเจ้าด้วย โชคลาภ หรือ ความภูมิใจต่าง ๆ  ประวัติศาสตร์และตำนานต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ขี้อิจฉากันมาเนิ่นนานเต็มที เช่น ตำนานเทพเจ้ากรีกในสงครามกรุงทรอย มีระบุไว้ถึงความอิจฉาอาฆาตของ เทพีเฮร่า* ที่มีนิสัยอิจฉาริษยา รวมถึงขี้หึงอย่างมาก และหากใครทำให้ เทพีเฮร่า อาฆาต มักมีจุดจบที่ไม่สวยงามนัก

ขี้อิจฉา

ในหนังสือแห่งปัญญา (Book of Wisdom) ระบุเอาไว้ว่า “ความตายเข้าสู่โลก ผ่านความอิจฉาของปีศาจ”  และในหนังสือปฐมกาล (Book of Genesis) ระบุถึงความอิจฉาว่า “ความอิจฉาในความคิดของอินคานั่นแหละที่ฆ่าอาเบล พี่ชายของเธอ” ส่วนศาสนาฮินดูมหาภารตะ ได้กล่าวถึงตัวละครที่ชื่อ ทุรโยธน์ (ปีศาจกลี) เอาไว้ว่าเป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยาปาณฑพอย่างแรงกล้า จนถึงขั้นก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร เรียกได้ว่า “ความอิจฉาริษยา” มีมาแทบจะทุกยุคทุกสมัย

 

ขี้อิจฉา

  • หนังสือแห่งปัญญา (Book of Wisdom)  หรือ “ภูมิปัญญาแห่งซาโลมอน” เป็นผลงานของชาวยิวที่ชื่อว่า “ซาโลมอน” เขียนขึ้นเป็นภาษากรีก มี 2 ประเด็นหลักคือ “ภูมิปัญญา” ของซาโลมอน ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ฉลาด มั่งคั่ง และมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้น
  • หนังสือปฐมกาล คือ หนังสือเล่มแรกของคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคพันธสัญญาเดิม ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ช่วงต้น ตั้งแต่การเริ่มมีพระเจ้า ฟ้า สวรรค์ โลก สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมถึง อาดัมและเอวา มนุษย์คู่แรก ไปจนถึงลำดับพงศาวลี โครงเรื่องเกี่ยวกับโยเซฟ และอื่น ๆ
  • เทพีเฮร่า หรือ ฮีร่า (Hera) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ว่ากันว่าพระนางมีนิสัยที่อิจฉาและพยาบาทอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และมักจะปองร้ายคนอื่นเสมอ
  • ทุรโยธน์ คือหัวหน้าตัวละครผ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง “มหาภารตะ” แม้ในเรื่องจะถูกมองว่าเป็นคนชั่วช้า แต่หลายบริบท ทุรโยธน์ เป็นผู้นำที่เข้มแข็งและปกครองประชาชนด้วยความยุติธรรม เป็นคนที่มีเสน่ห์ทางวาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่เสียอย่างเดียวตรงที่มีความอิจฉาริษยาแรงกล้าจนเกิดเป็นสงครามในที่สุด

ขี้อิจฉา


ยุคแห่งความเท่าเทียมที่สื่อมวลชนที่เปิดกว้างมากขึ้น ส่งเสริมให้เรานำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เหมือนเอาไฟสุมใจตัวเองตลอดเวลา ความเจ็บปวดที่ก่อเกิดจากความอิจฉา ไม่ได้มาจากแรงปรารถนาที่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบ หากแต่เกิดจากความรู้สึกต่ำต้อยและขุ่นมัวเพราะคิดว่าตัวเองขาด ความว้าวุ่นใจและหวาดกลัวดังกล่าวเหมือนแรงขับเคลื่อนให้ความอิจฉาแผ่ซ่านไปสู่ที่ถูกอิจฉาอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบข่มขู่และทำลายความสัมพันธ์ ในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นก่อวินาศกรรม

ขี้อิจฉา

แต่มันไม่ใช่แค่เรื่องในใจ เพราะความอิจฉาริษยาที่ว่ายังนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้านสุขภาพทางกาย เช่น โรคติดเชื้อ, โรคหัวใจ,โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง และด้านสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และนอนไม่หลับ ทุกอย่างเกิดขึ้น เพียงเพราะหลงไหลในความอิจฉาริษยาก็เท่านั้น

ขี้อิจฉา

นอกจากนั้นความอิจฉาริษยายังนำไปสู่ปฏิกิริยาตั้งรับที่ค่อนข้างรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทัศนคติเชิงลบ, การเหน็บแนมประชดประชัน, สบประมาทคนอื่น, หัวสูงวางฟอร์ม, และหลงตัวเอง ทั้งหมดคือการดูหมิ่นและคุกคามผู้อื่นเพื่อลดอัตถิภาวนิยม*ของตนเอง

  • อัตถิภาวนิยม คือ สิ่งที่มนุษย์รู้สึกนึกคิดและแสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ หรือความคิดที่ได้จากการเผชิญหน้ากับความมีอยู่ของตนเอง

วิธีป้องกันความอิจฉาโดยทั่วไป คือ การทำให้คนที่เราอิจฉานั้น อิจฉาเรา เพราะเมื่อเขาเริ่มที่จะอิจฉา เราจะรู้สึกชนะ แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะประสบความสำเร็จ เพราะสิ่งนี้อาจกลายเป็นความร้อนเร่าที่เผาทำลายทุกอย่างให้มอดไหม้ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองอย่างสาใจ จึงจัดแจงโอนความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในใจ ทั้งความล้มเหลวหรือต่ำต้อย ไปสู่แพะรับบาปที่สามารถแบ่งรับความขมขื่นนี้ได้

5 วิธีมองมุมกลับ ปรับมุมมองสู่ มุมมองบวก

ขี้อิจฉา

1) ยอมรับเถอะว่าตัวเองอิจฉา

แม้จะยอมรับยากไปเสียหน่อย แต่ยอมรับเถอะว่าคุณกำลังอิจฉาอยู่ เพราะยิ่งต่อต้าน ความรู้สึกยิ่งฝังแน่นไม่ไปไหน แต่ถ้าหากรู้ตัวเองและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยให้ขจัดความรู้สึกด้านลบออกไปได้

วิธีปฏิบัติ

  1. นึกถึงเรื่องที่คุณอิจฉาในตัวเขา
  2. เฝ้ามองมันไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าความอิจฉาริษยานี้ค่อย ๆ  จางหายไป
  3. ทำจนกว่าความอิจฉาริษยานี้จะลดน้อยลง และชนะตัวเองได้ในที่สุด

ขี้อิจฉา

2) รักตัวเอง

อย่าหลอกตัวเองเพื่อที่จะเป็นคนอื่น สิ่งที่ดีที่สุดคือ การเป็นตัวเอง เพราะสิ่งนี้จะทำให้คุณมองเห็นคุณค่าของตัวเองและรักตัวเองมากขึ้น

ขี้อิจฉา

3) เลิกเอาตัวเองไปเปรียบเทียบ

ดอกไม้แต่ละชนิดบานหุบในฤดูที่ต่างกัน ถือเป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงความต่างของมนุษย์ได้ชัดเจนที่สุด ทุกคนมีข้อดีของตน หากว่ามัววิ่งตามรอยเท้าของคนอื่น จนลืมความเป็นตัวเองไปหมดสิ้น ปรุงแต่งจนลืมว่าตนเองเป็นดอกไม้อะไร ดอกไม้ดอกนั้นจะไม่มีวันเบ่งบานและสวยงามโดยตัวเองได้

ขี้อิจฉา

4) อยู่ในโลกความจริง

ถามตัวเองบ่อย ๆ ว่าคนที่คุณอิจฉา มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ ในชีวิตคุณหรือไม่ เพราะถ้าคำตอบคือไม่.. คุณก็ไม่มีเหตุผลใด ๆ เพื่อจะรู้สึกสิ่งนั้นต่อไป

ขี้อิจฉา

5) ค้นหาตัวเอง

ทุกคนมีข้อด้อยและข้อดี เพียงแต่ว่าใครจะค้นพบส่วนไหนเจอก่อนกันก็เท่านั้น และถ้าเราหามันจนเจอ ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น และดียิ่งกว่าเดิม คุณจะสามารถเลี่ยงความรู้สึกอิจฉาที่มีต่อคนอื่นได้ กลับกลายเป็นแสดงความยินดีที่เขาประสบความสำเร็จ เพราะคุณก็กำลังเดินสู่ความสำเร็จในหนทางของคุณเช่นกัน

แต่ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบขี้หน้า ก็ทำงานด้วยกันได้ คลิก


 

ติดตามข่าวสารและซื้อหนังสือออนไลน์ผ่าน mbookstore

MTHAI BOOK | อ่านสนุก ทุกวัน ทันกระแส 

ิ


แหล่งที่มา

  1. The Psychology and Philosophy of Envy
  2. The Book of Genesis
  3. ทุรโยธน์
  4. 9 วิธี เอาชนะความอิจฉาริษยา